Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21906
Title: การสำรวจการสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรภาครัฐส่วนภูมิภาคกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
Other Titles: A survey of health promotion in provincial organization, Bangkok Metropolitan and Pattaya city
Authors: ธีรยุทธ ปานพรหม
Advisors: พรชัย สิทธิศรัณย์กุล
อานนท์ วรยิ่งยง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Pornchai.Si@Chula.ac.th
Arnond.V@Chula.ac.th
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจองค์กรภาครัฐส่วนภูมิภาคกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ในเรื่องของนโยบาย แผนงาน โครงการและกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ และปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ ประกอบด้วย องค์กรภาครัฐส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ตามกลุ่มภารกิจด้านบริหารและความมั่นคง ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ รวม 378 หน่วยงาน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในระหว่างเดือนมิถุนายน 2550 ถึงเดือนธันวาคม 2550 อัตราการตอบกลับ ร้อยละ 75.9 ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะนโยบายส่วนใหญ่องค์กรต่างๆจะยังไม่มีการกำหนดนโยบาย (ร้อยละ 72.5) มีเพียง ร้อยละ 27.5 เท่านั้นที่มีการกำหนดนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เมื่อวิเคราะห์ในรายละเอียดเกี่ยวกับความชัดเจนของนโยบายที่มีการกำหนด พบว่า ส่วนใหญ่จะไม่ใช่นโยบาย(ร้อยละ 78.6) เมื่อพิจารณาแผนงาน โครงการและกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า กิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนโดยรอบหน่วยงาน เป็นกิจกรรมที่พบมากที่สุด (ร้อยละ 64.1) โดยผลรวมของคะแนนรวมองค์ประกอบต่างๆ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ (คะแนนเต็ม 45 คะแนน) มีเพียง 5 องค์กรเท่านั้น ที่มีคะแนนเต็ม (คิดเป็นร้อยละ 1.7) ซึ่งค่าเฉลี่ยของคะแนนคือ 21.8 คะแนน ในด้านปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพจากหน่วยงานภายนอกส่วนใหญ่ เป็นการได้รับสนับสนุนด้านองค์ความรู้ (ร้อยละ 58.8) ในขณะที่ความต้องการสนับสนุนที่มีมากที่สุดคือ ด้านงบประมาณ (ร้อยละ 35.0)และผลการศึกษารายละเอียดด้านปัญหา/อุปสรรค พบว่า ปัญหาด้านขาดแคลนบุคลากรด้านการสร้างเสริมสุขภาพพบมากที่สุด (ร้อยละ 36.7) โดยสรุป จากการศึกษานี้สามารถให้ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ ทำให้ทราบสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพในองค์กรภาครัฐส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา และใช้วางแผนพัฒนาให้เป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพต่อไป
Other Abstract: The purpose of this survey research was to examine the policy, project, activity and support from outside organizations regarding health promotion. The study samples were provincial organizations, Bangkok Metropolitan and Pattaya City including 3 clusters of administrative, social and economic of total 378 samples. Data were collected by mailed questionnaire between June 2007 and December 2007. Response rate was 75.9 percent. Results showed that most organizations did not have health promotion policy (72.5 percent). Only 27.5 percent of organizations replied that they had such policy, however, most of them were not real policy (78.6 percent). The most frequent health promotion activity was relationship promotion with nearby community (64.1 percent). Regarding health promotion scores (total 45), only 5 organizations (1.7 percent) had score of 45. The average score was 21.8. The current support they had was mainly knowledge (58.8 percent). The most support they needed was budget (35 percent), whereas the most frequent problem they faced was lack of personnel responsible for health promotion (36.7 percent). In conclusion, this study provides background information on situation in health promotion in provincial organizations, Bangkok Metropolitan and Pattaya City. It can be useful in developing organizations regarding health promotion.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อาชีวเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21906
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.398
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.398
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Teerayudh.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.