Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21201
Title: การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิตสาขาโสตทัศนศึกษา บํณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2506-2523
Other Titles: An analysis of master's theses in audio-visual education from B.E. 2506 to 2523 in The Graduate School, Chulalongkorn University
Authors: พิชัย ดลเสมอ
Advisors: ศุภร สุวรรณาศรัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไมีมีข้อมูล
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย. ภาควิชาโสตทัศนศึกษา -- วิทยานิพนธ์
วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณทิต สาขาวิชาโสตทัศนศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2506 ถึง 2523 รวมทั้งสิ้น 300 ฉบับ โดยวิเคราะห์ถึงขอบเขตหัวข้อและเนื้อเรื่องวิทยานิพนธ์ซึ่งตามลักษณะการวิจัยทางโสตทัศนศึกษา ประเภทของการวิจัย วิธีการรวบรวมข้อมูล สถิตติที่ใช้ในการวิจัยตัวอย่างประชากร และช่วงปีการศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต่างๆ ของวิทยานิพนธ์แต่ละเล่ม ข้อมูลที่ได้จากแบบวิเคราะห์ได้นำมาเสนอในรูปของร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผลของการวิจัยสรุปได้ว่า หัวข้อวิทยานิพนธ์แบ่งตามลักษณะการวิจัยทางโสตทัศนศึกษาที่ทำกันมากที่สุดคือ การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษางานโสตทัศนศึกษาของสถาบันต่างๆ รองลงมาคือการวิจัยเกี่ยวกับชุดการสอน ประเภทของการวิจัยที่นิยมทำกันมากคือ การวิจัยเชิงบรรยายวิธีการรวบรวมข้อมูลนิยมใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้ค่าเฉลี่ยมากที่สุด ส่วนตัวอย่างประชากรที่นำมาใช้ในการวิจัยคือครูอาจารย์ผู้สอนทุกระดับศึกษา และช่วงปีการศึกษาที่มีผู้ทำวิทยานิพนธ์มากที่สุดคือ ช่วงปีการศึกษา 2518 ถึง 2520 มีจำนวนถึง 78 ฉบับ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาทั้ง 300 คน เป็นชาย 140 คน เป็นหญิง 160 คน และจำนวนหน้าโดยเฉลี่ยของวิทยานิพนธ์คือ 139 หน้า
Other Abstract: The purpose of this study was to analyze the master's theses in audio-Visual education of Chulalongkorn University from B.E. 2506-2523 in term areas which concerned with types of research, techniques of collecting data, statistical methods, population and period of doing researchs. The analysis form was constructed to collecting data. The collected data were then analyzed into percentage and mean. It was found that most of the theses were done in audio-visual tasks analysis and second were learning packaye. Most of the research methods was descriptive. The questionnaire were used to collect data. The maximum Period of research were done in B.E. 2518-2520. The mean of number of thesis pages were 139 pages. Three hundred graduated master degree students were 140 men and 160 women.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21201
ISBN: 9745623695
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pichai_Do_front.pdf305.78 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_ch1.pdf260.99 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_ch2.pdf367.67 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_ch3.pdf229.24 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_ch4.pdf673.84 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_ch5.pdf321.33 kBAdobe PDFView/Open
Pichai_Do_back.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.