Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21341
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ใจทิพย์ ณ สงขลา | - |
dc.contributor.advisor | ปรัชญนันท์ นิลสุข | - |
dc.contributor.author | สุวัฒน์ นิยมไทย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-08-05T15:04:17Z | - |
dc.date.available | 2012-08-05T15:04:17Z | - |
dc.date.issued | 2553 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21341 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2553 | en |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาผลการใช้และนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพและสภาพที่ต้องการในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพ และความสามารถในการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของครูผู้สอนวิชาชีพ ครูฝึกในสถานประกอบการและนักเรียนวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ 3) การศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนและศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนทักษะการปฏิบัติงานกับทักษะการแก้ปัญหา และ 4) การนำเสนอผลการใช้และรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เว็บไซต์การเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน แบบวัดทักษะการปฏิบัติงาน แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาและแบบวัดความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างไฟฟ้า วิทยาลัยเทคนิคสุโขทัยจำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มควบคุม 25 คน ใช้เวลาในการศึกษา12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบคือ 1) เป้าหมายการเรียน 2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 4) กิจกรรมการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน 5) การเสริมสร้างศักยภาพ 6) การควบคุมการเรียนการสอน 7) การสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ 8) การวัดและประเมินผล 1. ขั้นตอนในการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ประกอบด้วยการ ปฐมนิเทศ จัดกลุ่มทำโครงงาน เลือกสถานประกอบการ และทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน 2) ขั้นการเรียนการสอน ประกอบด้วยการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติจากสื่อออนไลน์ ทดสอบความรู้ทักษะปฏิบัติ ทำโครงงานฝึกทักษะการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหาในสถานประกอบการ สื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ บันทึกการเรียนรู้ และสรุปโครงงาน 3) ขั้นสรุป ประกอบด้วยการนำเสนอโครงงานและประเมินผลสิ้นสุดการเรียน 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถาน ประกอบการ มีทักษะการปฏิบัติงานและทักษะการแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมาอยู่ในระดับมาก และคะแนนทักษะการปฏิบัติงานกับทักษะการแก้ปัญหา มีความสัมพันธ์กันเป็นไปในทางบวก 3. ผลการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการ ผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 6 คนประเมินว่ารูปแบบการเรียนการสอนนี้ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด คือมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.85 และทุกท่านรับรองรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น | en |
dc.description.abstractalternative | The research aimed to develop a blended vocational instruction model using project-based learning in the workplace for developing performance and problem-solving skills of industrial vocational certificate students. The research comprised of 4 steps: 1) to survey the background and need assessment of vocational instruction included the computer literacy of the teachers, trainers and the vocational students; 2) to develop a blended vocational instruction model using project-based learning in the workplace; 3) to study the phenomena of using a blended vocational instruction model by comparing the performance and problem-solving skills of control group and experimental group, the opinion of the students who learned with blended vocational instruction model and the correlation between performance and problem solving skills; and 4) to propose the blended vocational instruction model. Instruments used were website for blended vocational instruction, performance skill evaluation form, problem solving skill evaluation form and satisfied survey form. The samples were 50 certificate industrial students of Sukhothai Technical College, 25 for experimental group and 25 for control group. Data were statistically analyzed by using mean, standard deviation and t-test independent. The research results indicated that: 1. The eight components of blended vocational instruction model were 1) instructional purposes 2) stakeholders 3) instructional media and resources 4) learning activities 5) scaffolding 6) instructional control 7) communication and interaction 8) evaluation 2. Three steps of blended vocational instruction activities were 1) initiative step; orientation, project group formation, select the workplace, and pretest for performance and problem solving skills 2) instruction step; practical contents online learning, assess the knowledge of practical contents, do project work by practicing performance and problem-solving skills in the workplace, communication and sharing knowledge, lesson learned recording and summarize the project 3) synopsis step; project presentation and final (summative) evaluation. 3. The scores of performance skills and problem solving skills of the students who learned through the blended vocational instruction model using project-based learning in the workplace were significantly higher than the scores of the students who learned through the regular way at the level of .05, the students were very satisfied with the blended vocational instruction, and the correlation between the scores of performance skills and problem-solving skills of the students are positively related. 4. The average of specialists’ opinion to the blended vocational instruction model was at the level of “very much” ( X = 4.85) and the blended vocational instruction model was approved by all. | en |
dc.format.extent | 4807358 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1967 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การศึกษาทางอาชีพ | en |
dc.subject | การศึกษาทางวิชาชีพ | en |
dc.subject | ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน | en |
dc.subject | ปริญญาดุษฎีบัณฑิต | en |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิชาชีพแบบผสมผสาน โดยใช้โครงงานเป็นฐานในสถานประกอบการเพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานและการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพช่างอุตสาหกรรม | en |
dc.title.alternative | Development of a blended vocational instruction model using project-based learning in the workplace to develop performance and problem - solving skills for industrial vocational certificate students | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | es |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Jaitip.N@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2010.1967 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
suwat_ni.pdf | 4.69 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.