Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21360
Title: การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้
Other Titles: Development of a community empowerment model to promote the sustainability of learning communities
Authors: มิ่งขวัญ คงเจริญ
Advisors: อาชัญญา รัตนอุบล
ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Archanya.R@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การพัฒนาชุมชน
อำนาจชุมชน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Issue Date: 2553
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาชุมชนต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาและมีกระบวนการเรียนรู้เป็นกลไกหลักในการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์องค์ประกอบและรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ จากชุมชนต้นแบบ 39 ชุมชน และนำเสนอรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ของชุมชนเมืองและชุมชนชนบท จากการวิจัยภาคสนามในพื้นที่ ที่เป็นตัวแทนชุมชนเมือง ได้แก่ ชุมชนบ้านสันมะฮกฟ้า จ.เชียงใหม่ และ ชุมชนโต้งตาบาง จ.เพชรบุรี ส่วนพื้นที่ ที่เป็นตัวแทนชุมชนชนบท ได้แก่ ชุมชนบ้านคำปลาหลาย จ.ขอนแก่น และ ชุมชนบ้านน้ำทรัพย์ จ.เพชรบุรี โดยตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ และทำการวิเคราะห์ปัจจัย เงื่อนไข ปัญหาของการใช้รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนชุมชนแห่งการเรียนรู้ จากการนำไปประยุกต์ใช้กับชุมชนเมือง/ชนบทของประเทศไทยจากการสนทนากลุ่ม เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เจาะลึก แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา การวัดความถี่ของคำหรือข้อความ และการใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ จำนวนและร้อยละ การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่นำเสนอได้รับการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบการเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ มี 9 องค์ประกอบ คือ การมีส่วนร่วมในกิจกรรม ของชุมชน การนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาสู่การปฏิบัติในชุมชน ระบบคุณธรรมจริยธรรมในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และกระบวนการถ่ายทอดเรียนรู้ของชุมชน การพัฒนาระบบเศรษฐกิจเพื่อการพึ่งตนเอง ระบบการเรียนรู้โดยมีภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแกนกลาง การพัฒนาอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อวิถีชีวิต ระบบทุนของชุมชนที่มีรูปแบบและวิธีการทางวัฒนธรรม ความเสมอภาคความยุติธรรมในการจัดการของชุมชน และ การสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดำรงชีวิตร่วมกัน 2. การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยการ เสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับบุคคล คือ การแสดงออกระดับบุคคล มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ องค์ประกอบภายในบุคคล องค์ประกอบด้านปฏิสัมพันธ์ องค์ประกอบด้านพฤติกรรม และ การเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนในระดับชุมชน โดยมีองค์ประกอบโครงสร้างทางสังคมเป็นสำคัญ 3. รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจของชุมชนเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ ของสังคมไทย มี 2 รูปแบบได้แก่ รูปแบบของชุมชนเมือง และรูปแบบของชุมชนชนบท ซึ่งมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน แต่มีความแตกต่างกันใน บางประเด็น 4. รูปแบบการเสริมสร้างความยั่งยืนของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ประกอบด้วยการ กำหนดเป้าหมายและวางแผน การวิเคราะห์ความต้องการของชุมชน การทำประชาคมเพื่อหาสาเหตุของปัญหา การจัดเวทีชาวบ้านให้ความรู้ความเข้าใจ การบันทึกการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของชุมชน ในการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ คณะกรรมการ คณะบุคคล หรือ แกนนำ ในการสร้างชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืน มีการติดตามผลการดำเนินงาน และมีการสร้างความสัมพันธ์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสมาชิก หรือกลุ่มชุมชนอื่นๆ
Other Abstract: The study proposes the development a community empowerment model to promote the sustainability of learning communities. Several learning community best practices in Thailand were selected to further investigate the developmental process of the community empowerment and the learning process for sustainability. The purposes were to analyze and synthesize the key elements and models for empowering communities toward promoting the sustainability of learning communities from thirty-nine best practices; and to present a community empowerment model that promote sustainable learning communities in both urban and rural learning communities. The selected urban community best practices were Ban San Ma Hock Fa, Chiang Mai province and Ban Kong Tar Bang, Phetchaburi province; and the selected rural community best practices were Ban Kham Phar Lai, Khon Kaen province and Ban Num Shup, Phetchaburi province. The developed models were analyzes and monitored by the community specialists and the experts in the field. The factors, conditions, and problems in implementing community empowerment model obtained from the study were discussed and analyzed with the focus group. Research instruments consisted of a data analysis form, the in-depth interview guidelines, the questionnaires, and the focus group discussion guidelines. The data were analyzed using empirical content analysis, frequency of words or phrases measurement, and the descriptive statistics. The results were as follow: 1.Nine key elements to enhance the sustainability of learning communities include the community activities involvement; the implementation of Sufficiency Economy concept; the application of morality systems in community activities and the community learning transfer processes; the development of community economy for self-reliance; the local wisdom learning-based system; the development and restoration of ecosystems, natural resources, and environment; the community traditional and cultural capital system; and the equal justice in community management toward promoting security and the wellness of all people. 2.Two majors community empowerment toward promoting sustainability of learning communities consisted of community empowerment at the individual level: the personal expression components (e.g., characteristic, interaction, and action/behavior); and the community empowerment at the community level. However, the result showed that community social structure is the most essential component. 3. There are two types of a community empowerment model that promote the sustainability of learning communities: the model for urban communities and the model for rural communities. Although both urban and rural communities required similar components, there are the differences in some aspects. 4. The models for enhancing sustainability in the urban and rural learning communities comprise of setting goals and plans; analyzing the true community’s needs; conducting local meeting among community members; conducting community stage of sharing knowledge and discussion; writing or recording the community changes and developmental processes; forming a working group to develop the learning communities; setting the evaluation and monitoring process; and developing the knowledge sharing relationship among community members and other communities.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: การศึกษานอกระบบโรงเรียน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21360
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2010.1971
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2010.1971
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
mingkwan_ko.pdf5.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.