Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21462
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorนิตยา อินทรักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-16T14:17:00Z-
dc.date.available2012-08-16T14:17:00Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21462-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแลต่อความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลสูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจำนวน 40 ราย ที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงและหอผู้ป่วยอายุรกรรมชาย โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งออกเป็นกลุ่มควบคุม 20 ราย และกลุ่มทดลอง 20 ราย โดยคำนึงถึงความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ การศึกษา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแล ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง และแบบประเมินความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง 2) เครื่องมือดำเนินการทดลอง คือโปรแกรมการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแล โดยใช้พื้นฐานการเรียนรู้โดยการสังเกตจากตัวแบบจากทฤษฎีปัญญาทางสังคมของ Bandura (1986) ประกอบด้วยสื่อวีดิทัศน์เรื่องการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดและคู่มือการดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองสำหรับผู้ดูแลและญาติ 3) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแล ผู้วิจัยได้ทดสอบความเที่ยงของแบบประเมินความวิตกกังวลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติความแปรปรวนทางเดียวกรณีการวัดซ้ำ (Repeated Measures One - way ANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแล มีความวิตกกังวลต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแล มีความวิตกกังวลต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05en
dc.description.abstractalternativeThe quasi-experimental research aimed to examine the effect of caregiver training using video model on caregiver’anxiety from careing for older person with stroke. The samples were 40 caregivers of elderly stroke patient admitted to the medical department, Suratthani Hospital. The two groups, 20 persons for experiment group and 20 persons for control group were matched pair with sex age and education. The experimental group received caregiver training using video symbolic model program, while the control group received a conventional nursing care. Data were collected using the Anxiety Scale and demographic data questionnaire. The experimental instrument was a caregiver training using video symbolic model programme base on Social Cognitive Theory of Bandura (1986). The controlled-experimental instrument was caregiver’s ability assessment. The reliability of Anxiety Scale was tested and the Chronbach’s alpha coefficient was .89. Data were analyzed using descriptive statistic and the hypotheses were tested using the Repeated Measures One – way ANOVA Results were as follows: 1. Caregivers of elderly stroke patients who received caregiver training using video symbolic model program had significantly decreased in anxiety at level of .05 2. Caregivers of elderly stroke patients who received caregiver training using video symbolic model program had significantly decreased in anxiety than those in the control group at the level of .05en
dc.format.extent1947023 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.949-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectหลอดเลือดสมอง -- โรค -- ผู้ป่วยen
dc.subjectผู้ดูแลen
dc.subjectผู้ป่วย -- การดูแลen
dc.titleผลของการฝึกทักษะการดูแลโดยใช้ตัวแบบวีดิทัศน์สำหรับผู้ดูแลต่อความวิตกกังกวลของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองen
dc.title.alternativeThe effect of a video modeling training on older person with stroke caregivers' anxietyen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้สูงอายุes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorSiriphun.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.949-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nittaya_in.pdf1.9 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.