Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21513
Title: การวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารของวิทยานิพนธ์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
Other Titles: Journal citation analysis of master's theses on economics
Authors: พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ
Advisors: ศจี จันทวิมล
วิไลวรรณ วรรณนิธิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เศรษฐศาสตร์ -- วารสาร
วารสาร
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาขอบเขตเนื้อหาวิชา อายุ ภาษา และรายชื่อวารสารที่ได้รับการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ ตลอดจนเปรียบเทียบวารสารที่ได้รับการอ้างถึงวารสารที่มีในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวิธีการวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารที่ปรากฏในเชิงอรรถ 2,662 รายการของวิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาลัยและคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2524 จำนวน 344 เล่ม การวิเคราะห์ข้อมูลนำเสนอในรูปของการแจกแจงความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ คือ บทความวารสารที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 92.79 ของจำนวนบทความทั้งหมดที่ได้รับการอ้างถึง ที่เหลืออีกร้อยละ 7.21 เป็นบทความวารสารในสาขาวิชาอื่น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบทความในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ ในการวิเคราะห์อายุของวารสารที่ได้รับการอ้างอิง พบว่าผู้เรียบเรียงวิทยานิพนธ์มักจะอ้างวารสารปีใหม่ ๆ มากกว่าวารสารเก่าที่มีอายุหลายปี วารสารที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลา 6 ปี จะได้รับการอ้างถึงมากที่สุด วารสารยิ่งเก่าเพียงใด จำนวนการอ้างถึงก็จะยิ่งน้อยลงตามลำดับ สำหรับภาษาของวารสารที่ได้รับการอ้างถึงนั้น ปรากฏว่าเป็นภาษาอังกฤษมากที่สุดคือร้อยละ 66.75 รองลงมาได้แก่วารสารภาษาไทย ได้รับการอ้างถึงร้อยละ 32.76 ที่เหลืออีกร้อยละ.49 เป็นการอ้างถึงวารสารภาษาต่างประเทศอื่น ๆ จากการวิเคราะห์การอ้างถึงวารสารจำนวน 2,662 รายการ พบว่าเป็นวารสารภาษไทย 152 รายการ และวารสารภาษาต่างประเทศ 253 รายการ วารสารที่ได้รับการอ้างถึงมากเกินกว่าครึ่งหนึ่งของการอ้างถึงวารสารทั้งหมดมีจำนวนไม่กี่รายการ มีวารสารภาษาไทยเพียง 12 รายการที่ได้รับการอ้างถึงร้อยละ 50.23 และวารสารภาษาอังกฤษ 11 รายการที่ได้รับการอ้างถึงร้อยละ 51.12 วารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือ ราชกิจจานุเบกษา รายงานเศรษฐกิจรายเดือน และ วารสารธรรมศาสตร์ ตามลำดับ ส่วนวารสารภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุดคือ Foreign Trade Statistics of Thailand, American Economic Review และ Journal of Political Economy ตามลำดับ ในการเปรียบเทียบวารสารที่ได้รับการอ้างถึงกับวารสารที่มีในห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่าห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวารสารภาษาไทยที่ได้รับการอ้างถึง 39 รายการ หรือร้อยละ 25.66 ในขณะที่ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีถึง 62 รายการ หรือร้อยละ 40.79 สำหรับวารสารภาษาต่างประเทศที่ได้รับการอ้างถึง ห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี 46 รายการ หรือร้อยละ 17.49 ส่วนห้องสมุดคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มี 96 รายการ หรือร้อยละ 36.50 อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบจำนวนวารสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่ได้รับการอ้างถึงมากที่สุด 12 รายการ และ 11 รายการ ปรากฏว่าห้องสมุดทั้ง 2 แห่งมีวารสารภาษาไทย 11 รายการ และมีวารสารภาษาอังกฤษครบทุกรายการ ผลการวิจัยครั้งนี้ บรรณารักษ์สามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงานวารสารของห้องสมุด ได้แก่ การจัดหา การจำหน่ายออก การส่งเย็บเล่ม และการนำออกบริการให้มี ประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถใช้แนวทางในการจัดทำดรรชนี สาระสังเขป และบริการข่าวสารทันสมัย โดยคัดเลือกจากบทความในวารสารที่ได้รับการอ้างถึงมาก ตลอดจนใช้เป็นแนวทางสำหรับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ที่จะเปิดสอนเศรษฐศาสตร์ในระดับต่าง ๆ ในการจัดหาวารสารที่มีประโยชน์ และได้รับการใช้มากในการวิจัยเข้าห้องสมุด
Other Abstract: The purpose of this research is to determine the subject, time span, language and the list of cited journals in master’s theses on economics. This research also aims at comparing the cited journals to the journals in the Faculty 0f Economics Libraries at both Chulalongkorn and Thammsat Universities. The source publication used in this research was 344 economics master’s theses which were completed between 1970 – 1981 at the Department of Economics, Graduate School, Chulalongkorn University and the Faculty of Economics, Thammsat University. The footnotes used in this journal citation analysis totaled 2,662. The data were analyzed and presented in frequency distributions and percentages. The results of the research can be summarized as follows: It was found that 92.79 percent of the total article journal citation were articles on economics. The rest, 7.21 percent, were on other disciplines, of which the social science articles were predominant. Concerning the date of cited journals, it was apparently indicated that the economics researchers tended to cite current journals rather than retrospective ones. The journals published in a period of 6 years were mostly cited. The older the journals became, the fewer the citations were made. In terms of languages, English languages journals were mostly cited, rating 66.75 percent. Second were the Thai journals, 32.76 percent, which the rest, .49 percent, were other foreign journals From the analysis of 2,662 journal citations, 152 referred to Thai journals while 253 referred to foreign journals. Only 12 Thai journals cumulated 50.23 percent and 11 English journals cumulated 51.12 percent. The most cited Thai journals were Royal Thai Government Gazette, Monthly Economic Report and Thammasat University journal, respectively. As for the English journals, Foreign Trade Statistics of Thailand, American Economic Review and journal of Political Economy were mostly cited, respectively Comparing the cited journals to the journals in the Faculty of Economics Libraries at Chulalongkorn and Thammasat Universities, it was found that 39 cited Thai journals, or 25.66 percent of the total Thai journal citation, were in the Library of Chulalongkorn University, whereas there were 62 journals, or 40.79 percent, in the Library of Thammasat University . With respect to the cited foreign journals, there were 46 journals, or 17.49 percent of the total foreign journal citations, in the Library of Chulalongkorn University, and 96 journals, or 26.50 percent, in the Library of Thammasat. However, when comparing the 12 most cited Thai journals and the 11 most cited English journals to the journals in both libraries. There were the 11 Thai journals and all the English ones in them. The librarians can use these results as a guideline in periodical management development i.e., acquisition, discarding, binding and servicing with more efficiency and towards greater fulfillment of the users’ needs. In addition, the librarians can arrange the index, abstract and current awareness services by choosing the articles from the most cited journals. Besides, the universities or other academic institutions which plan to conduct economics at any level can apply these results in acquiring the more useful and most cited journals for the libraries.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21513
ISBN: 9745626996
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poolsook_Pr_front.pdf902.82 kBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_ch1.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_ch2.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_ch3.pdf839.28 kBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_ch4.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_ch5.pdf1.87 MBAdobe PDFView/Open
Poolsook_Pr_back.pdf4.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.