Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21375
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์-
dc.contributor.authorนพวรรณ เทียมสิงห์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-11T05:55:11Z-
dc.date.available2012-08-11T05:55:11Z-
dc.date.issued2550-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21375-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ พยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ 25 แห่ง จำนวน 346 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามระดับความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลประจำการห้องคลอด เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 134 ข้อ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ทดสอบความเที่ยง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ .99 และทดสอบความตรงตามโครงสร้างโดยการวิเคราะห์ตัวประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอล ด้วยวิธีแวริแมกซ์ นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 109 ข้อ ทดลองใช้แบบประเมินกับพยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ จำนวน 56 คน โดยการประเมินตนเองกับประเมินโดยผู้ร่วมงาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์ครั้งนี้ ประกอบด้วย 11 ตัวประกอบ บรรยายด้วย 109 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 69.90 ประกอบด้วยตัวประกอบสมรรถนะ ดังนี้ 1) ด้านการพยาบาลในระยะคลอด 35 ข้อรายการ 2) ด้านการสื่อสาร 11 ข้อรายการ 3) ด้านวิชาการ 14 ข้อรายการ 4) ด้านการพยาบาลผู้คลอดและทารกแรกเกิดที่มีภาวะผิดปกติ 13 ข้อรายการ 5) ด้านการประเมินสภาพความพร้อมของผู้คลอด 9 ข้อรายการ 6) ด้านกฎหมายและจริยธรรม 7 ข้อรายการ 7) ด้านบริหารจัดการ 6 ข้อรายการ 8) ด้านการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะผิดปกติขณะคลอด 4 ข้อรายการ 9) สมรรถนะด้านเทคโนโลยี 3 ข้อรายการ 10) สมรรถนะด้านการพิทักษ์สิทธิ 3 ข้อรายการ และ11) สมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากร 4 ข้อรายการ 2. ค่าความเที่ยงของแบบประเมินตนเองและแบบประเมินโดยผู้ร่วมงานเท่ากับ .98 ทั้ง 2 ฉบับ และความสอดคล้องของแบบประเมินพบว่า ระหว่างการประเมินตนเองและประเมินโดยผู้ร่วมงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r = .56) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าคะแนนเฉลี่ยระหว่างการประเมินตนเองและประเมินโดยผู้ร่วมงาน พบว่าไม่แตกต่างกันen
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to develop and to test the competency scale of staff nurse in delivery room, Regional Hospital and Medical Centers. The population consisted of 346 staff nurses in delivery room from 25 Regional Hospital and Medical Centers. The initial instrument was a 5-rating scale questionnaire consisted of 134 items which validated by 5 experts. The reliability of the initial instrument was conducted by Cronbach’s alpha coefficient with the result of .99. Then, the data were analyzed by principal component extraction with an orthogonal rotation and varimax method. The final competency scale was a 5-rating scale questionnaire consisted of 109 items and was validated by 56 sample of staff nurses in delivery room, Regional Hospital and Medical Centers with the method of self and peer rating. Research findings were as follows: 1. The final competency scale consisted of 11 competencies which explained 69.90 percentage of total variance. The 11 competencies were; 1) nursing care for labour stage had 35 items, 2) communication had 11 items, 3) academic had 14 items, 4) nursing care for the abnormal maternity and new born had 13 items, 5) assessment maternity for labour had 9 items, 6) legal and ethics had 7 items, 7) management had 6 items, 8) nursing care for abnormal in second stage of labour had 4 items, 9) technology had 3 items, 10) advocacy had 3 items, and 11) resource management had 4 items. 2. Both Cronbach’s alpha coefficient of self and of peer rating was .98. The finding between the assessment by self and peer was positive related at moderate level (r = .56) with the statistical significantly at .01 level. and no differences between score of self and of peer rating.en
dc.format.extent2008004 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2007.444-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการประเมินผลงานen
dc.subjectสมรรถนะ -- พยาบาลen
dc.subjectแบบประเมินคุณภาพen
dc.subjectพยาบาล -- การประเมินen
dc.titleการพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะของพยาบาลประจำการห้องคลอด โรงพยาบาลศูนย์en
dc.title.alternativeThe development of competency evaluation scale of staff nurse in delivery room, regional hospital and medical centersen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบริหารการพยาบาลes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorPuangtip.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2007.444-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopphawan.pdf1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.