Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21517
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประเสริฐ ณ นคร-
dc.contributor.authorพูล เหมือนศาสตร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-08-18T04:10:51Z-
dc.date.available2012-08-18T04:10:51Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21517-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษารายละเอียดในเรื่องเกี่ยวกับแหล่งที่มา การใช้ และเกณฑ์การเปรียบเทียบศักราชชนิดต่าง ๆ ที่มีปรากฏใช้ในหลักฐานฝ่ายไทยและศึกษาเพิ่มเติมในบางเรื่องที่ยังไม่มีท่านผู้ใดกล่าวถึง วิธีการศึกษาค้นคว้า รวบรวมหลักฐานชั้นต้นและชั้นรอง ตลอดจนศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับหัวข้อที่ทำการวิจัย ทั้งในศิลาจารึก จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ ราชกิจจานุเบกษา และผลงานการวิจัยของท่านผู้อื่น ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ และสอบถามนักวิชาการทางประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์สรุปตามหลักฐานเท่าที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ศักราชที่มีปรากฏใช้อยู่ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ฝ่ายไทย มีประมาณ 10 ชนิด ได้แก่ พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช ศักราชในไทย รัตนโกสินทรศก คริสตศักราช กลียุคศักราช ศักราชกฎหมาย อัญชนะศักราช และ ฮิจเราะห์ศักราช ส่วนใหญ่ประเทศไทยรับเอาศักราชของต่างประเทศมาใช้ อาทิเช่นพุทธศักราช มหาศักราช กลียุคศักราช และอัญชนะศักราช รับมาจากประเทศอินเดียเป็นต้น การใช้ศักราชในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยแต่ละสมัย เป็นไปตามความนิยมของผู้ใช้ในสมัยนั้น ๆ ดำเนินมาจนกระทั่งถึงจุลศักราช 1250 ปีที่ 21 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ได้มีพระราชดำรัสโปรดเกล้าฯให้ประกาศใช้รัตนโกสินทรศก ในราชการแผ่นดินเป็นครั้งแรก ในสมัยต่อมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯใช้พระพุทธศักราช ในราชการแผ่นดินแทนรัตนโกสินทรศก ตั้งแต่ปีพระพุทธศักราช 2455 ( รัตนโกสินทรศก 131) จนกระทั่งถึงพุทธศักราช 2483 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศในราชการแผ่นดินด้วยหลักเกณฑ์ที่ใช้ในปัจจุบัน ตั้งแต่พุทธศักราช 2484 เป็นต้นมา เกณฑ์การเปรียบพุทธศักราชกับศักราชอื่น ๆ ในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกัน 1 ปี กล่าวคือ เกณฑ์การเปรียบเทียบพุทธศักราชกับศักราชสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ จุลศักราช, มหาศักราช และ คริสตศักราช ในสมัยสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา ใช้เกณฑ์พุทธศักราชตั้งขึ้นก่อนจุลศักราช 1182 ปี, มหาศักราช 622 ปี และ คริสตศักราช 544 ปี ส่วนการเกณฑ์การเปรียบเทียบพุทธศักราช เหล่านี้ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ หรือในสมัยปัจจุบัน ใช้เกณฑ์พุทธศักราชตั้งขึ้นก่อนจุลศักราช 1181 ปี, มหาศักราช 621 ปี และคริสตศักราช 543 ปี ตามลำดับ ข้อเสนอแนะวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ เป็นการวิจัยแต่เฉพาะศักราชที่มีปรากฏใช้ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์เท่าที่พบอยู่ในหลักฐานของประเทศไทยในปัจจุบันเท่านั้น (ซึ่งอาจจะต้องปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ถ้าปรากฏว่าค้นพบหลักฐานใหม่ที่แตกต่างไปจากหลักฐานเดิม) พอจะใช้เป็นแนวทางให้ผู้สนใจศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในสมัยกรุงสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา ระลึกไว้ว่า แต่เดิมการนับพุทธศักราชของชาติไทยนับอย่างลังกาและพม่า ซึ่งแตกต่างไปจากปัจจุบันเป็นเวลา 1 ปี เพราะฉะนั้นเมื่อเทียบเวลากับเหตุการณ์ในสมัยกรุงสุโขทัย และสมัยกรุงศรีอยุธยา กับสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เวลาจะแตกต่างกันอยู่ 1 ปี เป็นต้น.-
dc.description.abstractalternativeThis is a study of the beginning and the termination of use of the different eras used in Thailand. It also studies their sources. Thus the whole title of this thesis is THE STUDY OF THE BEGINNING AND THE TERMINATION OF USE OF THE DIFFERENT ERAS AND THEIR SOURCES. In some eras, i.e. the Anjana Era which started from 147 years before the Buddhist Era. This study will look into the problem of its being introduced in Thailand as claimed, or is it a wild claim? Another problem which this study will look into is the Chula or Civil Era. This era’s first pear started in the pear 638 A.D. or 1182 Buddhist Era, yet one of the Burmese Kings, claimed Burma, was its founder. Is this claim legitimate or is it fake ? Another problem which the paper will look into is the Legal Era. Some writers have proposed that the Legal Era had been used in the Ayudhaya Period. Could this proposal be true or just a hoary claim unsupported by facts. In summary, this study will go over all the different inscriptions of whatever languages they were written in; and to analyze and reason out from the translations. After which conclusions will be drawn from these sources. The records showed that that there had been 10 different eras being used in Thailand, namely : 1) The Buddhist Era 2) The Saka Era 3) The Chula or Civil Era 4) The Tai (or Chinese) Era 5) The Ratanakosin or Bangkok Era 6) The Christian Era 7) The Kaliyuga Era 8) The Legal Era 9) The Anjana Era 10) The Hegira or Moslem Era These eras have their foundings from India or Ceylon, China, Arabia, or other mainland southeast asia countries. The Chula or Civil Era was claimed to have come either from Burma or Founan yet where it really, truly originated is a big question. With regard to the Buddhist, Saka and the Chula or Civil Eras these three eras has been off and used from the Sukhodaya Throughout the Ayudhaya Periods and into the first 100 years of the Bangkok Period. But in the year 1250 of the Civil Era, corresponding to the year 1888 A.D. or 2432 B.E., a Royal Proclamation by Rama V., King chulalongkorn, appeared in the Royal Gazette, initiating the use of the Bangkok Era in place of the Civil Era, in 1912 A.D. to appear in all State Documents—to be terminated 24 years later, by another Royal Proclamation by Rama VI, King Vajiravudh, re-introducing the official use of the Buddhist Era in all State up to the present day. The re-introduction of the Buddhist Era in the year 2455 B.E. or 1912 A.D. has made all the eras things of the past. One (1) year difference is usually encountered if one wants to know the years of the different other eras to correspond to what year of the Buddhist Era. The figure 544 is usually adopted to subtract from the B.E. to get the Christain Era the figures of the Sukhodaya and Ayudhaya Periods, and the figure 543 for the Bangkok Period. Now Thailand is in the Buddhist Year 2520, but for Burma Ceylon and India, their Buddhist Year is one year ahead, 2521 B.E. Finally, up to the year 1940 A.D. or 2483 B.E., April was the first month of the year, and for this particular year, it had only 9 months, to start the New Year of 2484 B.E. or 1941 A.D. on January first., the Reign of Rama VIII, King Anandamahidol. This study will also attempt to pinpoint this error, and why this disparity, and the attempt may be shown tentatively or as final, if proved correct. All of the above, this study will research to make Thai History clearer and truer, thus untangling quirks in Thai History.-
dc.format.extent594555 bytes-
dc.format.extent367614 bytes-
dc.format.extent2795140 bytes-
dc.format.extent3813723 bytes-
dc.format.extent1879825 bytes-
dc.format.extent2216668 bytes-
dc.format.extent463396 bytes-
dc.format.extent530979 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectศักราช-
dc.titleวิเคราะห์แหล่งที่มาและการใช้ศักราชชนิดต่าง ๆ ที่มีปรากฏในหลักฐานฝ่ายไทยen
dc.title.alternativeAn analysis of the origin and the adoption of the different eras as founded in Thai written recordsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Poon_Me_front.pdf580.62 kBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch1.pdf359 kBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch2.pdf2.73 MBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch3.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch4.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch5.pdf2.16 MBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_ch6.pdf452.54 kBAdobe PDFView/Open
Poon_Me_back.pdf518.53 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.