Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21579
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเอมอร จังศิริพรปกรณ์-
dc.contributor.authorภัคณัฏฐ์ สมพงษ์ธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-19T11:47:03Z-
dc.date.available2012-08-19T11:47:03Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21579-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคชนิดมาตรประมาณค่าและชนิดสถานการณ์ตามทฤษฎีของ Stoltz สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วตรวจสอบคุณภาพและเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัด รวมทั้งสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2551 ที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 839 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค จำนวน 3 ฉบับ เป็นแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่าที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบบวัดชนิดสถานการณ์ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น และแบบวัดที่ Stoltz พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS LISREL และ PARSCALE ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคชนิดมาตรประมาณค่าและชนิดสถานการณ์มีจำนวนข้อ 31 ข้อ แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่ามีมาตร 3 ระดับ ส่วนแบบวัดชนิดสถานการณ์มีตัวเลือก 3 ตัว 2. โมเดลการวัดของแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่าและโมเดลการวัดของแบบวัดชนิดสถานการณ์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เหมือนกัน แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่าและชนิดสถานการณ์มีความตรงตามสภาพ และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่ามีค่าความเที่ยง .773 แบบวัดชนิดสถานการณ์มีค่าความเที่ยง .801 เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่าค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้ง 2 ชนิดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในช่วงระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคต่ำถึงค่อนข้างสูง (-4≤0≤2) แบบวัดชนิดสถานการณ์ให้ฟังก์ชันสารสนเทศสูงกว่าแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า ส่วนในช่วงระดับความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูง (3≤0≤4) แบบวัดชนิดมาตรประมาณค่าให้ฟังก์ชันสารสนเทศสูงกว่าแบบวัดชนิดสถานการณ์ เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพสัมพัทธ์เฉลี่ยพบว่าแบบวัดชนิดสถานการณ์มีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 3. เกณฑ์ปกติของแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่ามีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T18 ถึง T82 เกณฑ์ปกติของแบบวัดชนิดสถานการณ์มีคะแนนทีปกติอยู่ระหว่าง T22 ถึง T82 ผลการประเมินพบว่านักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่มีความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคปานกลางen
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to develop adversity quotient tests based on Stoltz's theory for upper secondary school students, to check the quality of the adversity quotient tests, to compare the quality of the adversity quotient tests between rating scale and situation test formats, and to construct norms for the tests. The sample of the study consisted of 839 upper secondary school students in the 2008 academic year from the schools under the Office of the Basic Education Commission. Research instruments were 3 adversity quotient tests including: a rating scale developed by the researcher, a situation test developed by the researcher and a test developed by Stoltz. Data were analyzed by SPSS LISREL and PARSCALE programs. The research findings were as follows: 1. Both adversity quotient test rating scale and situation test had 31 items. The rating scale had 3 rates. The situation test contained 3 choices. 2. Both measurement model of the rating scale and measurement model of the situation test had the construct validity. Also, both rating scale and situation test had the concurrent validity. The concurrent validity between 2 tests was not different at the .05 significance level. The rating scale's reliability was .773. The situation test's reliability was .801. The reliability of 2 tests was different at the .05 significance level. At the low and quite high adversity quotient level (-4≤0≤2), the situation test provided higher test information function than the rating scale while the rating scale provided higher test information function than the situation test at a high adversity quotient level (3≤0≤4). When considered the ratio of average information, the situation test was identified to be more efficient than the rating scale. 3. The normalized T-score of rating scale ranged from T18 to T82 and situation test ranged from T22 to T82. The assessment indicated that the adversity quotient level of most upper secondary school students was moderate.en
dc.format.extent2191390 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2008.858-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษาen
dc.subjectการทดสอบความสามารถen
dc.subjectทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบen
dc.subjectข้อสอบen
dc.titleการเปรียบเทียบคุณภาพของแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคตามทฤษฎีของสโตลซ์ระหว่างมาตรประมาณค่ากับแบบวัดชนิดสถานการณ์ : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุวิภาคen
dc.title.alternativeA comparison of the quality of adversity quotient tests based on Stoltz's theory between rating scale and situation test : an application of polytomous item response theoryen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการวัดและประเมินผลการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAimorn.J@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2008.858-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pakkanat_ So.pdf2.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.