Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21856
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorมนต์ธัช มะกล่ำทอง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2012-08-28T13:27:03Z-
dc.date.available2012-08-28T13:27:03Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21856-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เป็นชุมชนขนาดเล็กในเขตเทศบาลเมืองสมุทรสงคราม ได้รับเลือกจาก 14 ชุมชนในเขตเทศบาลให้เป็นชุมชนต้นแบบในการปรับปรุง ฟื้นฟูและพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม และมีที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรมเป็นจำนวนมาก โดยมีกรรมสิทธิ์ในการถือครองที่ดิน และที่อยู่อาศัยหลายแบบ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูที่อยู่อาศัยที่มีการถือครองกรรมสิทธิ์รูปแบบต่างๆ โดยใช้การสืบค้นเอกสาร การสำรวจที่อยู่อาศัย ปัญหา และความต้องการในการฟื้นฟูโดยการสุ่มตัวอย่าง และการสัมภาษณ์แนวทางในการฟื้นฟูจากหน่วยงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่ากรรมสิทธิ์ในการถือครองแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เจ้าของ และเช่า แยกย่อยออกเป็น 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) เจ้าของบ้าน และที่ดิน (1 โฉนด 1 ครัวเรือน) จำนวน 67 หลัง (ร้อยละ 39 ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 ที่อยู่อาศัยมีสภาพดี ปัญหา คือ เป็นที่อยู่อาศัยที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมแต่ขาดการฟื้นฟูอนุรักษ์ โดยร้อยละ 65 ของครัวเรือนมีฐานะทางเซรษฐกิจค่อนข้างดี 2) กลุ่มบ้านเครือญาติ (1 โฉนด หลายครัวเรือน) จำนวน 33 หลัง (ร้อยละ 19 ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 80 ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม ปัญหา คือ ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม โดยร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 3) เช่าที่ดินเอกชน สร้างบ้าน จำนวน 30 หลัง (ร้อยละ 17 ของกลุ่มตัวอย่าง) ทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม ปัญหา คือ การถือครองแบบเช่าทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมบ้านได้ โดยร้อยละ 78 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 4) เช่าที่ดินวัด (กรมศาสนา) จำนวน 24 หลัง (ร้อยละ 14ของกลุ่มตัวอย่าง) ส่วนใหญ่ร้อยละ 72 ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม ปัญหา คือ ที่อยู่อาศัยมีสภาพทรุดโทรม โดยร้อยละ 71ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างยากจน 5) เช่าบ้านเอกชน จำนวน 16 หลัง (ร้อยละ 9 ของกลุ่มตัวอย่าง) ทั้งหมดเป็นที่อยู่อาศัยที่ทรุดโทรม ปัญหา คือ การถือครองแบบเช่าทำให้ไม่สามารถซ่อมแซมบ้านได้ โดยร้อยละ 80 ของครัวเรือนมีฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี แนวทางในการปรับปรุง ได้แก่ 1) บ้านที่ควรแก่การอนุรักษ์ เสนอให้ปรับปรุงแบบเป็นรายๆ ไป โดยเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่เทศบาลเมืองสมุทรสงคราม และสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสงคราม เข้ามาช่วยเหลือ 2) บ้านที่เป็นเจ้าของที่มีสภาพทรุดโทรม สามารถเข้าร่วมกลุ่มออมทรัพย์ และทำการกู้เงินจากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มาซ่อมแซมได้เลย 3) กลุ่มเช่าที่เอกชน และบ้านเช่าที่ทรุดโทรม ต้องมีการเจรจาต่อรองกับเจ้าของที่ดิน และเจ้าของบ้านเช่าก่อน โดยต้องอาศัยการรวมพลังกัน หากดำเนินการเป็นแต่ละรายจะไม่มีอำนาจในการต่อรอง 4) กลุ่มเช่าที่ดินวัด (กรมศาสนา) หากสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนมี MOU กับกรมการศาสนาแล้ว สามารถใช้แนวทางนี้ได้ แต่หากยังไม่มีก็ต้องอาศัยแนวทางที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสร้าง MOU กับหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ แล้วมีการสร้างเครือข่ายข้ามพื้นที่ เพื่อรวมพลังในการเจรจาต่อรอง ซึ่งผลที่ได้ เป็นเพียงการศึกษาเพื่อเป็นข้อมูลในการที่จะนำไปใช้ในการปลุกชุมชนให้ตระหนักในปัญหา และร่วมในกระบวนการที่จะหาทางประสานกับหน่วยงาน และเจ้าของที่ดิน เพื่อให้ชุมชนซอยวัดหลังบ้านได้พัฒนาเป็นชุมชนตัวอย่างในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยตามที่ทั้ง 14 ชุมชนได้เลือกขึ้นมาen
dc.description.abstractalternativeSoi Wat Lang Baan community is one of small community in Samut Songkhram municipality, which is chosen from 14 communities in municipality area, to be the prototype community for improvement and development by participates with citizens. It is the old community, where many of cultural heritage houses and decline houses are placed. It has many different kinds of rights of ownership. This research aims for presenting the procedure to improve housing in different kinds of rights of ownership by researching papers, surveying problems in sample houses and interviewing related governments. The result shows, that there are 2 kinds of rights of ownership: owner and rental which divided into 5 types: 1) Owner (1 title deed 1 household) contains 67 houses (39% of samples), 60% of them are in good state. Their problem is lack of restoration of cultural heritage houses while 65% of them are wealthy. 2) Owner (1 title deed many households) contains 33 houses (19% of samples), 80% of them are in bad state. Their problem is decline houses and 80% of them are poor. 3) Rental land contains 30 houses (17% of samples), all of them are in bad state. Their problem is not have rights in land, so they cannot repair their houses and 78% of them are poor. 4) Rental temple’s land contains 24 houses (14% of samples), 72% of them are in bad state. Their problem is decline houses and 71% of them are poor. 5) Rental house contains 16 houses (9% of samples), all of them are in bad state. Their problem is not have rights in land, so they cannot repair their houses but 80% of them are wealthy. The improvement procedure are 1) Cultural heritage Houses will improve one by one and get the help from related governments such as Samut Songkhram Municipality and Samut Songkhram Cultural Office. 2) Owner’s house that is in bad state can join the save up group and borrow money from CODI to repair their houses. 3) Rental land and rental house, this group has to negotiate with owner of land and house by assembling all of them. 4) Rental temple’s land, if CODI has an MOU with Religious Department already. They can use this procedure, but if not, they must use the procedure from other governments that work with CODI and assembling other group across area for power to negotiate with owner. All of the results are research to encourage this community for their housing problems and to join in procedure with related governments and owner for Soi Wat Lang Baan to be the housing prototype that all of 14 communities are chosen.en
dc.format.extent8644193 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.499-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม -- ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน (สมุทรสงคราม)en
dc.subjectกรรมสิทธิ์en
dc.subjectการถือครองที่ดิน -- ชุมชนซอยวัดหลังบ้าน (สมุทรสงคราม)en
dc.titleแนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยบนที่ดินที่มีการถือครองกรรมสิทธิ์รูปแบบต่างๆ ในชุมชนซอยวัดหลังบ้าน เทศบาลเมืองสมุทรสงครามen
dc.title.alternativeImprovement procedure guidelines for housing with various forms of ownership in Soi Wat Lang Baan Community, Muaeng Samut Songkhram Municipalityen
dc.typeThesises
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorKundoldibya.P@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.499-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
montouch_ma.pdf8.42 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.