Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21495
Title: การศึกษาการดำเนินงานของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสหกรรม
Other Titles: A study on operation of Thai industrial standards institute
Authors: เพ็ญศรี นวกิจถาวรกุล
Advisors: กัญญา สินสกุล
สุทธิมา ชำนาญเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม -- การบริการ
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม -- มาตรฐาน
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานด้านมาตรฐาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ สร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย ก่อให้เกิดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ขจัดปัญหาและอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ จากการศึกษาการดำเนินงานของ สมอ.พบว่ายังมีปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่สำนักงานฯ ประสบอยู่ ดังนี้ คือ 1. ปัญหาด้านการกำหนดมาตรฐาน ได้แก่ ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐาน เนื่องจากความล่าช้าของผลตรวจสอบ การขาดแหล่งรวบรวมข้อมูล เอกสารอ้างอิงและคุณสมบัติเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ ขาดกำลังคนที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาเฉพาะและขาดเครื่องมือตรวจสอบ 2.ปัญหาด้านการรับรองคุณภาพ ได้แก่ ความไม่คล่องตัวในการดำเนินการอนุญาตและ การตรวจสอบควบคุมการใช้เครื่องหมายมาตรฐาน เนื่องจากความล่าช้าของการตรวจสอบตัวอย่างขาดเครื่องมือตรวจสอบ ขาดความร่วมมือที่ดีระหว่างหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องและข้อจำกัดทางกฎหมาย 3.ปัญหาด้านการมาตรฐานระหว่างประเทศ ได้แก่ ความไม่พร้อมของข้อมูลทางวิชาการเนื่องจากขาดกำลังคนในการหาและรวบรวมข้อมูลทั้งด้านเศรษฐกิจและวิชาการ และขาดความร่วมมือในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง 4.ปัญหาด้านการส่งเสริมมาตรฐาน ได้แก่ การนำมาตรฐานไปใช้ยังไม่แพร่หลายเนื่องจากขาดความร่วมมือในการประสานงาน ขาดงบประมาณ และขาดกำลังคน 5.ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการบริหาร ได้แก่ ปัญหาในการวางแผนระยะยาว การจัดองค์การที่อยู่เป็นข้อจำกัดทำให้การดำเนินงานไม่คล่องตัว ผู้บังคับบัญชาบางคนยังขาดศิลปะในการสั่งการ ขาดการประสานงานที่ดี และขาดการประเมินผลการใช้งบประมาณอย่างต่อเนื่อง จากการวิเคราะห์ข้อปัญหาพบว่าส่วนหนึ่งของปัญหาเกิดจากการขาดเครื่องมือตรวจสอบและขาดกำลังคน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานเบื้องต้นที่ตั้งไว้ ปัญหาดังกล่าวข้างต้นควรได้รับการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงสรุปแนวทางในการแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้ 1.ปรับปรุงงานการกำหนดมาตรฐานให้มีความคล่องตัว ตามลักษณะงานซึ่งแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ มาตรฐานเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และสาขาวิศวกรรมศาสตร์ 2.ให้มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหา และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้งานด้านมาตรฐาน ตลอดจนเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ ให้พร้อมก่อนที่จะมีการกำหนดมาตรฐานเรื่องนั้น ๆ 3.ปรับปรุงงานวิจัยและตรวจสอบเพื่อพัฒนามาตรฐานให้มีบทบาทที่สำคัญแบะอำนาจในการปฏิบัติงานมากขึ้น 4.แยกฝ่ายตรวจการให้เป็นอิสระจากกองควบคุมมาตรฐาน และปรับปรุงให้มีกำลังมากขึ้นเพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน 5.ส่งเสริมโรงงานผู้ผลิตให้มีความรับผิดชอบในการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์มากขึ้น 6.เพิ่มโทษผู้กระทำผิดกฎหมาย ทั้งโทษปรับและโทษจำ 7.ปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 8.ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ควรนำหลังวิชาทางด้านการติดต่อสื่อสารมาใช้มากขึ้น 9.จัดให้มีการพัฒนาบุคลากรของสำนักงานให้มีความรู้ ทั้งในด้านบริหารและด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน หากปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ดังกล่าว ได้รับความสนใจที่จะดำเนินการแก้ไขอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ย่อมสามารถทำให้การดำเนินงานของสำนักงานฯ บรรลุเป้าหมายดียิ่งขึ้นทั้งยังเป็นการสนับสนุนและผลักดันให้นโยบายการส่งเสริมการใช้สิ้นค้าไทยและการส่งออกของรัฐบาลบรรลุผลเร็วยิ่งขึ้น
Other Abstract: Thai Industrial Standards Institute (TISI) is the national standard body of Thailand, established under the Ministry of Industry by virtue of the Industrial Product Standards Act B.E. 2511. Its objective is to proceed for standardization after which would result in development and promotion of local industry, building up commercial justice, safety for life and property, and also expecting to reduce various problems in commercial. According to the study on the operations of TISI, it is found that the Institute has been facing a number of problems and barriers which can be listed as follows:- 1.Problem in the area of standard preparation : it is the delay of setting up the standards caused by delay of sample testing, lack of data sources, reference documents, product properties filing, skillful personals in special subjects, and testing equipments. 2.Problems of certification in which identify as the inexpedient of issuing, inspecting, and controlling the use of TISI standards mark due to sample testing delay, lack of testing equipments, lack of good co-operation among related organizations and also some limitations in applying law. 3.Problems relating to international standardization due to inadequate information on appropriate subjects that reflecting from lack of manpower in searching and compiling both economic and technical data, as well as lack of co-operation from external organizations. 4. Problem in the area of promoting standardization is mostly subjected to less implementing of issued standards due to the lack of co-operation, inadequate budget and manpower. 5.Problems of administration process are found particularly in the long term planning, the organization which inhibits the flow of work, the inefficient word delegation of some administrators, the lack of good co-ordination and budget evaluation on a continuous basis. With respect to the problems analysis, it is believed that part of the problems are basically from lack of testing equipments and manpower as expected in the preliminary hypothesis. Therefore, in order to keep the TISI’s objectives in the right track, the above problems must be remedied seriously and consistently. However, some guidelines are concluded as below: 1.Improvement of standardization for more flexibility is a must. It should be characterized by two major groups, i.e., of scientific products and engineering products. 2. Provision for personals in searching and compiling data and other reference materials relating to preparation of standards.3.Improvement of the Research and Inspection for Developing Standards Section to play important roles and be more powerful. 4.Seperation of the Follow-up Sub-Division from the Certification Division to develop more powerful to expedient the work. 5. Stipulating and rendering all producers to be more responsible in controlling product quality. 6.”Heavily penalty” is a must for those who have broken out the rules. 7. Improving the work concerning public relations to be more efficiency. 8. Coordinating organizations, communication technique should be taken in attaining required works. 9. Personnel development programmer on technical and administration areas should be arranged regularly and continuously for increasing work efficiency. To conclude, if the Institute put every effort to solve the mentioned problems intently and continuously, it will not only enable to achieve the institute’s goals but also support and drive government’s policy on using Thai products and the exportation to become more evidence.
Description: วิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: พาณิชยศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พาณิชยศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21495
ISBN: 9745660094
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pensri_Na_front.pdf785.62 kBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_ch1.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_ch2.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_ch3.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_ch4.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_ch5.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Pensri_Na_back.pdf3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.