Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21578
Title: ผลของตัวกลางที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียชุมชนโดยบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลในแนวดิ่ง
Other Titles: The effect of media on phosphorus removal from domestic wastewater using vertical flow constructed wetland
Authors: ไพสิฐ กาญจนสุนทร
Advisors: อรทัย ชวาลภาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Orathai.C@Chula.ac.th
Subjects: น้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดฟอสฟอรัส
น้ำเสียชุมชน
บึงประดิษฐ์
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของตัวกลางที่มีต่อการกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสียโดยบึงประดิษฐ์ที่มีการไหลในแนวดิ่ง ตัวกลางที่ใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ 4 ชนิด ได้แก่ หินเกล็ด อิฐแดง อิฐบล็อก และเปลือกหอย การทดลองแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสโดยตัวกลาง 4 ชนิด และพิจารณาคัดเลือกสุดตัวกลางที่ดีที่มาทดลองต่อในระยะที่ 2 เพื่อศึกษากลไกการกำจัดฟอสฟอรัสในน้ำเสีย ซึ่งทั้ง 2 ระยะจะใช้พืชคือต้นก้ามกุ้ง (Heliconia psittacorum cv 'Lady Di') น้ำเสียที่ใช้ในการทดลองเป็นน้ำเสียชุมชนสังเคราะห์ที่มีค่าซีโอดีระหว่าง 185.2-192.2 มิลลิกรัมต่อลิตร ไนโตรเจนระหว่าง 46.6-51.5 มิลลิกรัมต่อลิตร และฟอสฟอรัสระหว่าง 7.6-8.2 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยการใช้แบบจำลองในระดับห้องปฏิบัติการ ป้อนน้ำเสียสังเคราะห์ที่อัตราภาระบรรทุกทางชลศาสตร์ที่ 5 เซนติเมตรต่อวัน อย่างไม่ต่อเนื่อง (เติม 2 ชั่วโมง หยุด 2 ชั่วโมง) จากการทดลองในระยะที่ 1 พบว่าระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐบล็อกมีประสิทธิภาพในการบำบัดค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐแดง เปลือกหอย และหินเกล็ด ตามลำดับ จึงทำการคัดเลือกอิฐบล็อกและอิฐแดงไปทำการทดลองต่อในการทดลองระยะที่ 2 ซึ่งหลังจาก 2 เดือน ผลการทดลองในระยะที่ 2 พบว่าระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐบล็อกมีประสิทธิภาพการบำบัดค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดสูงที่สุดเท่ากับร้อยละ 93 ส่วนระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐแดงมีประสิทธิภาพการบำบัดค่าฟอสฟอรัสทั้งหมดเท่ากับร้อยละ 90 ในการศึกษากลไกการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐบล็อก ปริมาณฟอสฟอรัสที่เข้าระบบมีค่าเท่ากับ 5,856 มิลลิกรัม ถูกกำจัดโดยกลไกการดูดซับโดยอิฐบล็อกเท่ากับ 4,812 มิลลิกรัม การนำไปใช้โดยต้นก้ามกุ้งเท่ากับ 29 มิลลิกรัม การย่อยสลายและการดูดซึมโดยจุลินทรีย์เท่ากับ 245 มิลลิกรัม และจากปัจจัยอื่นๆ เท่ากับ 375 มิลลิกรัม รวมทั้งสิ้นฟอสฟอรัสถูกกำจัดภายในระบบมีค่าเท่ากับ 5,461 มิลลิกรัม และปริมาณฟอสฟอรัสที่ปล่อยออกจากระบบมีค่าเท่ากับ 395 มิลลิกรัม กลไกการกำจัดฟอสฟอรัสของระบบบึงประดิษฐ์ที่ใช้อิฐแดง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เข้าระบบมีค่าเท่ากับ 5,856 มิลลิกรัม ถูกกำจัดโดยกลไกการดูดซับโดยอิฐแดงเท่ากับ 4,575 มิลลิกรัม การนำไปใช้โดยต้นก้ามกุ้งเท่ากับ 154 มิลลิกรัม การย่อยสลายและการดูดซึมโดยจุลินทรีย์เท่ากับ 431 มิลลิกรัม และจากปัจจัยอื่นๆ เท่ากับ 96 มิลลิกรัม รวมทั้งสิ้นฟอสฟอรัสถูกกำจัดภายในระบบมีค่าเท่ากับ 5,256 มิลลิกรัม และปริมาณฟอสฟอรัสที่ปล่อยออกจากระบบมีค่าเท่ากับ 600 มิลลิกรัม
Other Abstract: This study quantify the effect of different filter media on phosphorus removal from domestic wastewater using vertical flow constructed wetland. Thus, a marble-filled wetland, a red brick-filled wetland, a shell-filled wetland and a block-filled wetland were operated over two phases. The first experiment was also ascertained the phosphorus removal efficiency of the 4 materials. Then, two materials were selected to use for the performance of the second experiment. Both of the experiments were planted with Heliconia psittacorum cv 'Lady Di' and operated identically with synthetic wastewater, containing COD 185.2-192.2 mg/l, TKN 46.6-51.5 mg/l and TP 7.6-8.2 mg/l at a hydraulic loading rate of 5 cm/d, intermittently. In the first experiment results, the block-filled wetland was showed the best phosphorus removal efficiency. In the second experiment, the block-filled wetland was showed the best phophorus removal efficiency rate at 93.09% compared to the brick-filled wetland at 89.53% after 2 months. In a block-filled wetland, the phosphorus removal mechanism was as follows: influent phosphorus level was 5,856 mg, phosphorus adsorption by block was 4,812 mg, plant uptake 29 mg, adsorb by microorganism 245 mg and other were 375 mg. Total phosphorus removal was 5,461 mg and effluent phosphorus remaining was 395 mg. In the red brick-filled wetland, phosphorus removal mechanism was as follows: influent phosphorus was 5,856 mg, phosphorus adsorption by red brick was 4,575 mg, plant uptake 154 mg, adsorb by microorganism 431 mg and other were 96 mg. Total phosphorus removal was 5,256 mg and effluent phosphorus remaining was 600 mg.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21578
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.809
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.809
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paisit_Ka.pdf10.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.