Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21262
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปัทมศิริ ธีรานุรักษ์-
dc.contributor.advisorน้อมศรี เคท-
dc.contributor.authorวัชรีย์ ร่วมคิด-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-07-30T14:57:02Z-
dc.date.available2012-07-30T14:57:02Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21262-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับ และการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูอนุบาล ในการออกแบบการสอนและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ 2) เพื่อหาคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับ และการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูอนุบาล ในการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับและการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์ ระยะที่ 2 การนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปใช้และปรับปรุงรูปแบบให้มีความสมบูรณ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูชั้นอนุบาลในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 10 คน ใช้เวลาทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย กระบวนการเรียนการสอนหลัก 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้รายหน่วย ประกอบด้วยการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้และการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้รายคาบ ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ การกำหนดหลักฐานการเรียนรู้ และการวางแผนจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง ประกอบด้วย การลงมือปฏิบัติกิจกรรม การสะท้อนความรู้จากการปฏิบัติและการสร้างความคิดรวบยอด ขั้นที่ 4 การปฏิบัติการใช้ความรู้ ประกอบด้วย การนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติงาน และการสะท้อนความรู้จากการปฏิบัติงาน 2. ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า 2.1 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการออกแบบการสอนสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผลผลิตของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เอกสารประกอบรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับ และการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูอนุบาล ในการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูอนุบาล-
dc.description.abstractalternativeTo 1) Develop an instructional model base on backward design approach and experiential learning to enhance kindergarten teachers’ ability to design and organize instructional activities. 2) Study the effectiveness of the developed instructional model. The research procedure was divided into 2 phases. The first phase was the developing of the instructional model based on backward design approach and experiential learning. The second phase is using improving the developed instructional model. The samples were 10 kindergarten teachers of Loei Educational Service Area Office 1. The developed model was testing in 8 weeks. Research instrument was an Assessment Record of Lesson Plan and An Assessment of Teacher’s Ability to Organize Instructional Activities Record. The research results were as follows : 1. The developed instructional model consisted of four instruction procedures which were 1) identifying desired results of the unit include identifying desired results, determining acceptable evidences and planning learning experiences and instruction. 2) identifying desired results of the lesson include identifying desired results, determining acceptable evidences and planning learning experiences and instruction. 3) learning through direct experiences included practicing activities, reflecting and constructing concepts, and 4) applying knowledge include applying received knowledge and reflecting. 2. The effectiveness of the developed instructional model : 1) The average post-test scores of the experimental group of teacher’s ability in instructional design was significantly higher than that of the pre-test at the 0.05 level. 2) The average post-test scores of the experimental group of teacher’s ability in organizing instructional activities was significantly higher than that of the pre-test at the 0.05 level. 3. The product of this study were : a Handbook of instructional Model Based on Backward Design Approach and Experiential Learning to Enhance Kindergarten Teacher’s Ability to Design and Organize Instructional Activities.-
dc.format.extent16925389 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.507-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectครูอนุบาล-
dc.subjectการศึกษาขั้นอนุบาล-
dc.subjectระบบการเรียนการสอน-
dc.subjectกิจกรรมการเรียนการสอน-
dc.subjectการเรียนรู้แบบประสบการณ์-
dc.subjectKindergarten teachers-
dc.subjectKindergarten-
dc.subjectInstructional systems-
dc.subjectActivity programs in education-
dc.subjectExperiential learning-
dc.titleการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการออกแบบย้อนกลับและการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์เพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูอนุบาลในการออกแบบและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนen
dc.title.alternativeThe development of an instructional model based on backward design approach and experiential learning to enhance kindergarten teachers' ability to design and organize instructional activitiesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPattamasiri.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorNormsri.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.507-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
watcharee_ru.pdf16.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.