Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21442
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชุมพร ยงกิตติกุล-
dc.contributor.authorมาลี นันทสาร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-15T17:51:37Z-
dc.date.available2012-08-15T17:51:37Z-
dc.date.issued2517-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21442-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิธีการเฉลยข้อสอบ (มี 2 วิธีคือ การเฉลยข้อสอบที่มีทั้งข้อถูกและข้อผิด กับเฉลยเฉพาะข้อถูก) และเวลาการเฉลยข้อสอบ (เฉลยข้อสอบทันทีกับเฉลย 1 วัน หลังจากการทดสอบเสร็จ) ว่ามีผลต่อความจำอย่างไร โดยมีสมมตฐาน 2 ประการคือ 1) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเฉลยข้อสอบหลังจากการทดสอบเสร็จแล้ว 1 วัน จะจำข้อสอบได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเฉลยข้อสอบทันที 2) กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการเฉลยข้อสอบที่มีทั้งข้อถูกและข้อผิดจะจำข้อสอบได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการเฉลยข้อสอบเฉพาะข้อถูก กลุ่มตัวอย่างประชากรด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่จำนวน 150 คน ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน โดยควบคุมให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มมีระดับสติปัญญา และสัมฤทธิ์ผลทางการเรียนเท่ากัน กลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มอ่านบทความเรื่อง กาลอากาศเป็นเวลา 1 ชั่วโมง แล้วทดสอบความจำเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน หลังจากทดสอบแล้วแต่ละกลุ่มได้รับการเฉลยตามวิธีการดังนี้คือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุมไม่ได้รับการเฉลยข้อสอบ กลุ่มที่ 2 ได้รับการเฉลยข้อสอบที่มีทั้งข้อถูกและข้อผิดทันทีกลุ่มที่ 3 ได้รับการเฉลยข้อสอบเฉพาะข้อถูกทันที กลุ่มที่ 4 ได้รับการเฉลยข้อสอบทั้งข้อถูกและข้อผิดช้า 1 วัน กลุ่มที่ 5 ได้รับเฉลยข้อสอบเฉพาะข้อถูกช้า 1 วัน อีก 7 วัน หลังจากการทดสอบครั้งแรก กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการทดสอบซ้ำในเรื่องเดิม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนชั้นเดียวและสองชั้น เปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ตามวิธีของดันคั่น และทดสอบค่าที ผลการทดลองปรากฏว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่ไม่ได้รับการเฉลยข้อสอบได้คะแนนการสอบครั้งหลังต่ำกว่า กลุ่มที่ได้รับการเฉลยข้อสอบ (2) คะแนนการทดสอบครั้งแรกและครั้งหลังของกลุ่มทดลอง มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) การเฉลยข้อสอบทันทีและการเฉลยข้อสอบช้า 1 วัน หรือการเฉลยที่มีทั้งข้อถูกและข้อผิด และเฉลยเฉพาะข้อถูกไม่ทำให้คะแนนการทดสอบครั้งหลังแตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study was to investigate effects of immediate and delayed feedback and methods of giving feedback on retention. Two methods of giving the informative feedback were used : one involved feedback of both correct and incorrect alternatives, the other involved correct alternative only. The hypotheses tes-feed were : 1) Subjects receiving delayed feedback would perform better on retention than those receiving immediate feedback. 2) Subjects receiving both correct and incorrect alternatives would perform better on retention than those receiving correct alternative only. The subjects in this study included one hundred and fifty girls in Matayom Suksa II of Nareerat School, Phare, Province. They were devided into five groups of equal average intelligence and academic achievement. Each group read the article about "Weather" for an hour and was immediately tested on the content. They received informative feedback, after the test as follows: The first group (control group) did not receive informative feedback; the second group received immediate feedback with both correct and incorrect alternatives; the third group received immediate feedback with correct alternative only; the fourth group received delayed (1 day) feedback with both correct and incorrect alternatives; the fifth group received delayed (า day) feedback with correct alternative only.-
dc.format.extent464225 bytes-
dc.format.extent1199599 bytes-
dc.format.extent438238 bytes-
dc.format.extent460019 bytes-
dc.format.extent490392 bytes-
dc.format.extent377072 bytes-
dc.format.extent1027320 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectข้อสอบ-
dc.subjectเทคนิคช่วยการจำ-
dc.subjectความจำ-
dc.subjectMemory-
dc.subjectMnemonics-
dc.titleผลของการเฉลยข้อสอบที่มีต่อความจำen
dc.title.alternativeEffects of informative feedback on retentionen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
malee_na_front.pdf453.34 kBAdobe PDFView/Open
malee_na_ch1.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
malee_na_ch2.pdf427.97 kBAdobe PDFView/Open
malee_na_ch3.pdf449.24 kBAdobe PDFView/Open
malee_na_ch4.pdf478.9 kBAdobe PDFView/Open
malee_na_ch5.pdf368.23 kBAdobe PDFView/Open
malee_na_back.pdf1 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.