Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2192
Title: การหาแบบจำลองวงจรทบระดับที่ใช้กิ่งควบคุมแรงดันด้วยวิธีชักตัวอย่างข้อมูล
Other Titles: Sampled-data modeling of boost converter using voltage control branch
Authors: อนันต์ ศุภราวงศ์, 2522-
Advisors: ยุทธนา กุลวิทิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
Advisor's Email: Youthana.K@chula.ac.th
Subjects: วงจรไฟฟ้า
การควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์
คอนเวอร์เตอร์
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ได้มีการใช้วิธีหาแบบจำลองโดยวิธีชักตัวอย่างข้อมูลเพื่อคำนวณหาแบบจำลองสัญญาณขนาดเล็กของวงจรทบระดับที่ใช้กิ่งควบคุมแรงดัน ที่ใช้อินเวอร์เตอร์เรโซแนนว์อนุกรมทำหน้าที่เป็นแหล่งกระแสของกิ่งควบคุมแรงดัน ในแต่ละคาบของการทำงานประกอบด้วย 4 ช่วงเวลาที่มีรูปแบบของวงจรเป็นแบบเชิงเส้นที่แตกต่างกัน ตำแหน่งเวลาชักตัวอย่างข้อมูลจะเลือกให้ตรงกับเวลาสิ้นสุดของแต่ละคาบ สมการผลต่างสืบเนื่องของวงจรเชิงเส้นที่ไม่แปรผันตามเวลาที่ให้ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสถานะที่จุดสิ้นสุดคาบการสวิตช์สองคาบที่ติดต่อกันคำนวณจากผลเฉลยของสมการสถานะของแต่ละรูปลักษณ์โดยใช้ค่าสุดท้ายของช่วงเวลาก่อนหน้าเป็นค่าเริ่มต้นของช่วงเวลาถัดไป การหาแบบจำลองแบบเชิงเส้นจากแบบจำลองสำหรับสัญญาณขนาดใหญ่ ใช้อนุพันธ์อันดับหนึ่งของอนุกรมเทเลอร์ ทำให้ได้สมการผลต่างสืบเนื่องของการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กของตัวแปรสถานะจากคาบหนึ่งไปยังอีกคาบหนึ่ง จากนั้นจึงเปลี่ยนสมการผลต่างสืบเนื่องของการเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กให้เป็นสมการอนุพันธ์ของเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กของตัวแปรสถานะเพื่อใช้คำนวณหาฟังก์ชันโอนย้ายแบบต่อเนื่อง ซึ่งได้แก่ ผลตอบเชิงความถี่ของตัวแปรควบคุมไปสู่ตัวแปรด้านออก ผลตอบเชิงความถี่ตัวแปรด้านเข้าไปสู่ตัวแปรด้านออก อิมพีแดนซ์ด้านเข้าและอิมพีแดนซ์ด้านออก โดยคำนวณสำหรับเงื่อนไขการทำงานที่แตกต่างกัน 4 เงื่อนไข และนำไปเปรียบเทียบกับผลการทดลองและผลการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์
Other Abstract: Sampled-data modeling technique was applied to derive a small-signal model of a boost converter using voltage control cell. Series resonant inverter was used as a current source of the voltage control cell. In each switching period, the operation of the converter consists of four switching intervals with different linear circuit configurations. The sampling instant was chosen to coincide with the end of each switching period. Discrete-time equation of a linear time invariant system relating state vector at the end of two successive switching periods was derived by calculating consecutively the forced response of state-space model of each circuit configuration using final values of the preceding interval as an initial values of the interval under consideration. Linearization of the large signal discrete-time equation using first order Tailors' series expansion led to a discrete-time equation describing a small change of state vector from one sampling instant to the next. Small signal discrete-time equation was then converted to continuous-time equation so that the continuous-time transfer function could be derived. Frequency response of control to output, line to output, input and output impedances of the converter for four different operating conditions were calculated and compared with those obtained experimentally. The results of computer simulation as well as those calculated from circuit averaging model were also presented for comparison.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมไฟฟ้า
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2192
ISBN: 9745312061
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anant.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.