Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21484
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมุรธา วัฒนะชีวะกุล-
dc.contributor.advisorสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์-
dc.contributor.authorเพ็ญแข พรหมจินดา-
dc.contributor.otherบัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-17T06:47:58Z-
dc.date.available2012-08-17T06:47:58Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21484-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527en
dc.description.abstractสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลเป็นสิทธิตามธรรมชาติที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของนานาประเทศ อย่างไรก็ตามสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอาจถูกจำกัดโดยกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของสังคม กฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งมีบทจำกัดสิทธิดังกล่าวนั้น คือ กฎหมายศุลกากร อันเป็นบทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากรอันเป็นรายได้หลักของรัฐ โดยที่กฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายมหาชนที่มีวัตถุประสงค์ของกฎหมายเป็นการพิเศษ นอกเหนือไปจากกฎหมายมหาชนทั่วไป ๆ ไป และยังเป็นการแตกต่างไปจากหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายอาญาซึ่งเป็นบทบัญญัติที่เป็นความผิดในตัวเอง แต่กฎหมายศุลกากรเป็นบทบัญญัติที่เป็นความผิดอันเกิดจากข้อห้ามหรือเป็นความผิดทางเทคนิค ดังนั้น บางกรณีหลักกฎหมายศุลกากรอาจแตกต่างไปจากหลักทั่วไปของประมวลกฎหมายอาญา อย่างไรก็ตาม ถ้ากฎหมายศุลกากรมิได้บัญญัติไว้แตกต่างไปจากหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ก็ต้องนำหลักทั่วไปแห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้ด้วยเหตุนี้กฎหมายศุลกากรจึงมีบทบัญญัติโดยกำหนดสภาพบังคับความรับผิดทางอาญาไว้ในกฎหมายศุลกากร สภาพบังคับในกรณีหนึ่งได้แก่ การยึดและริบทรัพย์สิน การยึดทรัพย์สินเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารในการที่จะดำเนินกระบวนการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยกฎหมายศุลกากรได้ให้อำนาจแก่พนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครองและตำรวจในการยึดทรัพย์หรือสิ่งใด ๆ อันจะพึงริบได้ตาม พ . ร . บ. ศุลกากร พ. ศ. 2469 มาตรา 24 และผลของการยึดโดยเฉพาะในคดีที่ไม่ปรากฏตัวผู้ต้องหานั้น จะมีผลทำให้ทรัพย์สินที่ถูกยึดตกเป็นของแผ่นดินตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนดไว้ ผลของการยึดทรัพย์กรณีเช่นนี้จะเป็นการตัดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่แท้จริงของบุคคล โดยที่บุคคลนั้นจะมาเรียกร้องขอคืนหรือคัดค้านแต่อย่างใดหาได้ไม่ ในบางครั้งบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงอาจไม่ได้รับความเป็นธรรมจากผลของกฎหมายเช่นนี้ จึงเป็นข้อขัดแย้งที่ทางฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการมีความเห็นไม่ตรงกันในการใช้อำนาจเช่นว่านี้ โดยที่ฝ่ายตุลาการได้มีคำพิพากษาที่วินิจฉัยไปในทางที่ให้ความเป็นธรรมแก่บุคคลมิต้องให้ถูกจำกัดหรือลิดรอนสิทธิในทรัพย์สิน แต่ทางฝ่ายบริหารไม่เห็นด้วยกับแนวคำพิพากษาของศาลเช่นนี้ โดยเห็นว่ากฎหมายศุลกากรเป็นกฎหมายพิเศษและมีวัตถุประสงค์ในการที่จะป้องกันการลักลอบหลีกเลี่ยงค่าภาษีอากรเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีอากร ดังนั้นสภาพบังคับของกฎหมายจึงควรมีลักษณะเป็นการเด็ดขาด แม้ว่าจะเป็นการทำให้สิทธิของบุคคลโดนจำกัดหรือลิดรอนไปบ้าง แต่เป็นหลักแห่งความจำเป็นของรัฐในการที่จะคุ้มครองสังคมและประโยชน์สาธารณชนภายในรัฐ ด้วยเหตุนี้การที่ฝ่ายบริหารจะดำเนินกระบวนการให้บรรลุถึงผลและวัตถุประสงค์ของกฎหมายก็ควรที่กำหนดนโยบายที่แน่นอนในการบังคับใช้กฎหมาย ประการแรกได้แก่ การแจ้งให้เจ้าของที่แท้จริงทราบถึงการที่ทรัพย์สินได้ถูกยึดไว้ และเหตุแห่งการยึดตามบันทึกของพนักงานศุลกากร พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เพื่อให้โอกาสแก่เจ้าของที่แท้จริงหรือผู้มีสิทธิได้ทำการร้องคัดค้านและขอคืนทรัพย์นั้น ถ้าหากเห็นว่าการยึดไว้นั้นไม่เป็นการถูกต้อง และยังเป็นการป้องกันมิให้การใช้อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานฝ่ายบริหารเป็นไปโดยทุจริต หรือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอีกด้วย ประการที่สอง ควรที่จะตัดสิทธิมิให้บุคคลมาฟ้องร้องอย่างใดในภายหลังอีก โดยถือว่าการที่เขามิได้ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้เป็นการเพิกเฉยละเลยซึ่งสิทธิของตนเองมิใช่เป็นการละเมิดสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล จึงสรุปได้ว่าสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล รัฐพึงควรให้การยอมรับนับถือตามรัฐธรรมนูญและปฏิญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่ก็มิใช่ว่ามากเกินควรจนมิได้คำนึงถึงหลักแห่งความจำเป็นและนโยบายของรัฐ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายในการจัดเก็บภาษีอันเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสาธารณชนส่วนรวม ดังนั้น กฎหมายศุลกากรอันเป็นกฎหมายทางฝ่ายบริหารนั้นจะไปจำกัดหรือ ลิดรอน สิทธิในทรัพย์สินของบุคคลมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความจำเป็นและนโยบายแห่งรัฐเป็นสำคัญ-
dc.description.abstractalternativeRight is property of a person is a natural right and protected by constitutional laws of all countries. However, the right in property of a person can be restricted by laws for the benefits of the society. One of the law which provides such restriction customs law, of which is to levy duties and taxes as are of the fundamental source of revenue of our country. On account the customs law is a public law, having special objectives other than those of general public laws and which stipulates mala in se offense whereas customs law stipulate mala prohibit a, Therefore in certain cases the principles of customs law may differ from general principles of penal law. However, if the customs law is not otherwise provided the general principles of penal law is are prevailed. This, customs law provides for punishments as sanction for criminal liabilities. One of the sanction is the forfeiture and seizure of property. Seizure is a power of the executive used in law enforcement. Customs law empowers customs officers, administrative officers and policemen to seize property or anything that can be seized by virtue of section 24 of Customs Act, B. K. 2469,the seizure, particularly in the case where there is no accused person, will render the seized property belonging to the state in accordance with the prescribed condition and periods. This seizure is, therefore, a deprivation of the right to claim the ownership of the property. Consequently, the real owner seem not to be rendered justice by this law. There is argument against the executive on the use of the power as Dika court judgment are in agreement in rendering justice to the general public so that their right in property is not restricted or deprived as least as possible. The executive does not agree to such court decision because customs law is a special law having objective in preventing and suppressing smuggling and so that the objective of taxation can be fulfilled, Hence, the sanction of law should be absolute even though the right of a person will be restricted or deprived to a certain extent that the necessity of the State is required to protect the society and the public interest within the State. Therefore, in order that the executive can attain the results and objective of the law there should be fixing of definite policies in the enforcement of law, First, inform the real owner the seizure of the property and causes thereof as recorded by customs officers, administrative officers, or policemen so that the real owner or the eligible person can object and request the return of the seized property, if the seizure was made unlawfully, and so that it can prevent fraudulent use of power by administrative officers or unlawful performance of duties. Second, deprive the right of claim of a person, which may be considered that failure to comply with the statutory periods is ignorance of one‘s own right, not a wrongful act against the right in property of a person. In conclusion, the State should recognize the right in property of a person in accordance with the constitution but not to ...-
dc.format.extent562432 bytes-
dc.format.extent435381 bytes-
dc.format.extent1419069 bytes-
dc.format.extent3649725 bytes-
dc.format.extent920610 bytes-
dc.format.extent1210723 bytes-
dc.format.extent705255 bytes-
dc.format.extent1249700 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isozhes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกฎหมายศุลกากร-
dc.subjectทรัพย์สิน-
dc.titleสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลกับอำนาจยึดและริบทรัพย์ตามกฎหมายศุลกากรen
dc.title.alternativePrivate property right and state's power to seize and confiscate according to Thai Customs Lawen
dc.typeThesises
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Penkhae_Pr_front.pdf549.25 kBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch1.pdf425.18 kBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch3.pdf3.56 MBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch4.pdf899.03 kBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch5.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_ch6.pdf688.73 kBAdobe PDFView/Open
Penkhae_Pr_back.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.