Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21158
Title: การวิเคราะห์อุปกรณ์ผิดพร่องบนเครือข่ายระบบส่งไฟฟ้าโดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ
Other Titles: Fault equipment analysis on transmission network using an expert system
Authors: จิรายุทธ์ กิตติจันทร์รัตนา
Advisors: แนบบุญ หุนเจริญ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Naebboon.H@Chula.ac.th
Subjects: การส่งกำลังไฟฟ้า
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (คอมพิวเตอร์)
ระบบไฟฟ้าล้มเหลว
ตำแหน่งฟอลต์
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยที่ผ่านมาได้นำเสนอการวิเคราะห์หาอุปกรณ์ผิดพร่องในระบบส่งโดยใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญ อย่างไรก็ดีวิธีดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูลขนาดใหญ่ในการจัดเก็บข้อมูลการเชื่อมต่อกันของอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบส่ง ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญช่วยในการวิเคราะห์หาอุปกรณ์ที่ผิดพร่องบนเครือข่ายระบบส่ง ด้วยข้อมูลสถานะและเวลาในการทำงานของรีเลย์และอุปกรณ์ตัดตอนที่ถูกบันทึกด้วยอุปกรณ์บันทึกความผิดพร่องแบบดิจิตัล ระบบผู้เชี่ยวชาญจะคัดกรองเหตุการณ์ที่ไม่มีนัยสำคัญออก และนำเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญไปวิเคราะห์หาอุปกรณ์ผิดพร่อง ในการวิเคราะห์นี้สามารถทำได้โดยอาศัยกฎการตั้งชื่ออย่างเป็นระบบ ของช่องสัญญาณของอุปกรณ์บันทึกความผิดพร่องแบบดิจิตัล จึงไม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลการจัดเรียงบัสในสถานีไฟฟ้า ช่วยลดความจำเป็นในการสร้างฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และขั้นตอนในการปรับปรุงให้ฐานข้อมูลเหล่านั้นทันสมัยอยู่เสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในสถานีไฟฟ้า สำหรับขั้นตอนวิเคราะห์หาอุปกรณ์ผิดพร่อง จะอาศัยวิธีคำนวณความน่าจะเป็นของสถานะการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดในสถานีไฟฟ้า สำหรับการจัดเรียงบัสแต่ละประเภท ทำให้สามารถวิเคราะห์หาอุปกรณ์ผิดพร่องได้อย่างถูกต้อง แม้ในกรณีที่มีข้อมูลรีเลย์และอุปกรณ์ตัดตอนไม่ครบทุกตัว ผลการทดสอบกับข้อมูลจากเหตุการณ์จำลองและเหตุการณ์จริง ให้ผลความถูกต้องเกิน 90%
Other Abstract: In previous researches, an expert system application to fault equipment analysis on transmission network requires large database for the details of network connection. This thesis presents an alternative expert system based fault equipment analysis on transmission network using status and operation time of relays and circuit breakers data recorded by a digital fault recorder (DFR). The proposed method is able to classify between insignificant and significant events, and able to locate the faulted equipment, respectively. Additionally, this algorithm deploys systematic naming of the DFR channels, hence, replacing the necessity for establishing large database of network connection as well as required updating process when the station configuration has been further modified. The analysis also employs the probability-base technique to help determine the status of missing relay and circuit breaker data, corresponding to the type of station bus ordering. Test results using data from both simulated and actual fault event reveal the obtained accuracy above 90%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21158
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1931
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1931
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jirayuth_ki.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.