Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21176
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุชาดา บวรกิติวงศ์-
dc.contributor.authorภัทรวดี วชิรธาดากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-26T13:16:37Z-
dc.date.available2012-07-26T13:16:37Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21176-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการพัฒนาครูกับประเภทของครู 3 ประเภท ที่มีต่อความเป็นครูมืออาชีพ และ(3) เพื่อสรุปแนวทางในการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 360 คน และครูมืออาชีพจำนวน 5 คน ที่ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน มีการเก็บข้อมูล 2 ประเภท คือ (1) ข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกประเภทของครู ศึกษาวิธีการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ และปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพ (2) ข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บโดยใช้แบบสัมภาษณ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยืนยันผลการวิเคราะห์จากข้อมูลเชิงปริมาณ และเพื่อสรุปแนวทางในการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ การวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยาย วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) และการวิเคราะห์โมเดล LISREL สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) วิธีการพัฒนาครูที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพมากที่สุด คือ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง (mean=4.05) อันดับสองคือ การอบรมโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (mean=3.88) อันดับที่สามคือ การนิเทศแบบคลินิก (mean=3.60) และอันดับสุดท้ายคือ การนิเทศแบบกัลยาณมิตรระหว่างเพื่อนครู (mean=3.50) (2) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทของครูมืออาชีพและวิธีการพัฒนาครูที่ส่งผลต่อความเป็นครูมืออาชีพ (3) ครูมืออาชีพส่วนใหญ่ได้ใช้วิธีการพัฒนาโดยการแสวงหาความรู้และวิธีการพัฒนาด้วยตนเอง นอกจากนั้นสิ่งสำคัญในการพัฒนาครูให้มีความเป็นครูมืออาชีพ คือการได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทั้งในเรื่องขวัญกำลังใจ การสนับสนุนด้านทรัพยากร และการได้รับความร่วมมือจากเพื่อนร่วมงาน และผู้ปกครองen
dc.description.abstractalternativeThe three purposes of this research were 1) to study how teachers develop to be professional teachers 2) to study the interaction between how teachers develop and types of teacher on the professionals and 3) to summarize the guidelines of ways to develop to be a professional teacher. The samples used in this study were 360 teachers and 5 professional teachers in basic education and samples were taken from the multi-stage random sampling. There were two types of data: 1) Quantitative data were collected using a questionnaire which aims to identify the type of teacher, being a professional teacher. 2) Qualitative data were collected by using interview form which aims to confirm the results of analysis from quantitative data and to summarize the guidelines for professional teachers. Data analyses for quantitative data were 1) descriptive statistics, one-way analysis of variance (One-way ANOVA), two-way analysis of variance (Two-way ANOVA), LISREL model and for qualitative data using content analysis. The research findings were as follows: 1) Methods affecting most to professional teachers was learning on their own (mean= 4.05), followed by a school base training (mean = 3.88), clinique guidance (mean = 3.60) and friend guidance (mean = 3.50). 2) No interaction effect between developing methods and types of teachers on the professionals. 3) Most professional teachers developed by using knowledge and self-development. In addition, it was important to develop teachers to be professional was the administator’s support on teacher’s spirit, resources, the cooperation from collegues and students’ parent.en
dc.format.extent2287968 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1954-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครูen
dc.subjectการพัฒนาอาชีพen
dc.titleการเปรียบเทียบวิธีการพัฒนาครูสู่ความเป็นครูมืออาชีพ : การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์en
dc.title.alternativeA comparison of professional teacher development methods : an interaction analysisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิธีวิทยาการวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSuchada.b@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2010.1954-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
phattharavadi_wa.pdf2.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.