Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21800
Title: | ผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดทางการเล่น ที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐานในเด็กชาย อายุ 12 ปี |
Other Titles: | The effect of using play-quotient score to select players on the development of basic skills table tennis performance of the 12-year-old boys |
Authors: | อมรเทพ ทัศนสุวรรณ |
Advisors: | ชัชชัย โกมารทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Chuchchai.G@Chula.ac.th |
Subjects: | การเล่น -- แง่จิตวิทยา เทเบิลเทนนิส พัฒนาการของเด็ก Play -- Psychological aspects Table tennis Child development |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นแตกต่างกัน คือ กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นสูง ปานกลางและต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชาย อายุ 12 ปี ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) โดยใช้แบบทดสอบความฉลาดทางการเล่น (Play quotient) ของ ชัชชัย โกมารทัต และคณะ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ดำเนินการทดลองโดยนำทั้ง 3 กลุ่มมาฝึกทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 วัน ทดสอบทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐานของ สรินยา แซ่ก๊วย ก่อนเข้ารับการฝึก หลังเข้ารับการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังเข้ารับการฝึก 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดำเนินการเปรียบเทียบผลการทดสอบแต่ละรายการภายในกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Two-way analysis of variance with repeated measure) และเปรียบเทียบผลการทดสอบแต่ละรายการระหว่างกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way analysis of covariance) และเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ (Pair wise comparisons) โดยวิธีการของ Bonferroni ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาทักษะทางการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐาน ภายในกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ ดีกว่าหลังเข้ารับการฝึก 4 สัปดาห์ และดีกว่า ก่อนเข้ารับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนการพัฒนาทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่ม ภายหลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่มีค่าความฉลาดทางการเล่นสูง มีการพัฒนาทักษะที่ดีกว่า กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นปานกลาง และกลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าระดับคะแนนความฉลาดทางการเล่น (Play quotient) ที่ต่างกันจะมีผลต่อความสามารถในการพัฒนาทักษะการเล่นเทเบิลเทนนิสขั้นพื้นฐานของเด็กชายอายุ 12 ปี และสามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นสู่ระดับสูงต่อไปได้ |
Other Abstract: | To study and compared the development of basic skill table tennis performance between 3 study groups. First group had high Play Quotient, second group had moderate Play Quotient, and third group had low Play Quotient. The 12-year- old boys groups of Pathumwan Demonstration School, Srinakharinwirot University and Chulalongkorn University Demonstration School were purposively selected to be the subjects in this study and were divided into three groups of fifteen players by the Play Quotient test of Chuchchai Gomaratut, et al. All groups were trained with a basic skill table tennis training program. The courses of training were three days per week. The total duration of training was eight weeks.All subject were tested a basic skill table tennis performance by a construction of table tennis skill tests for junior high school students of Sarinya Saekauy. The subjects were tested at 3 different periods.(i.e. before experiment, after the fourth, and eighth weeks). The obtained data were analyzed in term of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measure, one-way analysis of covariance and Pair wise Comparisons by Bonferroni's methods were employed for statistical significant at the .05 level. Results 1. The comparison of basic skill table tennis performance within groups showed that a basic skill table tennis performance of all groups after eight weeks of experiment were significantly better than four weeks of experiment and significantly better than before experiment at the .05 level. 2. The comparison of basic skill table tennis performance between groups group after four weeks and eight weeks of the experiment basic skill of the basic skill table tennis performance of the first group (high play quotient) was significantly better than the second group (normal play quotient) and third group (low play quotient) at the .05 level. Conclusion: The different levels of play quotient affected the development of basic skill table tennis performance of 12-year-old boys and could be used as a consideration in selecting the young players to develop further advanced skills. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21800 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.494 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.494 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
amornthep_th.pdf | 5.51 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.