Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21622
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorดารณี พุทธวิบูลย์
dc.contributor.authorศรีสมร ตรังคะลักขี
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-08-20T09:35:28Z
dc.date.available2012-08-20T09:35:28Z
dc.date.issued2525
dc.identifier.isbn9745612111
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21622
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525en
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาถึงการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมเส้นใยในประเทศไทยเพื่อศึกษาถึงฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมนี้ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ งบการเงิน ซึ่งได้จากแหล่งข้อมูลของทางราชการคือ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ โดยทำการวิเคราะห์ระหว่างช่วงปี พ.ศ.2519-2522 และเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมนี้ด้วย สาระสำคัญโดยลำดับของวิทยานิพนธ์นี้มีดังนี้ ด้านโครงสร้างของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ในประเทศไทย ได้ศึกษาถึงภาวะโดยทั่วไปของอุตสาหกรรมนี้ทั้งในด้านการผลิต การตลาด การควบคุมของรัฐบาลตลอดจนความช่วยเหลือของรัฐบาลที่มีต่ออุตสาหกรรมนี้ สำหรับในด้านการผลิตอาจกล่าวได้ว่า อุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์เดิมเป็นอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้าที่สำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง ซึ่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการภายในประเทศโดยการสั่งวัตถุดิบส่วนใหญ่มาจากต่างประเทศเข้ามาทำการผลิตเอง ต่อมาผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ได้เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าความต้องการของตลาดภายในประเทศจึงได้เปลี่ยนเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ปัจจุบันมีผู้ประกอบการผลิตภายในประเทศ 6 ราย มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 98,000,000 บาท ถึง 548,000,000 บาท อุตสาหกรรมนี้ต้องลงทุนสูงมากจึงมีผู้ผลิตรายใหญ่เพียง 2 ราย ในด้านการตลาดลักษณะเป็นการแข่งขันกันทั้งระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศด้วยกันเองและกับสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ส่วนการนำเข้านั้นในระยะหลังมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เพราะปริมาณการผลิตภายในประเทศมีปริมาณเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศส่วนการส่งออกยังนับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกน้อยในด้านต้นทุนการผลิตปัจจัยทีมีอิทธิพลต่อต้นทุนการผลติมากที่สุดคือ ราคาของวัตถุดิบ เช่น DMT, TPA, EG และ Caprolactam วัตถุดิบทั้งหมดต้องสั่งซื้อมาจากต่างประเทศและราคาวัตถุดิบมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย รัฐบาลจึงได้ให้ความช่วยเหลือต่ออุตสาหกรรมนี้ในด้านต่างๆ เพื่อช่วยให้ต้นทุนการผลิตต่ำลงและเพิ่มอำนาจในการแข่งขันกับต่างประเทศ รัฐบาลได้ให้สิทธิพิเศษในการนำเครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ และวัตถุดิบเข้ามาโดยได้รับการยกเว้นภาษีศุลกากรหรือเสียภาษีในอัตราต่ำ และได้เพิ่มอัตราการจัดเก็บอากรขาเข้า ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์จากอัตราเดิมร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 80 ตามประกาศกระทรวงการคลัง ฉบับวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2521 ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์และเพื่อลดดุลการค้า ด้านวิเคราะห์ฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์โดยคำนวณหาอัตราส่วนทางการเงินของแต่ละบริษัทในอุตสาหกรรมนี้ แล้วทำการเปรียบเทียบอัตราส่วนของแต่ละบริษัทกับอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของกิจการในแต่ละขนาด และอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรม ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด เพราะเหตุใดซึ่งการวิเคราะห์นี้แบ่งออกเป็น 4กลุ่ม คือ วิเคราะห์สภาพคล่อง สภาพเสี่ยง สมรรถภาพในการดำเนินงาน และสมรรถภาพในการหากำไร ผลจากการวิเคราะห์ปรากฏว่า บริษัทที่ประสบความสำเร็จโดยมีสมรรถภาพในการหากำไรสูง คือ บริษัทไทยเรยอนจำกัด และบริษัทโทเรไนล่อนจำกัด ซึ่งทั้ง 2 บริษัทนี้เป็นบริษัทที่มีกิจการขนาดกลาง และจากการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงินของกิจการในแต่ละขนาด สรุปได้ว่ากิจการขนาดกลางมีฐานะทางการเงินดีกว่ากิจการขนาดใหญ่ทั้งในด้านสภาพคล่อง สภาพเสี่ยง สมรรถภาพในการดำเนินงาน และสมรรถภาพในการหากำไร กิจการขนาดใหญ่จัดว่ามีฐานะทางการเงินยังไม่เป็นที่น่าพอในเพราะมีสภาพคล่องต่ำ สภาพเสี่ยงสูง ขณะเดียวกันสมรรถภาพในการดำเนินงานและสมรรถภาพในการหากำไรยังต่ำกว่ากิจการขนาดกลาง และเมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมแล้ว อาจกล่าวได้ว่าฐานะทางการเงินของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์อยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยเฉพาะทางด้านสภาพเสี่ยงและสมรรถภาพในการหากำไร ซึ่งมีสภาพเสี่ยงลดต่ำลง แต่มีสมรรถภาพในการหากำไรเพิ่มสูงขึ้นจากปี พ.ศ. 2519 มาโดยตลอด ประกอบกับสมรรถภาพในการดำเนินงานมีแนวโน้มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์แนวโน้มของอัตราส่วนทางการเงินแต่ละประเภท เพื่อให้เป็นการเคลื่อนไหวของอัตราส่วนต่างๆ ของแต่ละบริษัทเปรียบกับอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของกิจการในแต่ละขนาดของบริษัทนั้นๆ และอัตราส่วนโดยเฉลี่ยของทั้งอุตสาหกรรมในช่วงปี พ.ศ. 2519-2522 ด้วย ด้านการบริหารเงินทุนของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ ผลจากการวิเคราะห์ปรากฏว่าโครงสร้างของเงินทุนของกิจการขนาดใหญ่ กิจการขนาดกลาง และของอุตสาหกรรม ได้มาจากหนี้สินโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 84% 66% และ 78% ของเงินทุนทั้งหมดตามลำดับ และส่วนใหญ่เป็นหนี้สินระยะสั้น จากการวิเคราะห์งบแสดงแหล่งที่มาและใช้ไปของเงินทุน พบว่าวิธีการจัดหาเงินทุนของอุตสาหกรรมยังไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ดี โดยในช่วงปี พ.ศ. 2519-2520 และ 2521-2522 ได้มีการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนระยะสั้นไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวร นโยบายการบริหารเงินทุนเช่นนี้ ทำให้ต้องชำระหนี้คืนให้ทันภายในกำหนดระยะเวลาอันสั้น ถ้าอุตสาหกรรมยังคงใช้นโยบายการบริหารเงินทุนเช่นนี้ต่อไป ก็อาจจะเผชิญกับความเสี่ยงที่สูงขึ้น ส่วนในช่วงปี พ.ศ. 2520-2521 อุตสาหกรรมได้นำเงินทุนจากแหล่งระยะยาวไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์หมุนเวียน นโยบายการบริหารเงินทุนเช่นนี้ถึงแม้จะมีความเสี่ยงน้อย แต่ก็ทำให้ได้รับผลตอบแทนต่ำ เนื่องจากเงินทุนจากแหล่งระยะยาวมีต้นทุนที่สูง จากผลการศึกษาพอสรุปได้ว่า ปญหาของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ในประเทศไทย ด้านการผลิต คือ ราคาวัตถุดิบสูง เพราะเป็นผลิตภัณฑ์เคมีน้ำมัน ซึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด และราคาจะเปลี่ยนแปลงตามการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบของโลก ด้านการเงิน มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องต่ำ สมรรถภาพในการดำเนินงานเกี่ยวกับการใช้สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์รวมยังไม่ดีเท่าที่ควร นอกจากนี้นโยบายการจัดหาเงินทุนของอุตสาหกรรมไม่สอดคล้องกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์ โดยในบางปีได้นำเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นไปใช้ลงทุนในสินทรัพย์ถาวรทำให้ความเสี่ยงสูง และด้านการตลาด มีปัญหาการทุ่มตลาดจากต่างประเทศ สินค้าเส้นใยจากประเทศไทยหาตลาดในต่างประเทศได้ยาก เพราะเมื่อเทียบกับคู่แข่งขันในตลาดโลกแล้ว สินค้าเส้นใยของประเทศไทยจะมีราคาสูงกว่า ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการขึ้นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้เงินบาทซึ่งผูกค่าติดกับเงินดอลลาร์ดูแข็งขึ้น ลูกค้าจากต่างประเทศจึงลดการซื้อลงแม้รัฐบาลไทยจะได้ทำการลดค่าเงินบาทลงแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2524 ข้อเสนอแนะสำหรับปัญหาราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการตั้งโรงงานเปโตรเคมีคัลเพื่อผลิตสารเคมีภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยประดิษฐ์ขึ้นภายในประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยลดราคาวัตถุดิบจำพวกเคมีภัณฑ์ และทำให้ไม่ต้องพึ่งการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยผ่อนคลายปัญหาวัตถุดิบลงได้ อันจะมีผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง ส่วนด้านการเงินนั้น ผู้ผลิตควรปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยทำให้สินทรัพย์ถาวรและสินทรัพย์รวมถูกใช้งานอย่างเต็มที่ ซึ่งการจะใช้สินทรัพย์ดังกล่าวได้อย่างเต็มที่นั้นขึ้นอยู่กับความพยายามทางการตลาดเป็นสำคัญ ดังนั้น เมื่อการดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จะทำให้มีสภาพคล่องดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ควรปรับปรุงนโยบายการจัดหาเงินทุนให้สอดคล้องกับอายุการใช้งานของสินทรัพย์ สำหรับทางด้านการตลาดนั้น ควรมีหน่วยงานของรัฐบาลตั้งขึ้นเพื่อศึกษาภาวะตลาดเส้นใยของโลก ความต้องการเส้นใยประเภทต่างๆ เพื่อให้ผู้ผลิตในประเทศปรับตัวทำการผลิตประเภทของเส้นใยได้ถูกต้องตามความต้องการของตลาด สิ่งสำคัญที่รัฐบาลควรให้ความสนใจอย่างรีบด่วนในขณะนี้คือ ควรสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมฐานของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ คือ อุตสาหกรรมผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ในอนาคตด้วย
dc.description.abstractalternativeThis is a study of the finance of Man-made Fibre in Thailand in relation to its financial status. The essential data for this analysis are mainly the financial statements collected from the Department of Commercial Registration, the Ministry of Commerce during 1976 to 1979. The structure of this industry is also taken into account. The major aspects of this study are referred to as follows: With regard to the structure of this industry, the general conditions including manufacturing, marketing, government’s control and support to this particular industry. From production point of view, can be said that originally its main purposes to subsitute the imported fibre, by importing raw material for this production lines later, appeared that there are over production for local demand therefore the surplus tonnages have become an export item. Presently, there are 6 producers, registered capital in the range from 98,000,000 Baths to 548,000,000 Baths. Due to the nature of heavy investment, therefore only two major producers are in position to compete with imported cargo as well as between themselves. Considering the importation imported materials become less and less simply because of local production can meet the demand, moreover there is a surplus tannage for export. Regarding cost of production, the most influent factor is cost of raw material, such as DMT., TPA., EG., and Caprolactam, all have to be imported. Furthermore prices of above items keep going on the high side which automatically affect their production costs. Incidently, government also support and promote this kind of industly by reducing import duty to a very low rate or giving free duty for imported machineries and equipments. At same time, raising the import duty for finished products of such as fibre, from 60 to 80% as per the announcement by Ministry of finance of finance dated March 8,1978. To analyzed financial status, by calculating financial ratio of each company and compare such ratio to the average ratio of each size in order to determine the difference between individual one and the whole industry. The analysis will be divided into 4 parts, liquidity rations, leverage ratios, efficiency ratios and profitability ratios. It reveals that there have been two highly successful producers named Thai Rayon, and Toray Nylon Thai, both medium firms. From the financial analysis point of view, it may be concluded that the medium company stands in a better financial position than the bigger one, in both operating and profitable sides, but less liquidity. The bigger producers, their financial status are not yet in satisfactory level due to low liquidity and high leverage. At the same time, efficiency in operation and profitability are still lower than the medium sizes. By overall considerations, financial status of the fibre are in good condition, especially in leverage and profitability. The operative efficiency has a increasing trend. Beside that the analysis also indicate the tendency of financial ratio of each product individual one compare to the average ratio of each scale and overall industry in the period of 1976-1979. As to the financial administration in this industry, the analysis on the capital structure and sources and uses of funds statement reveals that the capital structure of the large and medium and the industry is derived from the average liability approximately 84%, 66% and 78% repectively, and most of them are current liabilities. The analysis on the sources and uses of funds statement reveals that the means of financing the industry is not actually conform with the regulations, During 1976-1979 and 1978-1979 financing on capital was obtained from short term loans in order to invest in permanent assets. If this funds managements policy still continue, the higher rate of liquidity might be faced. In the peroid of 1977-1978 funds came from long term loan and has been used in current asset, again this policy might have the lower liquidity but low-rate of return because of high cost of fund. Some important conclusions can be drawn from the study are as follows: Costs of raw materials for production were high. All needs chemical products, with prices fluctuating along the world oil prices, were imported. On the financial aspect of the industry, liquidity was low, efficiency in operations was unsatisfactory. In addition, the fund acquisition policy of the industry was in discord with the assets life. The certain years, funds were acquired from short-term financial sources to invest in permanent assets which may be the high risks. In marketing, competition from imported products were high, and the export markets were hard for domestic product since the export prices were relatively high. This was a result of evaluation of U.S. dollars on which the baths are related strongly. Customers from foreign countries reduced their orders even though Thai government has devaluated Thai currency recently. To cope with the high prices of raw materials, Thai government should promote the establishment of petrochemical plants in the country to produce chemical products needed as raw materials for man-made fibre industry. This will in turn help reduce production costs for the fibre. Manufacturers of the fibre also should improve the efficiency in operations in order to arrive at a highly liquidity condition. Moreover, the fund acquisition policy should be improved to conform with the assets life. For marketing, there should be a government agency responsible for making market study regarding the demand for various type of fibre so that domestic producers could adjust themselves according to the market preference. There should be a base industry for fibre industry such as ready. Made clothing industry to absorb the expansion of fibre industry in the future.
dc.format.extent904676 bytes
dc.format.extent402079 bytes
dc.format.extent4096193 bytes
dc.format.extent1266444 bytes
dc.format.extent4209024 bytes
dc.format.extent1471398 bytes
dc.format.extent605410 bytes
dc.format.extent1871119 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectอุตสาหกรรมสิ่งทอ -- การเงิน
dc.subjectเส้นใยประดิษฐ์
dc.titleการวิเคราะห์ทางการเงินของอุตสาหกรรมเส้นใยประดิษฐ์ ในประเทศไทยen
dc.title.alternativeFinancial analysis of man-made fibre in Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srisamorn_Tr_front.pdf883.47 kBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch1.pdf392.66 kBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch2.pdf4 MBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch3.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch4.pdf4.11 MBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch5.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_ch6.pdf591.22 kBAdobe PDFView/Open
Srisamorn_Tr_back.pdf1.83 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.