Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21093
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ภัสสร ลิมานนท์ | - |
dc.contributor.author | ปริญญา เพ็ชรจรัส | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.coverage.spatial | ไทย | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-22T06:59:57Z | - |
dc.date.available | 2012-07-22T06:59:57Z | - |
dc.date.issued | 2529 | - |
dc.identifier.isbn | 9745661597 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21093 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรกับจำนวนบุตรที่ต้องการของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรในชนบทของประเทศไทย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ต้องการศึกษาว่าระดับการใช้เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรและรูปแบบหรือลักษณะการประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีความสัมพันธ์กับจำนวนบุตรที่ต้องการของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรอย่างไร และภายใต้เงื่อนไขตัวแปรลักษณะทางประชากรเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ความสัมพันธ์จะเปลี่ยนไปจากเดิมเพียงใด ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลโครงการสำรวจภาวะเจริญพันธุ์ ภาวะการตายและการวางแผนครอบครัวในประเทศไทย ซึ่งสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บข้อมูลในระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยใช้ข้อมูลเฉพาะในส่วนของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรเพศชาย ที่ทำการกสิกรรมเป็นอาชีพหลัก จำนวนทั้งสิ้น 1,554 จากการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนในทุกกลุ่มอายุ ที่ใช้เทคโนโลยีทางด้านเกษตรในระดับสูง มีจำนวนบุตรที่ต้องการน้อยกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีการใช้เทคโนโลยีฯ ในระดับต่ำ แต่มีข้อสังเกตคือหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี โดยทั่วไปจะมีความต้องการมีบุตรโดยเฉลี่ยในจำนวนที่น้อยกว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีอายุสูงกว่า 45 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ศึกษาคาดว่าจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนรุ่นหลังในการที่จะมีครอบครัวขนาดที่เล็กลง นอกจากนั้นยังพบว่า ระดับการศึกษาของหัวหน้าครัวเรือนจะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับจำนวนบุตรที่ต้องการโดยเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือน โดยหัวหน้าครัวเรือนที่มีการใช้เทคโนโลยีฯ ในระดับสูงและเป็นผู้ที่มีการศึกษาสูงจะต้องการมีบุตรโดยเฉลี่ยน้อยที่สุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างระดับรายได้ของหัวหน้าครัวเรือนจำนวนบุตรที่ต้องการโดยเฉลี่ยของหัวหน้าครัวเรือนไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนว่าเป็นไปในทางลบหรือทางบวก การปลูกพืชหมุนเวียนจะมีความสัมพันธ์ในเชิงลบ กับ จำนวนบุตรที่ต้องการของหัวหน้าครัวเรือนกับหัวหน้าครัวเรือนและหัวหน้าครัวเรือนที่มีการใช้เทคโนโลยีฯ ที่ระดับสูง ประกอบกับทำการปลูกพืชหมุนเวียนยิ่งต้องการมีบุตรน้อยที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ปลูกพืชหมุนเวียนแต่การจะปลูกพืชหมุนเวียนได้นั้นมีความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก นั่นคือ ระบบการชลประทาน จากการศึกษาพบว่า หัวหน้าครัวเรือนที่มีอยู่ในเขตชลประทานจะมีจำนวนบุตรที่ต้องการน้อยกว่าผู้ที่อยู่นอกเขตชลประทาน สำหรับการมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและจำนวนเนื้อที่ถือครองมีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับจำนวนบุตรที่ต้องการของหัวหน้าครัวเรือน และปัจจัยพื้นฐานที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา เช่น การมีไฟฟ้าใช้ในชุมชนนั้น หัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยยู่ในชุมชนที่มีไฟฟ้าใช้ จะมีจำนวนบุตรที่ต้องการน้อยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชุนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และระยะเวลาหรือจำนวนเดือนที่ใช้ในการทำเกษตรกรรม มีผลต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกรอย่างมากจากการศึกษาพบว่าหัวหน้าครัวเรือนที่มีจำนวนเดือนที่ว่างงานมากกว่า จะมีจำนวนบุตรที่ต้องการโดยเฉลี่ยน้อยกว่าผู้ที่มีงานทำตลอดปีหรือจำนวนเดือนที่ว่างงานน้อยกว่า สำหรับการศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรหรือกลุ่มสหกรณ์การเกษตรกับจำนวนบุตรที่ต้องการ พบว่าแบบแผนความสัมพันธ์มีลักษณะที่แปรปรวน กล่าวคือ หัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป ผู้ที่เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกรต้องการมีบุตรน้อยกว่าผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร ในขณะที่หัวหน้าครัวเรือนในกลุ่มอายุ 15-44 ปี ความสัมพันธ์กลับตรงกันข้าม จากการศึกษาครั้งนี้จึงพอจะสรุปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยการกำหนดนโยบายในการพัฒนาประเทศแบบผสมผสาน ด้วยการส่งเสริมปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตรกรรมซึ่งเป็นอาชีพหลักของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ เช่น ขยายระบบชลประทาน เผยแพร่เทคนิควิธี การผลิตสมัยใหม่ และปัจจัยพื้นฐานที่มีการพัฒนาสังคม เช่น การขยายบริการไฟฟ้าในชนบท การรวมกลุ่มของเกษตรกรควบคู่กับการควบคุมการเพิ่มประชากรและการพัฒนาคุณภาพประชากร ซึ่งจะส่งผลให้การพัฒนาทางด้านการเกษตร และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศบรรลุเป้าหมายไปพร้อมๆ กัน | - |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this study is to investigate the relationship between the application, at various levels of agricultural technology and the desired number of children among the agricultural household heads in rural Thailand. In other words, this Study investigate how the different levels of technology patterns of agriculture related to the desired number of children of the rural household heads. And, such relationship would change under what conditions of demographic and socioeconomic variables. The data used in this Study were obtained from the Survey of Fertility, Mortality and Family Planning in Thailand conducted by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University in April-May 1979. Approximately, 1,554 cases of male heads of house¬hold were selected to be analyzed. The findings can be summarized as follow : For the household heads in all age groups who used a high level of agricultural technology, their desired number of children on average were smaller than those who did not use at all or used only low level of agricultural technology. Noticeably, the number of children desired by the household heads in the younger age groups (under 45 years of age) were less than that of those who were in the older age groups (45 years and over). This was expected to be the result of the attitudinal change among younger generations towards having smaller size of family. The level of education was found to be negatively related to the average number of children desired by the household heads. That is, the household heads who had higher level of education and also used a higher level of technology desired the smaller size of family. However, the pattern of the relationship between income and the desired number of children was not significant statiscally. The crop rotation was found to be negatively related to the desired number of children. That is, the desired number of children were found to be the least among household heads who used a high level of technology coupled with a crop rotation. However, the rotation of cultivated land will be possible only where the irriga¬tion systems or reservior are made available. In this Study, the heads of household who lived in the irrigated areas had a desired number of children less than the household heads who lived outside the areas. The relationship between land holdings and the desired number of children was also examined. The positive relationship was found between elements, the avilability of electricity in the community, which is one of the indicators of modernization, was believed to have some effect on the attitude differentials among heads of household in the different types of community. As it was expected, the negative relationship between these two variables was found. It was found further that the household heads who had more spare time (off season) during the year wished to have fewer children than those who had less spare time. The heads who were in the age group of 45 and over, and were the members of agricul¬tural cooperative group wanted to have fewer children than those who were not the members. The reverse pattern was found among the heads of age under 45. Finally, it is expected that the findings of this Study will be useful for policy formation on this matter. These include the expansion of infrastructure, the construction of irrigation system, the availability of electricity in the rural community, the creation of the agricultural cooperative groups. These kinds of elements will directly or indirectly affect the agricultural and rural development, as well as the quality of life of rural polula¬tion in general. And, this in turn would affect the changes in attitudes of those people towards having smaller size of family. | - |
dc.format.extent | 354740 bytes | - |
dc.format.extent | 419218 bytes | - |
dc.format.extent | 314463 bytes | - |
dc.format.extent | 727983 bytes | - |
dc.format.extent | 264407 bytes | - |
dc.format.extent | 260469 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ภาวะเจริญพันธุ์ | en |
dc.subject | เทคโนโลยี -- แง่สังคม | en |
dc.subject | เกษตรกร -- ไทย | en |
dc.subject | ขนาดครอบครัว -- ไทย | en |
dc.subject | เทคโนโลยีการเกษตร | en |
dc.subject | ภาวะเจริญพันธุ์ -- ไทย | en |
dc.title | การใช้เทคโนโลยีทางด้านการเกษตรกับจำนวนบุตรที่ต้องการของหัวหน้าครัวเรือนเกษตรในชนบทของประเทศไทย | en |
dc.title.alternative | Agricultural technology and desired number of children of agricultural household heads in rural Thailand | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สังคมวิทยามหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Bhassorn.L@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Parinya_Pe_front.pdf | 346.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parinya_Pe_ch1.pdf | 409.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parinya_Pe_ch2.pdf | 307.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parinya_Pe_ch3.pdf | 710.92 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parinya_Pe_ch4.pdf | 258.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Parinya_Pe_back.pdf | 254.36 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.