Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21385
Title: | ลายพิมพ์ดีเอ็นเอและการประเมินทางเคมีของมะขามบางสายพันธุ์ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายที่ดี |
Other Titles: | DNA fingerprint and chemical assessment of selected tamarind cultivars with high laxative activity |
Authors: | ปฏิภาณี ขันธโภค |
Advisors: | ปาริชาต ภู่สว่าง สุนันท์ พงษ์สามารถ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Parichart.B@Chula.ac.th Sunanta.Po@Chula.ac.th |
Subjects: | มะขาม ยาระบาย |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | มะขาม (Tamarindus indica L.) เป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์กว้างทางยา โดยเฉพาะการใช้เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูกมาตั้งแต่สมัยโบราณต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยมีมะขามที่นิยมปลูกหลายพันธุ์ปลูก ซึ่งทุกพันธุ์ปลูกมีชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกัน คือ T. indica ในการศึกษาครั้งนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์มะขามต่างพันธุ์ปลูกที่มีฤทธิ์ ยาระบายที่เพาะปลูกในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอร่วมกับองค์ประกอบเคมีในเนื้อมะขาม เทคนิคการศึกษาเครื่องหมายระดับโมเลกุลโดยการวิเคราะห์ลำดับเบสบนยีน rbcL ในคลอโรพลาสต์และดีเอ็นเอส่วน ITS ในนิวเคลียส และโดยการวิเคราะห์โดยเทคนิค RAPD-PCR จากตัวอย่างมะขามที่มีฤทธิ์ยาระบายชนิดหวาน ‘ศรีชมภู’ และ ‘ขันตี’ และชนิดเปรี้ยว ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ ที่เพาะปลูกที่จังหวัดเพชรบูรณ์ จากการทดลองพบว่า มะขามทั้งชนิดหวานและชนิดเปรี้ยวมีคุณค่าทางโภขนาการทุกพันธุ์ปลูก มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลรีดิวซ์สูง มีโปรตีนและไขมันต่ำ และมีความเป็นกรด วิเคราะห์ชนิดและปริมาณขององค์ประกอบเคมีในเนื้อมะขามด้วยเทคนิค HPLC จากการทดลองพบว่า เทคนิค HPLC สามารถนำไปใช้วิเคราะห์กรดอินทรีย์ในเนื้อมะขามได้มีความถูกต้องสมบูรณ์ กรดอินทรีย์ที่พบในตัวอย่าง ได้แก่ กรดทาร์ทาริก มาลิก ซิตริก และออกซาลิก กรดทาร์ทาริกพบปริมาณสูงมากใน ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ ขณะที่ ‘ศรีชมภู’ มีปริมาณกรดทาร์ทาริกต่ำ ปริมาณกรดทาร์ทาริกที่พบในมะขามแต่ละพันธุ์ปลูกมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดย ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ มีปริมาณกรดทาร์ทาริก 18.102+-0.134 กรัม/100 กรัม ขณะที่ ‘ขันตี’ และ ‘ศรีชมภู’ มีปริมาณเท่ากับ 2.134+-0.117 และ 1.628+-0.117 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ แต่มีกรดมาลิกและซิตริกสูงกว่า ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ วิเคราะห์ลำดับเบสดีเอ็นเอของยีน rbcL ในมะขามชนิดหวานพบว่า มีความยาวเท่ากับ 1,428 bp ส่วนมะขามชนิดเปรี้ยววิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์บางส่วนของยีน rbcL ความยาว 1,398 bp เมื่อเปรียบเทียบกับลำดับเบสบางส่วนของยีน rbcL (accession no. Z70160) ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล GenBank พบว่า มีการแทนที่ของเบสทั้งหมด 24 ตำแหน่ง และเมื่อวิเคราะห์การทนที่ของเบสด้วยวิธี UPGMA สามารถแบ่งมะขามออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วย ‘ศรีชมภู’ และ ‘ขันตี’ เป็นมะขามชนิดหวานและกลุ่มที่สอง ได้แก่ ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ คือ มะขามชนิดเปรี้ยว เมื่อเปรียบเทียบลำดับนิวคลีโอไทด์ของดีเอ็นเอส่วน ITS ไม่พบความแตกต่างกัน การศึกษาเพิ่มเติมโดยเทคนิค RAPD สามารถระบุได้ว่ามีการแปรผันทางพันธุกรรมของมะขามต่างพันธุ์ปลูกและให้รูปแบบของแถบดีเอ็นเอของแต่ละพันธุ์ปลูกที่มีลักษณะเฉพาะ ค่าดัชนีความเหมือนระหว่างมะขามแต่ละพันธุ์ปลูกเท่ากับ 0.7284-0.8722 เมื่อวิเคราะห์แถบดีเอ็นเอด้วยวิธี NJ สามารถแบ่งมะขามออกได้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ประกอบด้วย ‘ศรีชมภู’ และ ‘ขันตี’ เป็นมะขามชนิดหวาน และกลุ่มที่สอง ได้แก่ ‘มะขามเปรี้ยวยักษ์’ คือ มะขามชนิดเปรี้ยว ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลของยีน rbcL ผลการทดลองเสนอแนะได้ว่า ข้อมูลลำดับนิวคลีโอไทด์ของยีน rbcL และเทคนิค RAPD สามารถใช้เป็นเครื่องหมายทางโมเลกุลร่วมกับองค์ประกอบเคมีของกรดอินทรีย์ทาร์ทาริกในเนื้อมะขามในการพิสูจน์เอกลักษณ์ของมะขามต่างพันธุ์ปลูกได้ |
Other Abstract: | Tamarind (Tamarindus indica L.) is a versatile fruit widely used in medicinal purposes, especially, in constipation as a mild laxative in traditional medicine. There are different cultivars of tamarind cultivate in Thailand with the same scientific name, T. indica. This study aimed to characterize and identify Thai tamarind cultivars with laxative effect by using DNA fingerprint analysis in combination with chemical assessment in tamarind pulps. Molecular markers were studied by sequencing the rbcL gene in chloroplast genome, the ITS regions in nuclear genome and also RAPD-PCR analysis in tamarind with laxative activity from sweet tamarind 'Srichomphu' and 'Khanti' and sour tamarind 'Priao-yak' from Phetchabun province. The results showed that both of sweet and sour tamarinds are nutritious fruit. Each cultivar possessed high carbohydrate and reducing sugar, low protein and fat and high organic acids. Organic acids contents in tamarind pulps were first qualitatively and quantitatively determined by using HPLC. The HPLC method showed the validity for organic acids analysis in tamarind pulps. The major organic acids content in tamarind pulp extracts were tartaric, malic, citric, and oxalic acid. Very high content of tartaric acid was found in 'Priao-yak, whereas, 'Srichomphu' contained low content of tartaric acid. Tartaric acid contents in tamarind pulps between different tamarind cultivars were significantly different (p<0.05). Tartaric acid content in 'Priao-yak' was 18.102+-0.134 g/100 g, whereas, 'Khanti' and 'Srichomphu' was 2.134+-0.117 and 1.628+-0.117 g/100 g, respectively. However, malic and citric acid contents in sweet tamarinds were not different (p>0.05), but higher than that of 'Priao-yak' (p<0.05). The rbcL gene sequences of sweet tamarinds were 1,428 bp in length, whereas, parts of rbcL gene of sour tamarind of 1,398 bp were sequenced. In comparison with the previous report in GenBank (accession no. Z70169), 24 sites of nucleotide substitutions were found. The dendrogram was generated based on UPGMA method. The result indicated that tamarind cultivars from Phetchabun province were divided into two groups, first group including 'Srichomphu' and 'Khanti' was sweet type and second group was 'Priao-yak' of sour type. Nucleotide substitutions were not found in the ITS regions. The RAPD study indicated that Thai tamarind cultivars exhibited genetic variation. The RAPD profiles showed the specific patterns of different tamarind cultivars and similarity index values were from 0.7284-0.8722. The dendrogram was constructs by NJ method. Tamarind cultivars were also divided into two groups, first group including 'Srichomphu' and 'Khanti' of sweet type and second group was 'Priao-yak' of sour type. The results were corresponding with the result obtained by the rbcL gene studied. The results suggested that the rbcL gene sequence and the polymorphic band profiles of RAPD could be used as molecular markers together with tartaric acid content in tamarind pulps for identification and characterization of tamarind cultivars. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21385 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.351 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2007.351 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patipanee_kh.pdf | 3.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.