Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21378
Title: | การศึกษาความเป็นไปได้การใช้งานเครื่องสังยุคเฟสแสงในโครงข่ายดับเบิลยูดีเอ็มแบบวงแหวน |
Other Titles: | Feasibility study on the employment of optical phase conjugator in WDM ring networks |
Authors: | ณัฏฐา ชื่นประเสริฐสุข |
Advisors: | พสุ แก้วปลั่ง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pasu.K@Chula.ac.th |
Subjects: | เส้นใยนำแสง การมัลติเพล็กซ์แบบแบ่งความยาวคลื่น การสื่อสารด้วยแสง |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการวางเครื่องสังยุคเฟสแสงในโครงข่ายดีดับเบิลยูดีเอ็มแบบวงแหวนเพื่อชดเชยผลของดิสเพอร์ชั่นในโครงข่าย วิธีที่นำเสนอนั้น สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการวางทั้งเครื่องสังยุคเฟสแสงชนิดไม่เลื่อนความยาวคลื่น (wavelength-shift-free) และเลื่อนความยาวคลื่น (wavelength-shift) และทั้งบนโครงข่ายปกติและโครงข่ายที่มีข่ายเชื่อมโยงเสียหาย ซึ่งมีกลไกการกู้คืนสัญญาณแบบการเปลี่ยนความยาวคลื่น (path protection) และการทอดข้าม (span protection) วิธีการวางเครื่องสังยุคเฟสแสงนั้น ทำได้โดยการวิเคราะห์ทราฟฟิกของข้อมูลทั้งหมดและวิเคราะห์ช่วงในการวางเครื่องสังยุคเฟสแสงในแต่ละทราฟฟิกและกำหนดตำแหน่งในการวางเครื่องสังยุคเฟสแสง เพื่อให้ได้ตำแหน่งการวางเครื่องสังยุคเฟสแสงที่เหมาะสมที่สุด จากการทดลองวางเครื่องสังยุคเฟสแสงทั้ง 2 ชนิด โดยใช้วิธีการที่นำเสนอ ลงบนโครงข่ายตัวอย่างที่มีทั้งหมด 6 สถานี ซึ่งมีความยาวรวม 637 กิโลเมตร ทั้งบนโครงข่ายบกติและมีข่ายเชื่อมโยงเสียหายพบว่าจำเป็นต้องใช้เครื่องสังยุคเฟสแสง 12 ตัว บนเส้นใยแสงทำงาน (working fiber) และ 12 ตัว บนเส้นใยแสงป้องกัน เมื่อทำการวิเคราะห์ optical signal to noise ratio (OSNR) ในโครงข่ายดับเบิลยูดีเอ็มแบบวงแหวนโดยใช้เครื่องสังยุคเฟสแสงชนิดเลื่อนความยาวคลื่นขณะโครงข่ายทำงานปกติ ผลจากการวิเคราะห์ได้ว่า เมื่อทำการเครื่องสังยุคเฟสแสง 1 ตัว 2 ตัว และ 3 ตัว ค่า OSNR จะลดลง 1.8245 dB 1.8405 dB และ 1.8940 dB ตามลำดับ เมื่อเทียบกับกรณีซึ่งไม่มีเครื่องสังยุคเฟสแสง |
Other Abstract: | This thesis proposes a method for placing the optical phase conjugators (OPCs) in DWDM ring network in order to compensate for the accumulated fiber dispersion in the network. Our method can be applied for the placement of both wavelength-shift-free OPC and wavelength-shift OPC, in both normally operated network and network where a link failure is protected by the path protection algorithm and the span protection algorithms. Our method is implemented by analyzing all possible traffics in the network, then, finding placement ranges of OPCs, and finally determining the most suitable positions of OPCs. By demonstrating our proposed method using both types of OPCs on a sample network which consists of 6 nodes with total length of 637 km. We found that 12 OPCs are necessary for installing in the working fiber, while 12 OPCs are required for the protection fiber. When we analyze optical-signal-to-noise ratio (OSNR) in the sample network that employs the wavelength-shift OPC, the OSNR is found to drop 1.8245 dB, 1.8405 dB, and 1.8940 dB, where 1 OPC, 2 OPCs, and 3 OPCs, respectively, are employed on a link comparing to the OSNR without OPC |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21378 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.864 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.864 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nuttha.pdf | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.