Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21333
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.advisorชวลิต นิตยะ-
dc.contributor.authorสมปอง จึงสุทธิวงค์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.coverage.spatialสมุทรสงคราม-
dc.date.accessioned2012-08-05T13:11:00Z-
dc.date.available2012-08-05T13:11:00Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21333-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.) --จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องทางเลือกในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในชุมชนบางน้อยนอก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่อยู่อาศัย และการใช้วัสดุในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยในปัจจุบัน ศึกษาความสามารถในการจ่ายค่าซ่อมแซมของผู้อยู่อาศัย เพื่อวิเคราะห์หาทางเลือกในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย โดยทำการศึกษาจาก ข้อมูลเอกสาร ภาพถ่าย การสำรวจและการสังเกต รูปแบบที่อยู่อาศัยและวัสดุก่อสร้าง การสัมภาษณ์ ผู้อยู่อาศัย ร้านค้าจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ช่างพื้นถิ่น โดยศึกษากรณีตัวอย่าง 5 รูปแบบ คือ เรือนแถวริมน้ำ เรือนไทยภาคกลาง เรือนประยุกต์ เรือนพื้นถิ่น อาคารสมัยใหม่ จำนวน 9 หลัง ที่ตั้งในพื้นที่ริมน้ำ 5 หลัง พื้นที่สวน 4 หลัง วิเคราะห์ทางเลือกในการซ่อมแซมโดยใช้วิธีเชิงสถิติ การประมาณราคา และการคำนวณหาความสอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า ที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ใช้ไม้เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร ที่อยู่อาศัยที่มีปัญหาต้องการซ่อมแซมมากที่สุดเรียงตามลำดับคือ ประเภทเรือนแถวริมน้ำ เรือนพื้นถิ่น เรือนไทยภาคกลาง ต้องการการซ่อมแซม 4 ส่วน คือ วัสดุมุง ผนัง พื้น และเสาอาคาร ปัญหาที่สำคัญที่สุด คือ ส่วนเสาอาคาร ซึ่งเป็นส่วนที่รับน้ำหนักทั้งหมดของโครงสร้างเพื่อถ่ายน้ำหนักลงสู่ชั้นดิน ซึ่งพบว่าลักษณะดินในพื้นที่ริมน้ำ ที่ระดับผิวดินถึงระดับ -13.00 เมตร จะเป็นดินโคลนสีดำที่ไม่มีความสามารถในการรับน้ำหนัก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาเสาอาคารทรุด ปัญหาเสาอาคารทรุดนี้ผู้อยู่อาศัยไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ ดังนั้นช่างพื้นถิ่นจึงมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมเสาอาคาร ให้กับชาวบ้านตามกระบวนวิธีพื้นบ้าน พบว่า มีการซ่อมแซม 3 วิธี คือ 1.การล้อมเสาส่วนที่ชำรุดด้วยแผ่นสังกะสีแล้วหยอดคอนกรีตลงไปตามช่อง 2. การแซมด้วยเสาคอนกรีตแต่ไม่ถอนเสาเดิมออก 3. การแซมด้วยเสาคอนกรีตแต่ถอนเสาเดิมออก การศึกษาด้านความสามารถในการจ่ายพบว่า ผู้อยู่อาศัยมีอาชีพที่หลากหลาย ส่วนใหญ่มีรายได้ครัวเรือนค่อนข้างน้อย มีรายได้มากกว่ารายจ่าย มียอดคงเหลือแต่ละเดือนและมีความสามารถในการจ่ายเพื่อที่อยู่อาศัยน้อยมาก จึงเลือกใช้วัสดุที่มาซ่อมแซมที่มีราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่นเท่านั้น วัสดุทางเลือกในการซ่อมแซม 4 ส่วนหลักของโครงสร้าง อาคารคือ (1) วัสดุมุงมี 2 ชนิด (2) ผนังมี 5 ชนิด (3) พื้นมี 3 ชนิด และ (4) ฐานรากมี 3 ชนิด รวมทั้งสิ้น 13 ชนิด มีทางเลือกในการซ่อมแซมในแต่ละรูปแบบอาคาร คือ (1) ซ่อมแซมครั้งเดียวพร้อมกันทุกส่วนมีทางเลือก 90 ทางเลือก (2) การแยกซ่อมแซมแต่ละส่วนของโครงสร้างมีทางเลือก 13 ทางเลือก และพบว่า ทางเลือกในการซ่อมแซมที่ผู้อยู่อาศัยส่วนมากมีความสามารถในการจ่ายได้ คือ การซ่อมแซมแบบแยกซ่อมแต่ละส่วนของโครงสร้าง และในการซ่อมแซมเสา วัสดุที่ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่สามารถจ่ายได้มากที่สุด คือ เสาคอนกรีต แต่ที่จริงแล้ว ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ต้องการใช้ไม้มาทำการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมากกว่า แต่เนื่องจากไม้มีราคาสูงทำให้ชาวบ้านไม่มีความสามารถในการจ่ายได้ อีกทั้งไม้ยังมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการก่อสร้างในพื้นที่ เนื่องจาก มีน้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่นตัว และเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นใหม่ได้ และไม้เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้องค์ความรู้ในการก่อสร้างบ้านเรือนด้วยช่างพื้นถิ่นให้สามารถคงอยู่ต่อไป ข้อเสนอแนะในการวิจัย หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ท้องถิ่น การเคหะแห่งชาติ ควรพิจารณาการช่วยเหลือผู้อยู่อาศัยที่มีความจำเป็นและมีรายได้น้อย ในการซ่อมแซมบ้านโดย 1. แนะนำวิธีการซ่อมแซมที่ถูกต้อง 2. สนับสนุนทางการเงินเท่าที่จำเป็น เช่น การให้กู้ยืมเพื่อซ่อมแซมที่อยู่อาศัย โดยควรใช้วัสดุและช่างท้องถิ่น เนื่องจากมีราคาถูกที่สุด ในระยะยาว 1. ควรมีการศึกษาความเป็นไปได้ในการนำไม้มาใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน 2. ศึกษาหาวัสดุทดแทน เช่น การนำไม้จากต้นมะพร้าวที่ชาวบ้านปลูกในพื้นที่เป็นจำนวนมากมาก่อสร้างหรือซ่อมแซมบ้านเรือนแทนการซื้อไม้ที่มีราคาแพง และที่สำคัญเป็นวัสดุที่หาง่ายและสามารถผลิตได้เองในท้องถิ่น 2.ศึกษา สืบสาน อนุรักษ์ ความรู้จากภูมิปัญญาการก่อสร้างบ้าน โดยการสืบค้นช่างพื้นถิ่นที่มีอยู่ในพื้นที่และนำความรู้ เทคนิควิธีการก่อสร้างต่าง ๆ มาบันทึกสำหรับการเรียนรู้และควรมีหลักสูตรการก่อสร้างด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆen
dc.description.abstractalternativeThe main purposes of this research are to study the living conditions and construction materials of houses in the community and to study the residents’ ability to pay for the repairs so that alternatives for house repair can be proposed to suit the residents’ budget. This research is based on documents, photographs, a survey and observations, housing designs and construction materials, interviews with residents, sellers of construction materials and local house builders. Nine houses were taken as case studies and can be divided into five types: row-houses on the river bank, central Thai traditional houses, applied-style houses, localized houses and modern houses. Five of them are located on the river bank and four of them are located in an orchard. The analysis of alternatives for repair was carried out by using statistics, estimates and calculations in line with the residents’ affordability. It was found that most houses are built on a wooden structure and houses which require the most repairs were the houses on the river bank., followed by localized houses and central Thai traditional houses. There are four areas of repair: roofing, walls, floors and posts. The most serious problem is that the soil condition, from the surface to the depth of 13.00 meters near the river bank, is black clay that cannot support the house posts which carry the weight of the house. This causes the posts to sink, which is a problem the residents cannot deal with by themselves. As a result, local house builders play an important role in this repair. Their repairing methods are 1. Wrapping the sinking post with a zinc sheet and pouring concrete into the space between the post and the sheet, 2. Adding a concrete post to the sinking post and 3. Replacing the sinking post with a concrete post. As for the affordability, the residents, who have a variety of jobs, earn a low income. Most of them have more expenses than income. As a result, they have very little left monthly and can barely afford the repair. They choose cheap and easy-to-find materials to repair their houses. There are 13 alternative materials for repair: 2 for roofing, 5 for walls, 3 for floors and 3 for foundations. There are 2 ways to repair houses: 1) repair everything at the same time and 2) repair one section at a time. As for the first way, there are 90 options to choose from, while there are 13 options to choose from for the second way. Most residents prefer to repair one part at one time and prefer to use a concrete post to deal with the sinking post issue. In general, they would prefer to have an all-wood house, but the price of wood is high. They cannot afford it. Wood is the best choice because it is light, flexible and renewable, in addition to keeping the construction knowledge of local house builders alive. In terms of suggestions, related agencies such as local organizations and the Housing Authority of Thailand should help them to repair their houses by 1) give the appropriate advice on how to repair them, 2) providing necessary financial assistance such as loans for house repair on the condition that the materials and carpenters are available in the area to reduce the repair cost. As for a long-term plan, 1) there should be a feasibility study about using wood to build houses and about alternatives to the usual materials such as using wood from coconut tree which are largely grown in the area to replace wood from other trees which is more expensive and difficult to obtain. 2) Construction knowledge from local house builders should be researched and reported so that anyone can study it. There should also be a curriculum about building houses based on this indigenous knowledge taught in many educational institutions.en
dc.format.extent16337863 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.2092-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectชุมชน -- ไทย -- สมุทรสงครามen
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ไทย -- สมุทรสงครามen
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การซ่อมแซมen
dc.subjectชุมชนบางน้อยนอก (สมุทรสงคราม)en
dc.titleทางเลือกในการซ่อมแซมที่อยู่อาศัยในชุมชนบางน้อยนอก อ. บางคนที จ.สมุทรสงครามen
dc.title.alternativeAlternatives of house repairing choices in the Bangnoi-Nok community, Bang Khon Tee district, Samutsongkram provinceen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineเคหการes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorChawalit.N@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.2092-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
sompong_jh.pdf15.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.