Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21131
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอมรา พงศาพิชญ์-
dc.contributor.authorจตุรวิทย์ ทองเมือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-25T14:51:11Z-
dc.date.available2012-07-25T14:51:11Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21131-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (มน.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสร้างและคุณลักษณะของชุมชนเสมือนจริง วิเคราะห์การสร้างและการแสดงออกของตัวตนออนไลน์ เพศวิถีไซเบอร์ ประสบการณ์ชีวิต ตลอดจนปฏิสัมพันธ์ในชุมชนเสมือนจริง รวมทั้งสังเคราะห์ เปรียบเทียบลักษณะของชุมชนเสมือนจริง การแสดงออกของตัวตนออนไลน์ เพศวิถีไซเบอร์และประสบการณ์ชีวิตระหว่างกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ 3 กลุ่ม ได้แก่ ชายรักชาย หญิงรักหญิง และหญิงข้ามเพศ โดยใช้แนวทางการวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนาแห่งความเสมือนจริง (virtual ethnography) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วมแบบออนไลน์ การสัมภาษณ์ออนไลน์ผู้ดูแลเว็บและสมาชิกชุมชน และการสำรวจออนไลน์สมาชิกชุมชน ผลการศึกษามี 3 ประการคือ ประการแรก กระบวนการสร้างชุมชนเสมือนจริงของคนที่มีความหลากหลายทางเพศเริ่มขึ้นจากผู้ดูแลเว็บ โดยมีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชนเป็นกลไกสำคัญต่อการดำรงอยู่ของชุมชน พบว่าชุมชนเสมือนจริงมีองค์ประกอบสำคัญ 5 ประการคือ เป้าหมายของชุมชน พื้นที่เสมือนจริงในการปฏิสัมพันธ์ การสื่อสารผ่านคอมพิวเตอร์ สมาชิกชุมชน และผู้สนับสนุนชุมชน ประการที่สอง คนที่มีความหลากหลายทางเพศนั้น นอกจากมีกระบวนการสร้างตัวตนออนไลน์แล้วยังเชื่อมโยงตัวตนออนไลน์กับตัวตนที่แท้จริง กระบวนการดังกล่าวแสดงออกผ่านการสร้างองค์ประกอบย่อยของตัวตนออนไลน์และการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในชุมชนเสมือนจริง ในขณะที่การแสดงออกทางเพศวิถีในชุมชนเสมือนจริงมี 2 วิธีคือ 1) การตั้งกระทู้เพื่อหาคนรักในกระดานข่าวสนทนา 2) การตั้งกระทู้เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ขอคำปรึกษา และระบายความในใจประเด็นที่เกี่ยวกับเพศสรีระ เพศสัมพันธ์ การเปิดเผยตัวตน อคติและการเลือกปฏิบัติทางเพศ ประการสุดท้าย ชุมชนเสมือนจริงและตัวตนออนไลน์ของคนที่มีความหลากหลายทางเพศมีพื้นที่กระดานข่าวสนทนา ระบบการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกและมีการแสดงออกของตัวตนออนไลน์คล้ายกัน อย่างไรก็ตาม กลับต่างกันในด้านเป้าหมายและผู้สนับสนุนชุมชน เมื่อเปรียบเทียบเพศวิถีไซเบอร์และประสบการณ์ชีวิตระหว่างกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศในชุมชนเสมือนจริงทั้ง 3 แห่งพบอคติและการเลือกปฏิบัติเชิงซ้อนกล่าวคือ ในสังคมรักต่างเพศ คนรักต่างเพศมีอคติและเลือกปฏิบัติต่อคนที่มีความหลากหลายทางเพศ ในขณะเดียวกัน ภายในสังคมความหลากหลายทางเพศกลับเลือกปฏิบัติและมีการสร้างอคติทางเพศเกิดขึ้นภายในกลุ่มเดียวกันซ้อนทับลงไปอีกชั้นหนึ่งen
dc.description.abstractalternativeThis research aims to study the creation process of virtual community and its characteristics. It intends to analyze online identity construction and presentation, cybersexuality, life experiences, and the interaction in virtual community. Employing virtual ethnography approach, data collection through online participant observation and online non-participant observation, online interview of web masters and the community members, and web-based survey of the community members, the research synthesizes and compares characteristics of virtual community, online identity presentation, cybersexuality and life experiences among three groups of people with different sexual orientations: gays, lesbians, and women transgenders. The results of the study are as follows: First, virtual community for people with various sexual orientations has been initiated by the web master. The interaction among the community members is indispensable to the community's existence. The study found that operation of the virtual community has five key elements: the community's purpose, virtual space where the interaction occurs, computer mediated communication, community members, and community sponsors. Secondly, people with various sexual orientations not only construct their online identities, but also connect their online identities with their real ones. This process is demonstrated through the construction of online identity's elements and the interaction with others in virtual community. Presentation of sexualities in virtual community is accomplished by 1) posing threads in the webboard to find lovers; 2) posing threads to exchange information, ask for advice, and share concerns about sex, sexual intercourse, coming out, gender bias and discrimination. Last but not least, virtual communities and the online identities of people with various sexual orientations have similar webboards, communication tools and members' interactions. They also manifest resembled online identities. However, they have different purposes and sponsors. When comparing the cybersexuality and life experiences among people with various sexual orientations in three virtual communities, prejudice and double discrimination exists. Within the heterosexual community, homosexuals are discriminated against by prejudiced heterosexuals. At the same time, the communities of people with various sexual orientations also practice discrimination and establish sexual prejudice on top of the heterosexual community's oneen
dc.format.extent8307925 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.1081-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกลุ่มสนทนาออนไลน์en
dc.subjectเอกลักษณ์ทางเพศen
dc.subjectความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลen
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์en
dc.titleชีวิตของคนที่มีความหลากหลายทางเพศในชุมชนเสมือนจริงen
dc.title.alternativeQueer life in virtual communitiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameมานุษยวิทยามหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineมานุษยวิทยาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAmara.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.1081-
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
chaturawit_th.pdf8.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.