Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21975
Title: Factors influencing concentration-to-dose ratio of lamotrigine in Thai patients
Other Titles: ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราส่วนความเข้มข้นของยาในเลือดต่อขนาดยาของยาลาโมทริจีนในผู้ป่วยชาวไทย
Authors: Noppaket Singkham
Advisors: Baralee Punyawudho
Somchai Towanabut
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Pharnaceutical Science
Advisor's Email: No information provided
No information provided
Subjects: Lamotrigine
Pharmacokinetics
Issue Date: 2011
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: Background Genetic variation is one of factors that contribute to the interindividual variability of pharmacokinetic. UGT1A4 is the major enzyme responsible for lamotrigine metabolism. Therefore, UGT1A4 polymorphisms could lead to the variability of glucuronidation enzyme activity and may contribute to the difference of lamotrigine pharmacokinetics among ethnicities. Objectives To investigate the effect of genetic (UGT1A4 polymorphisms) and non-genetic factors (age, gender, body weight, and co-medications) on lamotrigine concentration-to-dose ratio (LTG-CDR) in Thai patients. Methods A prospective analysis study in 73 patients from Prasat Neurological Institute, who had stable lamotrigine dose for at least 2 weeks. Lamotrigine plasma concentration was determined using HPLC method. Genotyping of UGT1A4 was carried out by Taqman allelic discrimination assays. ANOVA was used to compare LTG-CDR among groups of different polymorphism. Multiple regression analysis was performed to investigate an association of all factors and LTG-CDR. Results The allele frequency of UGT1A4 142 T>G in Thai patients was 27%. However, the variant of UGT1A4 70 C>T was not found. The LTG-CDR of patients having at least 1 variant allele (T/G or G/G) was significantly lower than patients having wild type allele (T/T) for patients using lamotrigine monotherapy or lamotrigine + enzyme inhibitor + enzyme inducers (p=0.019). The stepwise regression model showed that age, the use of enzyme inducers, and enzyme inhibitor influence LTG-CDR. This model could explain 20.40% of the variance of LTG-CDR.Conclusion UGT1A4 polymorphism may contribute to the variability of LTG-CDR in Thai population. However, after accounting for age and co-medications, the influence of UGT1A4 polymorphism was not found.
Other Abstract: ภูมิหลัง ความผันแปรทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความผันแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา เนื่องจากยาลาโมทริจีนถูกเมแทบอไลซ์ผ่านเอนไซม์ UGT 1A4 เป็นหลัก ถ้ามีการกลายพันธุ์ของยีนที่ควบคุมเอนไซม์ดังกล่าวอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเอนไซม์เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดความผันแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของปัจจัยทางพันธุกรรม (ภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4) และปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม (อายุ เพศ น้ำหนัก และยาที่ใช้ร่วม) ต่ออัตราส่วนความเข้มข้นของยาในเลือดต่อขนาดยาของยาลาโมทริจีน (lamotrigine concentration-to-dose ratio; LTG-CDR) ในผู้ป่วยชาวไทยวิธีทำการศึกษา เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้าในผู้ป่วย 73 ราย ณ สถาบันประสาทวิทยา ซึ่งได้รับยาลาโมทริจีนในขนาดคงที่เป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยทำการวัดระดับยาลาโมทริจีนในเลือดด้วยเทคนิค HPLC และตรวจภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4 ด้วยวิธี Taqman allelic discrimination ใช้สถิติ ANOVA เพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของ LTG-CDR ระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4 ที่แตกต่างกันและใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางพันธุกรรมและปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมที่มีผลต่อค่า LTG-CDR ผลการศึกษา ในผู้ป่วยชาวไทยพบว่ามีความถี่ของอัลลีล UGT1A4 142T>G ร้อยละ 27 แต่ไม่พบภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4 70 C>T ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยาลาโมทริจีนเดี่ยวๆ หรือใช้ยาลาโมทริจีนร่วมกับยาที่ยับยั้งเอนไซม์และยาที่เหนี่ยวนำเอนไซม์ ซึ่งมียีน UGT1A4 142T>G ผิดปกติอย่างน้อย 1 อัลลีล (T/G หรือ G/G) พบว่ามีค่า LTG-CDR ต่ำกว่าผู้ป่วยที่มีลักษณะยีนปกติ (T/T) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.019) จากผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเชิงเส้นพบว่า อายุ การใช้ยาที่ยับยั้งเอนไซม์และยาที่เหนี่ยวนำเอนไซม์ร่วมด้วย โดยสมการสามารถอธิบายความผันแปรของค่า LTG-CDR ได้ร้อยละ 20.40 สรุปผล ภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4 อาจมีผลต่อความผันแปรของค่า LTG-CDR ในผู้ป่วยชาวไทย อย่างไรก็ตามเมื่อนำปัจจัยทางพันธุกรรมมาพิจารณาร่วมกับปัจจัยที่ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม ได้แก่ อายุและยาที่ใช้ร่วม พบว่าภาวะพหุสัณฐานของยีน UGT1A4 ไม่มีผลต่อความผันแปรทางเภสัชจลนศาสตร์ของยาลาโมทริจีน
Description: Thesis (M.Sc.In Pharm)--Chulalongkorn University, 2011
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Clinical Pharmacy
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21975
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.1617
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.1617
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
noppaket_si.pdf1.68 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.