Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21135
Title: | การพัฒนารูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บและการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
Other Titles: | Development of a virtuous project-based model using cooperative learning on Web and reflective writing of goodness Via Weblog to develop respect characteristic of seventh grade students |
Authors: | อภิชา แดงจำรูญ |
Advisors: | อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ฐาปนีย์ ธรรมเมธา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Onjaree.N@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การเรียนการสอนผ่านเว็บ การเรียนแบบมีส่วนร่วม |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือ บนเว็บและการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่1 เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการทำโครงงาน การเรียนแบบร่วมมือ และการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกและสำรวจคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามความคิดเห็นของอาจารย์ เพื่อนและนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญโดยการสัมภาษณ์เกี่ยวกับองค์ประกอบและขั้นตอน ของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 2 สร้างต้นแบบรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และขั้นตอนที่ 4 นำเสนอรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บไซต์สนับสนุนการเรียนรู้ แบบประเมินคุณลักษณะความเคารพของผู้เรียน จำนวน 7 ชุด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดท่าซุด (เจริญศิลป์) จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบแบบ ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บและการเขียนสะท้อน ความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) เว็บไซต์สนับสนุนการเรียนรู้ (กระดานสนทนา เว็บบล็อก คะแนนการปฏิสัมพันธ์บนเว็บ) 2) ประเด็นการพัฒนาคุณลักษณะความเคารพ (อภิปรายร่วมกันถึงความสำคัญของความเคารพ บุคคลที่ควรให้ความเคารพและผลของการขาดความเคารพ/ ประเด็นเพื่อการสืบสอบว่าพ่อแม่ อาจารย์ และเพื่อนมีความสำคัญต่อเราอย่างไร ควรปฏิบัติอย่างไร/ ร่วมคิดโครงงานคุณธรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของตนเองที่มีต่อพ่อแม่ อาจารย์ เพื่อน) 3) กิจกรรมการเรียนรู้ (การแสดงความคิดเห็นและ ร่วมอภิปรายบนกระดานสนทนา การทำโครงงานคุณธรรมด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือบนเว็บและในชั้นเรียน และการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อก) 4) ผู้เรียน (เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความเต็มใจใฝ่รู้ เขียนสะท้อนความดีของตนเองและผู้อื่นลงในเว็บบล็อก ร่วมอภิปรายเพื่อเรียนรู้ทั้งในชั้นเรียนและบนเว็บ ทำโครงงานคุณธรรมร่วมกันอย่างมีความสุข) 5) ผู้สอน (จัดการเรียนรู้และอำนวยความสะดวกด้วยความรักความปรารถนาดี การสนับสนุนการเรียนรู้ ให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ ให้กำลังใจ ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ ให้ผลป้อนกลับด้วยการเสริมแรงทางบวก และสนับสนุนความสามารถผู้เรียนที่แตกต่างอย่างสร้างสรรค์ 6) การประเมินคุณลักษณะความเคารพก่อนและหลังการเรียนรู้ 2. ขั้นตอนในการเรียนรู้ของรูปแบบการทำโครงงานคุณธรรมโดยใช้แนวคิดการเรียนแบบร่วมมือบนเว็บและการเขียนสะท้อนความดีผ่านเว็บบล็อกเพื่อพัฒนาคุณลักษณะความเคารพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 8 ขั้น คือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มเรียนรู้ 2) ขั้นสะท้อนความดีเปิดเซฟตี้เว็บบล็อก 3) ขั้นประเด็นศึกษานำพาสืบสอบ 4) ขั้นประเด็นคุณธรรมนำสู่ความเคารพ 5) ขั้นดำเนินภารกิจพิชิตเป้าหมาย 6) ขั้นประมวลสรุปผลค้นพบนวัตกรรม 7) ขั้นสรุปความดีปิดเซฟตี้เว็บบล็อก 8) ขั้นนำเสนอผลงานผสานการประเมิน 3. กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะความเคารพตนเอง เคารพพ่อแม่ อาจารย์และเพื่อน หลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยคุณลักษณะความเคารพของกลุ่มตัวอย่าง ที่พ่อแม่ อาจารย์และเพื่อนเป็นผู้ประเมิน หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | The purpose of this research was to develop of a virtuous project-based model using cooperative learning on web and reflective writing of goodness via weblog to develop respect characteristic of seventh grade students. The research and development (R&D) process was devided in to four phases: 1) study 2) develop a prototype model 3) study the effects of the process of twelve weeks and 4) purpose the development model. The instruments used in this research consisted of a website learner’ support , a respect characteristics check list form. Samples were 15 seventh grade student in Wattasood (Jarernseen) School, Nakornsawan province. Quanlitative statistics used in this study were frequency distributions, percentage, mean, standard deviation and t-test dependent. The research findings indicated that: 1. The model is consisted of six components: 1) learning-support website (weblog, webboard and scores of Interactive) 2) discussion issues for respect characteristic development ( the importance of respect, person to pay respect and the consequence of disrespect; investigate the virtue of parents, teachers and friends as well as how to respect them; cooperatively plan a project to develop respect characteristic 3) learning activities (ideas sharing and discussion via web board, implement the respect project using cooperative method online, and reflective writing) 4) learners (write a good reflection mine and others via weblog, discussed on and off the web and project on parent teachers and friends) 5) instructors (manage the learning, provides support and guidance and provides feedback and positive reinforcement) 6) assessment of respect characteristic (before and after learning) 2. The model is consisted of 8 steps 1) learners preparation 2) reflective writing of goodness via safety-weblog 3) exploring and investigating respect issues 4) planning and creating virtuous project 5) implementing the project and achieved the goal 6) project recapitulation and innovation found 7) conclude the reflective writing of goodness and close safety-weblog 8) project presentation and assessment of respect characteristic. 3. There were significant different between pretest and posttest scores of respect characteristics at the .05 level |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21135 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1945 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2010.1945 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
apicha_da.pdf | 7.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.