Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21300
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์-
dc.contributor.advisorสุกรี รอดโพธิ์ทอง-
dc.contributor.authorครรชิต จามรมาน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-03T15:11:38Z-
dc.date.available2012-08-03T15:11:38Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21300-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาวิเคราะห์นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาและการนำนโยบายฯไปปฏิบัติในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ (2) เสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการนำนโยบายและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสู่การปฏิบัติโดยใช้แนวคิดการแปลงนโยบายของ วรเดช จันทรศร และแนวคิดความสำเร็จของการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Berman and McLaughlin การดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์แผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ และ การศึกษาข้อมูลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 287 โรงเรียน จากประชากรจำนวน 2,364 โรงเรียน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้ดูแลระบบสารสนเทศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ตามด้วยการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเลือกโรงเรียนมัธยมจำนวน 10 แห่งเป็นกรณีศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่านโยบายและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 2 พ.ศ. 2554–2556 มีความชัดเจน มีความสอดคล้องกัน และสอดคล้องกับนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ IT2020 การปฏิบัติตามนโยบายและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2550 -2554 พบว่า โรงเรียนมัธยมศึกษามีความเข้าใจและความร่วมมือในการปฏิบัติตามแผนแม่บทดังกล่าวในระดับ ดี ข้อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติในโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาควรให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการนำนโยบายและแผนแม่บทไปปฏิบัติ 2. ควรจัดทำแผนส่งเสริมการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศภายในสถานศึกษา 3. ควรจัดอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้แก่ครูทุกคน 4. ควรจัดทำระบบติดตามและประเมินผล 5. ควรจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์ให้พอเพียง 6. ควรจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนและท้องถิ่น 7. ควรจัดกิจกรรมส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 8. ควรพิจารณาใช้ทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมาประกอบการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนครู ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ คือ 1. กระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำมาตรการสนับสนุนให้โรงเรียนในชนบทที่ห่างไกลมีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างพอเพียง 2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานควรจัดการอบรมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่ครูทั่วประเทศอย่างทั่วถึง 3. กระทรวง ศึกษาธิการควรเร่งรัดการจัดตั้งสถาบันทดสอบทักษะความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 4. กระทรวงศึกษาธิการควรเร่งรัดการจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 5. กระทรวงศึกษาธิการควรปรับปรุงระบบการเลื่อนขั้นโดยพิจารณาความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. กระทรวงศึกษาธิการควรประสานงานกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงไปถึงโรงเรียนทั่วประเทศ 7. กระทรวงศึกษาธิการควรจัดทำระบบติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of the study were (1) To analyze Information and Communication Technology (ICT) policy for education and the ICT policy implementation in the secondary schools in Thailand and (2) To suggest the appropriated guidance for the ICT policy implementation. The conceptual framework of the research was based on the policy transformation model of Woradej Chantason and the model of Berman and McLaughlin for the success of policy implementation. The study consisted of analyzing the MOE ICT policy and plan for education and the implementation. The sample of the study were 287 administrators and ICT administrators from the secondary schools that were systematic randomly from the total of 2,364 schools around the country. They were asked to respond with questionnaires and the data was analyzed by descriptive statistics. To study qualitative data, 10 schools were selected and interviewed using the research instruments. Then the data was analyzed using content analysis and inductive method. The study showed that: The MOE ICT policy and plan for education were concise and consistent. In the implementation aspect, the understanding and cooperation of schools were good. The guidance for the ICT policy implementation of secondary school were: 1) School administrator should support the ICT policy implementation continuously. 2) School should have IT promotion plan. 3) All teachers should be training for IT knowledge. 4) School should set up the ICT follows up and evaluation system. 5) School should provide sufficient computer system. 6) School should set up activity with local community. 7) School should set up activity to promote IT usage. And 8) School should revise teacher promotion system based on ICT literacy. The suggestion for using the result were: 1) MOE should set supporting measure for providing computers to the school in the rural area. 2) BEC should provide ICT training for all teachers. 3) MOE should set up National ICT Skill Testing Center. 4) MOE should set up National Education Technology Institute. 5) MOE should revise teachers promotion system based on ICT literacy. 6) MOE should cooperate with the National Broadcasting and Telecommunications Commission for high speed network in the rural area. 7) MOE should set up the ICT follows up and evaluation system.en
dc.format.extent2580948 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectปริญญาดุษฎีบัณฑิต-
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศ-
dc.subjectนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ-
dc.subjectโรงเรียนมัธยมศึกษา -- เทคโนโลยีสารสนเทศ-
dc.titleการศึกษาวิเคราะห์นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทยen
dc.title.alternativeAn analytical study of information and communication technology policies and implementation of secondary schools in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPruet.S@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSugree.R@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kunchit_ch.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.