Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21309
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา
Other Titles: Development of an instructional model based on parsons' theory of aesthetic development to enhance art perception ability of elementary school students
Authors: นุติยาพร วงษ์เณร
Advisors: อำไพ ตีรณสาร
พิมพันธ์ เดชะคุปต์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Ampai.Ti@Chula.ac.th
Pimpan.d@chula.ac.th
Subjects: การรับรู้ภาพ
การแปลความหมายภาพ
สุนทรียภาพ
ทัศนศิลป์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพ ของพาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะของนักเรียนประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษา ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ด้วยการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และทดสอบ ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 47 คน โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ใช้เวลาทดลอง 20 สัปดาห์ ตามรูปแบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบแผนอนุกรมเวลา เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียน การสอนซึ่งได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัขนีความสอดคล้อง 0.70 ทั้ง 2 ฉบับ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F-test และวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยหลักการ 2 ประการคือ 1) พัฒนาการ สุนทรียภาพของนักเรียนเริ่มตั้งแต่ขั้นแรกจนถึงขั้นสูงสุด คือ (1) ความชื่นชอบ (2) ความงามและความจริง (3) การแสดงออก (4) แบบอย่างและรูปแบบ (5) ความเป็นตัวตน และ 2) สามารถพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะของ นักเรียนตามขั้นพัฒนาการสุนทรียภาพจากขั้นแรกสู่ขั้นสูงสุดโดยใช้แนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นรับรู้ทางทัศน์ (2) ขั้นสื่อสารงานศิลป์ (3) ขั้นวิเคราะห์โครงสร้าง (4) ขั้นแปลความหมาย ผลงาน (5) ขั้นประเมินคุณค่า และ (6) ขั้นกิจกรรมศิลปะปฏิบัติ 2. ประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน จากการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ และ หาประสิทธิผลพบว่า นักเรียนที่เรียนตามรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีพัฒนาการสุนทรียภาพของ พาร์สันเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านการรับรู้ทางศิลปะมีระดับการพัฒนาการรับรู้ทางศิลปะสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The purposes of this research were: 1) to develop an instructional model based on Parsons’ theory of aesthetic development in order to enhance art perception ability of elementary school students, and 2) to study the efficiency of the developed instructional model by means of quality consideration by the experts and to evaluate of effectiveness of this instructional model in the classroom. The samples were 47 fifth grade elementary school students in Prachuap Khiri Khan Kindergarten School, which is under the Prachuap Khiri Khan Education Elementary Service Area Office 1. The experiment was a 20 weeks quasi-experimental research based on conventional time series. The research instruments included 1) the art perception ability test, and 2) the questionnaire concerning students’ satisfaction on the instruction method. Its quality was approved by experts with 0.70 IOC index. The results were analyzed using frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation, F-test, and the One-way Repeated Measure ANOVA. The results of this research were as follows: 1. The developed instructional model consisted of 2 principles: 1) the aesthetic development of students included 5 stages, starting from the basics stage to the advance stage: (1) favoritism, (2) beauty and realism, (3) expressiveness, (4) style and form, and (5) autonomy and 2) students’ art perception ability by means of aesthetic development could be enhanced by using 6 steps teaching and learning activities: (1) perceiving visuals, (2) communicating art, (3) analyzing structure, (4) interpreting of artworks, (5) evaluating art values, and (6) performing art activities. 2. The effectiveness of this developed, approved by the experts, showed that students’ art perception ability could be enhanced with the statistical significance at the level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21309
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1964
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1964
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
nutiyaporn_wo.pdf2.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.