Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/216
Title: การพัฒนากระบวนการฟรอทโฟลเทชันสำหรับบำบัดน้ำเสีย : รายงานฉบับสมบูรณ์
Other Titles: Development of froth flotation process for wastewater treatment
Authors: สุเมธ ชวเดช
Email: Sumaeth.C@chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี
Subjects: น้ำเสีย--การบำบัด
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาผลของชนิดและความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว และเกลือแกงที่มีต่อประสิทธิภาพการแยกสารเทอเชียรีบิวทิลฟีนอล (TBP) โดยใช้กระบวนการทำให้เป็นฟองลอย สารลดแรงตึงผิวสองชนิดที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ เซทิลไพริดิเนียมคลอไรด์ (CPC) และโซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (SDS) คอลัมน์ทำให้เป็นฟองลอยทำด้วยพลาสติกใส มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5.4 เซนติเมตร และสูง 100 เซนติเมตร ทำการควบคุมระบบทำให้เป็นฟองลอยแบบกะ จากผลการทดลองการแยกสาร TBP มีค่าสูงสุดที่ความเข้มข้นสารลดแรงตึงผิวเท่ากับความเข้มข้นวิกฤตในการเกิดไมเซลล์ (CMC) การเติมเกลือแกงทำให้ค่า CMC ของสารลดแรงตึงผิวทั้งสองลดต่ำลง การเติมเกลือแกงลงในน้ำทดลองทำให้ประสิทธิภาพของสาร CPC ลดต่ำลงในการแยกสาร TBP ในขณะที่เกลือแกงที่เติมลงไปไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสาร SDS ในการแยกสาร TBP ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารลดแรงตึงผิวทั้งสองชนิด พบว่าสาร CPC สามารถแยกสาร TBP ได้ดีกว่าการใช้สาร SDS ภายใต้สภาวะไม่มีเกลือแกง
Other Abstract: The objective of this experimental study was to determine the effects of type and concentration of surfactants and NaCi on the removal efficiency of tertiary butylphenol (TBP) by using froth flotation process. Two surfactants used in this study were cetylpyridinium chloride (CPC) and sodium dodecylsulface (SDS). A flotation column made of acrylic tube had 5.4 cm inside diameter and 100 cm height. The froth flotation system was operated in batch mode. From the experimental results, the TBP removal was maximized when the surfactant concentration was at the critical micelle concentration (CMC). The addition of NaCI resulted in reducing the CMC values of both surfactant studied. The addition of NaCI to the feed solution resulted in a significant reduction of the ability of CPC to remove TBP while it did not affect the ability of SDS to remove TBP. In comparing the effectiveness of both surfactants, CPC could remove TBP better than SDS under the absence of NaCI.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/216
Type: Technical Report
Appears in Collections:Petro - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumaeth(dev).pdf3.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.