Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21138
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุวิมล ว่องวาณิช | - |
dc.contributor.author | ชลธิศ โลศิริ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-07-25T15:25:04Z | - |
dc.date.available | 2012-07-25T15:25:04Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21138 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์และเปรียบเทียบระดับการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทยในระดับมัธยมศึกษาที่มีภูมิหลังต่างกัน (2) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทย และ (3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทยที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาของโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 578 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยตัวแปรแฝง 5 ตัวแปร ได้แก่ การมีอัตลักษณ์ของชาติ ความภูมิใจในชาติ ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสังคมไทย และปัจจัยด้านการเรียนการสอน โดยมีตัวแปรสังเกตได้ 18 ตัวแปร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีความเที่ยงในการวัดตัวแปรสังเกตได้ ตั้งแต่ .9158 ถึง .9749 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน การทดสอบทีแบบเป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windows และการวิเคราะห์โมเดลลิสเรล ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) เยาวชนไทยมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติในระดับมาก โดยเพศหญิงมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติสูงกว่าเพศชาย แต่ไม่พบความแตกต่างของของระดับการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติเยาวชนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นที่ต่างกัน (2) โมเดลเชิงสาเหตุของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทย ประกอบด้วย ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทย โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อการมีอัตลักษณ์ของชาติคือ ปัจจัยด้านสังคมไทย สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดต่อความภูมิใจในชาติ คือ การมีอัตลักษณ์ของชาติ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดต่อความภูมิใจในชาติคือ ปัจจัยด้านสังคมไทย (3) โมเดลเชิงสาเหตุของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทย โดยภาพรวมมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X²=57.55, df = 49, p = 0.188, RMSEA = 0.017, GFI = 0.989, AGFI=0.962, RMR=0.025) ตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติได้ร้อยละ 44.50 และร้อยละ 67.10 ตามลำดับ | en |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were (1) to study and compare the level of national identities and national prides of Thai youths of different backgrounds (2) to develop a causal model of national identity and national pride of Thai youths and (3) to examine the goodness of fit of the model with empirical data. The research sample consisted of 578 secondary school students in Bangkok. Variables consisted of five latent variables: national identities, national prides, family factors, Thai social factors and learning factors. These latent variables were measured by eighteen observed variables. The research instruments were questionnaires, which had the reliability coefficients .9158 to .9749. The research data were analyzed by employing descriptive statistics, t-test, one-way ANOVA, Pearson correlation and LISREL Model analysis. The research findings were as follows: (1) National identities and national prides of Thai youths were high. Females had higher national identities and national prides than males. No significant differences were found almost Thai youths studied in different classes. (2) The causal model consisted of variable having both direct and indirect effect. Among these variables, the Thai social factors had the highest direct effect on the national identities and the national identities in turn had the highest direct effect on the national prides. The Thai social factors had the highest indirect effect on the national prides. (3) The causal model fitted the empirical data. (X²=57.55, df = 49, p = 0.188, RMSEA = 0.017, GFI = 0.989, AGFI=0.962, RMR=0.025). The variables in the model accounted for 44.50% and 67.10% variance of national identities and national prides. | en |
dc.format.extent | 2948096 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1947 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ชาตินิยม -- ไทย | en |
dc.subject | เยาวชน -- ไทย | en |
dc.title | การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของการมีอัตลักษณ์ของชาติและความภูมิใจในชาติของเยาวชนไทย | en |
dc.title.alternative | The development of a causal model of national identity and national pride of Thai youths | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | wsuwimon@chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1947 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
chonlathit_lo.pdf | 2.88 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.