Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21862
Title: | การศึกษาแนวทางการพัฒนาของตลาดสดค้าปลีกเพื่อให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง : กรณีศึกษา ตลาดยิ่งเจริญ |
Other Titles: | The study of traditional markets development concept in order to compete with the surrounding hyper-markets : case study Ying Charoen Market |
Authors: | วสุรัตน์ เปี่ยมใย |
Advisors: | มานพ พงศทัต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Manop.B@Chula.ac.th |
Subjects: | ตลาดยิ่งเจริญ ย่านตลาด การค้าปลีก การแข่งขันทางการค้า |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ภาคธุรกิจการค้าและบริการเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดในส่วนของภาคธุรกิจทั้งหมด และมีส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดรายได้ให้ประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะส่วนของธุรกิจการค้าส่ง-ค้าปลีกนั้น มีปริมาณมากที่สุดของภาคธุรกิจการค้าและบริการในประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน รูปแบบการค้าปลีกในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ ธุรกิจค้าปลีกแบบดั้งเดิม (traditional Trade) และ ธุรกิจค้าปลีกแบบสมัยใหม่ (Modern Trade) ซึ่งการดำเนินธุรกิจการค้าของทั้ง 2 ประเภทนั้นที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง ทำให้การเกิดขึ้นของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในประเทศไทยที่ผ่านมามีการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง จนทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ค้าปลีกรายย่อยรวมถึงย่านตลาดสดค้าปลีก ทำให้เกิดแรงต่อต้านเพื่อปกป้องธุรกิจค้าปลีกของชุมชน แต่ก็ยังมีผู้ประกอบการตลาดสดค้าปลีกหลายรายที่มีความสามารถปรับเปลี่ยนแนวทางการจัดการและพัฒนาพื้นที่เพื่อให้ตลาดสดค้าปลีกของตน สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงและยังประสบความสำเร็จ เพื่อหาลักษณะเฉพาะของตลาดสดค้าปลีกที่เหมาะสม นำไปเป็นต้นแบบการพัฒนาพื้นที่ตลาดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ได้ต่อไปนั้น “ตลาดยิ่งเจริญ” อยู่ในย่านชุมชนที่มีความหนาแน่นสูงจึงมีภาวการณ์แข่งขันทางการค้าสูงตามไปด้วยเช่นกัน และเป็นย่านตลาดเก่าที่ทำการปรับปรุงใหม่จนยกระดับกลายเป็นตลาดระดับสี่มุมเมือง สามารถตอบสนองกับความต้องการ ในการเลือกซื้อสิ้นค้าของผู้บริโภคในชุมชนนั้นๆได้ โดยมีห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงถึง 2 แห่ง เหตุนี้จึงนำมาเป็นกรณีศึกษาเพื่อให้เป็นแนวทางในการพัฒนาพื้นที่ของตลาดค้าปลีก เพื่อที่จะกำหนดแนวทางของการพัฒนาของตลาดสดค้าปลีกต่อไป โดยการไปศึกษาข้อมูลของผู้บริโภคที่มาซื้อสิ้นค้าและเช่าแผงค้าภายในตลาดยิ่งเจริญ และ กระบวนการการจัดการของตลาด ทั้งทางกายภาพ – การจัดการ เพื่อนำมากำหนดแนวทางให้สอดคล้องกันระหว่างผู้ค้า ผู้บริโภค และ เจ้าของตลาดสดที่จะสามารถทำให้ ตลาดสดค้าปลีกที่คงอยู่กับวิถีชีวิตของชุมชนต่อไป |
Other Abstract: | The trade and service sectors are the largest business sectors, and they contribute to much of the national income. Wholesale and retail businesses, in particular, make up for the largest component of the domestic trade and service sector. Nowadays, retail enterprises in Thailand can be classified into two categories: traditional trade and modern trade enterprises. The two sectors’ patterns of operation are entirely different. These operational differences have contributed to the steady emergence and expansion of major retail stores and superstores in Thailand. This, in turn, has lead to numerous difficulties for small retail enterprises and the traditional, pre-existing marketplaces, both of which function as local retailers. This has resulted in local frictions and countering sentiments aimed at protecting the small community-based businesses. Nevertheless, there are still many individual retailers who have been able to adapt their management and to compete successfully against larger neighboring retailers. In order to reach an optimal size for a local marketplace, which can be used as a guideline for other marketplaces in their future competition with superstores, the “Ying Charoen Marketplace”, situated in a densely populated area, has faced high degrees of competition as the result. The neighborhood has been a long standing marketplace which, through improvements and reforms, has emerged as one of the top markets in Bangkok that has responded effectively to local consumers’ demands. Two superstores are present in nearby locations, making the marketplace a good place for this research to focus on. The resulting implications can then be utilized for the purpose of managerial development for local and communal marketplaces. The research is conducted through studies of consumer-related information and that of the sellers who rent spaces within the Ying Charoen Marketplace. The study includes the managerial and physical aspects of the operation. In doing so, I hope this research will pave the way towards a common, harmonious relationship between sellers, consumers, and the ownership, in order to preserve the importance of local marketplaces as a focal element of community life. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21862 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.504 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.504 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
vasurat_pi.pdf | 12.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.