Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21181
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต
Other Titles: Development of a problem-based learning model using hypermedia-based cognitive tools to enhance problem-solving ability of undergraduate agriculture students
Authors: ณัฐกร สงคราม
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
วิชุดา รัตนเพียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Vichuda.R@chula.ac.th
Subjects: การเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน
นักศึกษาเกษตร
การแก้ปัญหา
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต โดยวิธีการดำเนินการวิจัย เริ่มจากการสำรวจสภาพ ปัญหา และความต้องการในการจัดการเรียนการสอนจากคณาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ จำนวน 69 คน ในสถาบันอุดมศึกษาไทย 13 แห่ง และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ กลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน โดยมีระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ แล้วให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจรับรองความเหมาะสมของรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดียเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของนิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ประกอบด้วย 1. องค์ประกอบของรูปแบบ ได้แก่ 1.1 สถานการณ์ปัญหาทางการเกษตร 1.2 อาจารย์สาขาเกษตรศาสตร์ 1.3 นิสิตนักศึกษาสาขาเกษตรศาสตร์ (ความรู้เดิม คุณลักษณะผู้เรียน ทักษะการใช้เครื่องมือ กระบวนการกลุ่ม) 1.4 เครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 เครื่องมือสำหรับนำเสนอข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือนำเสนอปัญหา (ตัวแทนผู้สอน สถานการณ์ปัญหา) เครื่องมือนำเสนอฐานข้อมูล (ฐานข้อมูลการเกษตร ฐานข้อมูลกรณีตัวอย่าง) กลุ่มที่ 2 เครื่องมือสนับสนุนกระบวนการทางปัญญา ได้แก่ เครื่องมือค้นหาข้อมูล (เครื่องมือค้นหาจากคำสำคัญ เครื่องมือค้นหาจากหมวดหมู่) เครื่องมือจัดระบบข้อมูล (เครื่องมือสร้างผังความคิด เครื่องมือจดบันทึก) เครื่องมือบูรณาการความรู้ (ห้องปฏิบัติการเสมือน ตารางคำนวณ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ) เครื่องมือสร้างความรู้ (เครื่องมือสร้างการนำเสนอ) กลุ่มที่ 3 เครื่องมือการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ เครื่องมือสื่อสารแบบประสานเวลา (ห้องสนทนา) เครื่องมือสื่อสารแบบไม่ประสานเวลา (กระดานสนทนา กระดานข่าว แสดงผลงาน) 2. กระบวนการเรียนการสอน ได้แก่ เตรียมความพร้อมผู้เรียน เสนอสถานการณ์ปัญหา กำหนดกรอบการศึกษา ค้นคว้าข้อมูล เลือกแนวทางแก้ปัญหา นำเสนอผลงาน และ 3. การประเมินผล 2. นักศึกษาที่เรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักด้วยเครื่องมือทางปัญญาแบบไฮเพอร์มีเดีย มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่านักศึกษาที่เรียนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นหลักแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to develop a problem-based learning model using hypermedia-based cognitive tools to enhance problem-solving ability of undergraduate agriculture students. The research method was divided into three phases. The first phase: explore state, problems and needs in the instructional management of 69 agriculture instructors in 13 Thai higher education institutes and interview six experts about the use of hypermedia-based cognitive tools to enhance problem-solving ability. The second phase: experiment the model with undergraduate Agriculture Development and Resources Management students from the Faculty of Agriculture Technology at King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang. Thirty undergraduate students assigned to the experimental group used cognitive tools to support their learning activities while other 30 undergraduate students assigned to the control group did not. The experiment was carried out for 6 weeks. The data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and t test. The research results indicated that: 1. The problem-based learning model using hypermedia-based cognitive tools to enhance problem-solving ability of undergraduate agriculture students consisted of 1) Four components which include agriculture problem situation, agriculture teachers, agriculture students (prior knowledge, learner characteristic, tool-using skill and group process) and hypermedia-based cognitive tools which include (1) Information tools which include problem tools (pedagogical agent and problem scenario) and database tools (agricultural database and case study database) (2) Cognitive process tools which include seeking tools (keyword search engine and directory search Engine), organizing tools (concept map and note-taking), integrating tools (virtual lab, spreadsheets and expert guides), and generating tools (presenter) (3) Communication tools which includes synchronous tools (chat room) and asynchronous tools (news, bulletin board and showcase). 2) Learning process which includes preparation of the learner, presentation of problem, scope of the study, research for information, selection of solution and results presentation, and 3) Formative and summative evaluations. 2. There was significant difference in problem-solving ability of students between the group using and the group not using hypermedia-based cognitive tools at the significance level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21181
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1957
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1957
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutthakorn_so.pdf9.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.