Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21497
Title: | แนวทางการเปลี่ยนแปลงของตึกแถวในกรุงเทพมหานคร |
Other Titles: | Shophouses : the transition of mixed-use building in Bangkok metropolis |
Authors: | เพ็ญศรี ฉันทวรางค์ |
Advisors: | วีระ สัจกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ตึกแถว การใช้ที่ดิน -- ไทย อาคาร -- ไทย ผังเมือง -- ไทย -- กรุงเทพฯ ที่อยู่อาศัย -- ไทย -- กรุงเทพฯ |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแนวทางการเปลี่ยนแปลงของอาคารตึกแถวในกรุงเทพมหานครโดยวิเคราะห์จากพัฒนาการของอาคารตึกแถวในอดีต ลักษณะทางกายภาพและการใช้พื้นที่ภายในอาคารตึกแถวปัจจุบันสภาพทางเศรษฐกิจ-สังคมของผู้ใช้อาคารรวมทั้งการประเมินทัศนคติของผู้ใช้ต่ออาคารตึกแถวในกรุงเทพมหานคร จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของอาคารตึกแถวในกรุงเทพมหานครแบ่งได้เป็น 4 ยุค ดังนี้คือ ยุคที่ 1 อาคารตึกแถวรุ่นแรก ในสมัยรัชกาลที่ 4-5 (พ.ศ. 2405-2439) ยุคที่ 2 อาคารตึกแถวรุ่นเก่า ในรัชกาลที่ 5-6(พ.ศ. 2439-2468) ยุคที่ 3 อาคารตึกกแถวรุ่นเปลี่ยนแปลง ในสมัยรัชกาลที่ 7-8 (พ.ศ. 2468-2475) ยุคที่ 4 อาคารตึกแถวรุ่นปัจจุบัน อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ.2475-ปัจจุบัน) อาคารตึกแถวในยุคปัจจุบันมีแนวทางการใช้อาคารที่พัฒนารูปแบบแตกต่างไปจากตึกแถวในอดีตทั้งในด้านลักษณะทางกายภาพและรูปแบบของการใช้อาคารกล่าวคือ นอกจากจะใช้อาคารตึกแถวเป็นที่สำหรับประกอบกิจกรรมเพื่อการพาณิชย์และพักอาศัยภายในครัวเรือนเดียวกัน ยังมีการใช้อาคารตึกแถวสำหรับประกอบกิจกรรมแบบผสมหลายประเภทปะปนกันภายในอาคาร การจำแนกพื้นที่ใช้สอยและการครอบครองกรรมสิทธิ์ภายในอาคารตึกแถวซับซ้อนมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมกล่าวคือมีการนำเอาตึกแถวหลาย ๆ หน่วยมารวมกันเพื่อประกอบกิจการขนาดใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารศูนย์การค้า โรงแรม โรงพยาบาล โรงงาน แฟลต และอพาร์ตเมนต์ภายในแต่ละหน่วยของอาคารตึกแถวยังแบ่งเป็นกรรมสิทธิ์ครอบครองพื้นที่ย่อย ๆ หลายรูปแบบทั้งนี้เพื่อที่จะทวีจำนวนผู้ใช้อาคารและเป็นการเพิ่มประสิทธิ์ภาพการใช้อาคารให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม จากผลของการศึกษาสำรวจ ได้แบ่งอาคารตึกแถวออกเป็น 5 ประเภท ตามลักษณะของการใช้งาน คือ 1. อาคารตึกแถวแบบผสมกึ่งพักอาศัย เป็นอาคารตึกแถวที่เน้นการพักอาศัยเป็นหลักได้แก่ ตึกแถวที่ดัดแบลงเป็นหอพัก แฟลต ทำเลที่ตั้งมักอยู่ในย่านชุมชนหนาแน่น ย่านการค้า และใกล้กับย่านสถาบันศึกษาต่าง ๆ 2. อาคารตึกแถวแบบผสมกึ่งการค้า เป็นอาคารผสมระหว่างกิจกรรมทางการค้ากับกิจกรรมประเภทอื่น ๆ เช่น ห้างสรรพสินค้า สหกรณ์ เป็นต้น ทำเลที่ตั้งส่วนใหญ่จะรวมตัวกันอยู่ในย่านธุรกิจ การค้าใจกลางเมือง และย่านชุมชนหนาแน่นบริเวณส่วนต่าง ๆ ของเมือง 3. อาคารตึกแถวแบบผสมกึ่งอุตสาหกรรม เป็นอาคารตึกแถวที่ดัดแปลงมาเป็นโรงงานอุตสาหกรรม เช่น โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้า โรงพิมพ์ และโรงกลึงโลหะ เป็นต้น 4. อาคารตึกแถวแบบผสมกึ่งบริการ เป็นอาคารตึกแถวที่ดัดแปลงมาดำเนินกิจการด้านบริการต่าง ๆ เช่น โรงแรม สถานอาบอบนวด ภัตตาคาร และสโมสร เป็นต้น ส่วนใหญ่ใช้พื้นที่ตึกแถวติดต่อกันหลายคูหาและมีการดัดแปลงอาคาร เพื่อ ให้เหมาะกับการใช้งาน 5. อาคารตึกแถวแบบผสมอื่น ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ได้แก่ ตึกแถวที่ใช้ทำที่เก็บสินค้า สถานีขนส่ง และอาคารจอดรถยนต์ โดยมีกิจกรรมอื่น ๆ เกี่ยวกับการค้า พักอาศัย หรือบริการรวมอยู่ด้วย ในการศึกษาได้จำแนกตึกแถวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามทำเลที่ตั้งของอาคาร ได้แก่ ตึกแถวในเขตพื้นที่ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ของกรุงเทพมหานคร เพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจ-สังคม การใช้อาคารและทัศนคติของผู้ใช้ต่ออาคารตึกแถวในแต่ละเขต ผลจากการศึกษาพบว่า อาคารตึกแถวในเขตพื้นที่ชั้นในมีความหนาแน่นในการใช้พื้นที่ประกอบกิจกรรมมากที่สุด ทั้งนี้เนื่องมาจากข้อจำกัดในด้านที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีราคาสูงมากแต่เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการอยู่ในย่านใจกลางเมือง ซึ่งมีความสะดวกในด้านการเดินทางและมีสิ่งบริการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ครบครัน ดังนั้นจากการประเมินอาคารตึกแถวจึงพบว่าถึงแม้ผู้ใช้อาคารจะมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้อาคารและองค์ประกอบโครงสร้างอาคารตึกแถวแต่ผู้ใช้อาคารยังคงเลือกที่จะอยู่อาศัยในอาคารประเภทนี้ต่อไป จากการศึกษาพบว่า ปัญหาในการใช้อาคารตึกแถวส่วนใหญ่เนื่องมาจากการก่อสร้างอาคารโดยไม่มีการวางแผนไว้ว่าจะใช้เป็นอาคารประเภทใดทำให้มีการดัดแปลงต่อเติมอาคารตึกแถวสำหรับใช้ประโยชน์หลายอย่างอันก่อให้เกิดผลเสียติดตามมาทั้งในด้านโครงสร้าง ความปลอดภัยภายในอาคาร และการขยายตัวของชุมชนเมืองอย่างไม่มีขีดจำกัด สถานการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจากช่องโหว่ของกฎหมายควบคุมอาคารที่ให้ข้อได้เปรียบแก่ตึกแถวมากกว่าอาคารประเภทอื่น อีกทั้งความต้องการของผู้ซื้อ และต้นทุนการการก่อสร้างที่ต่ำ ทำให้ผู้ใช้มีความนิยมนำเอาตึกแถวมาดัดแปลงเพื่อประกอบกิจการต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งภาวะเช่นนี้ยังคงปรากฏอยู่ต่อไปหากว่าไม่มีการดำเนินการแก้ไขอย่างไร แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาตึกแถวในด้านต่าง ๆ ได้แก่การออกข้อกำหนดเพิ่มเติมในกฎหมายควบคุมการก่อสร้าง การควบคุมการใช้อาคาร การกำหนดเขตการใช้ที่ดินรวมทั้งในแง่การออกแบบวางผังอาคารซึ่งจะช่วยให้อาคารตึกแถวมีประสิทธิ์ภาพการใช้งานเพิ่มขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามอาคารตึกแถวมีขีดจำกัดของการใช้งานอยู่ในระยะของสังคมที่กำลังพัฒนาจากยุคของการค้าไปสู่ยุคอุตสาหกรรมในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากที่ราคาที่ดินสูงขึ้น ระบบการจราจร จำนวนประชากร และเทคโนโลยีในด้านอุตสาหกรรมการก่อสร้างของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากนี้มาก คาดว่าคงจะมีอาคารที่มีการใช้งานแบบผสมประเภทอื่น ๆ ก้าวเข้ามาแทนที่ตึกแถว ซึ่งได้แก่ อาคารสูงและอาคารอเนกประสงค์อีกหลายรูปแบบต่อไป |
Other Abstract: | The purpose of this study is to find out the transitional trend of shop houses in Bangkok, by investigation factors which factors which influence their physical environments. From the study the shop houses development has divided into 4 periods as follow : 1.The Early Ratanakosin Period (1862-1896) 2.The Mid Ratanakosin Period (1896-1925) 3.The Transitional Period (1925-1932) 4.The Modern Period (1932-now) The development of shop houses in Bangkok have changed throughout different periods dramatically. Significant change has been found in the function of shop houses. It has been changed from bi-functional into multi-functional usage, or mixed-usage. Accordingly, the spatial division and the ownership patterns have been more complicate. Examples can be found in department store, shopping center, hotel, hospital, factory, flat or apartment. Even in individual shop house unit there has been a sub-division of internal space for rental purpose. In doing so some extra facilities were provided. From the survey the shop houses can be classified into 5 categories as follow: 1. Residential mixed-use shop house is the shop house which “living” is the primary function and “other uses” are the secondary. This type of shop house is mostly found in high density community such as commercial area. Shop houses of this type include; dormitory, flat and apartment. 2.Commercial mixed-use shop house is the shop house is the shop house which commercial is the primary function and other uses are secondary. They are usually located in dense business center. Shop house of this type include; department store, shopping center. 3.Industrial mixed-use shop house is the shop house which is used for factory and installated machine more than 2 H.P. or required more than 7 employee. This type of shop house is applied for industrial productions include printing, auto-consistant and steel work factory. 4. Service mixed-use shop house which is used for service businesses such as hotel, massage, night-club, restaurant, clinic, vocation school and general office. In this case, several shop house units are connected and some parts of the building are remodeled in order to suit their new uses 5.Other mixed-use shop house is the shop house which used in mixed-activities, besides those mentioned above, these include; wholesale storage, bus station and parking garage include with commercial and residential activities. According to the survey, the shop houses in the high density zone have more serious problems than the middle and outer zones in Bangkok, both in term of inadequate building facilities and in term of problems associated with their internal activities. However, because of convenient location of their shop hoses, the shop house residents have rated their shop houses considerably high and have shown their preference to stay in their present shops in the future. The study has concluded that shop houses have wide variety of advantages due to the lacking of land use regulation and inefficient building use control. These have caused the continuing growth of shop house developments in the city. However, the present situation needs to be improved. Such improvements should include both physical condition improvements and land use improvements where shop houses and other forms of mixed-use developments will be located. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สถาปัตยกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21497 |
ISBN: | 9745668761 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pensri_Cha_front.pdf | 719.82 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch1.pdf | 1.44 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch2.pdf | 1.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch3.pdf | 2.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch4.pdf | 363.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch5.pdf | 505.37 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_ch6.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pensri_Cha_back.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.