Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสร้อยสน สกลรักษ์-
dc.contributor.advisorทิศนา แขมมณี-
dc.contributor.authorสายพิน สีหรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-30T13:48:12Z-
dc.date.available2012-07-30T13:48:12Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21252-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมและตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 กระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม โดยวิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการและแนวคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบดังกล่าว 2) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบโดยนำไปทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยีกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทพศิรินทร์คลองสิบสาม ปทุมธานี ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง แล้วสุ่มแบบง่ายจาก 4 ห้องเรียน ออกเป็น 2 ห้อง ห้องละ 35 คน โดยพิจารณาจากคะแนนสอบเข้าของนักเรียนในแต่ละห้องเป็นเกณฑ์ โดยที่ห้องหนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น และอีกห้องหนึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบปกติ ใช้เวลาทดลองลองสอน จำนวน 13 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง 40 นาที รวม 25 ชั่วโมง ในแต่ละกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของกลุ่มทดลองในระยะที่1 กับระยะที่ 4 ของการทดลอง และใช้การทดสอบค่าที ( t-test) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมกับนักเรียนที่เรียนตามการเรียนการสอนแบบปกติ รวมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาจากบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน ข้อค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้คือ 1.รูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีมที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยการดำเนินการ 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 เป็นการเตรียมการและวางแผนการสอนของครู โดยเตรียมเนื้อหา ทักษะกระบวนการ และการจัดทีมนักเรียน ส่วนที่ 2 เป็นขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย 5 ขั้นหลัก คือ 1) การกำหนดเป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ร่วมกัน 2) การศึกษารายบุคคล 3) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การประยุกต์ความรู้ และ 5) การประเมินผลการเรียนรู้เป็นทีม ทั้งนี้ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และฝึกทักษะการเรียนรู้เป็นทีมให้แก่ผู้เรียน 2.จากการตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวด้วยการนำไปทดลองใช้ ปรากฏว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนนี้มีทักษะการเรียนรู้เป็นทีมสูงขึ้นและมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนดัวยการเรียนการสอนตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่ารูปแบบการเรียนการสอนดังกล่าวนี้สามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research were to develop the instructional model based on team learning principles and to verify its effectiveness to enhance team learning skills and learning achievement of Mathayomsuksa four students. The research procedure was divided into two phases: the first phase was the development of the model by analyzing and synthesizing related principles and concepts as the basis for the development; the second phase focused on verifying its effectiveness by implementing the model into the classrooms and evaluating the results with set criteria. The samples were purposively selected from Mathayomsuksa four students of Debsirinklongsibsam Pathumthani School. Two classrooms from 4 classrooms were randomly selected according to the students’ entrance scores and assigned into experimental and control group with 35 students each. The experimental group learned through this model and the control group learned through regular method. The model was verified by implementing into the Career and Technology classroom for 13 weeks, one hour and forty minutes in one session per week, encompassing a total of 25 hours. The data were analyzed by using one-way ANOVA to compare the mean scores of team learning skills at the first and the fourth stage of the implementation process. T-test was utilized to test the differences of mean scores in learning achievement. Content analysis was used to analyze students’ learning logs.The findings were as the followings:- 1. The model comprises 2 main parts; 1) the preparation part, including contents, process skills and team setting; 2) the learning and teaching part, consisting of 5 main stages. They are: determining team’s learning goals and plans; conducting individual study; sharing and learning; applying what have been learned and evaluating team learning. Teachers play significant role of facilitating and training team learning skills. 2. The effectiveness of this model was verified by implementation into the classroom and was found that students who learned with this model increase team learning skills. Their learning achievement was higher than students who learned with regular method at 0.05 level of significance. It was also concluded that this model can be implemented to increase team learning skills and learning achievement of Mathayomsuksa four students.en
dc.format.extent2733483 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.856-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิตen
dc.subjectการเรียนรู้en
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4en
dc.title.alternativeDevelopment of the instructional model based on team learning principles to enhance team learning skills and learning achievement of Mathayomsuksa four studentsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSoison.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorTisana.K@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.856-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
saiphin_si.pdf2.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.