Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21977
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พนม คลี่ฉายา | - |
dc.contributor.author | เยาวลักษณ์ ภูศรีเกษม | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-03T09:22:00Z | - |
dc.date.available | 2012-09-03T09:22:00Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21977 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายกระบวนการประชาสัมพันธ์ละครโทรทัศน์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้จัดละคร ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของบริษัทผลิตละครโทรทัศน์ 6 บริษัท รวม 8 คน ร่วมกับการวิเคราะห์เอกสารข่าว และแผนงานด้านการประชาสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการประชาสัมพันธ์ละครโทรทัศน์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวิจัย การวางแผน การดำเนินงานสื่อสาร และการประเมินผล ทั้งนี้ พบว่ามีการให้น้ำหนักในขั้นตอนการวางแผนและการดำเนินงานตามกลยุทธ์และกลวิธีความสำคัญมากที่สุด ขั้นตอนที่ 1 การวิจัย พบว่าก่อนละครออกอากาศเพื่อกำหนดแผนการประชาสัมพันธ์ มีการวิเคราะห์แนวเรื่องและกลุ่มเป้าหมายเพื่อการวางแผน และในระหว่างละครออกอากาศ มีการนำข้อมูลผู้ชมมาใช้เพื่อปรับปรุงแผนงาน ขั้นตอนที่ 2 การวางแผน พบว่ามีการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เป็นการเพิ่มจำนวนผู้ชม สร้างกระแส และสร้างภาพลักษณ์ กลุ่มเป้าหมายมีทั้งกลุ่มที่เจาะจงตามเนื้อหาละคร และประชาชนทั่วไป ในด้านกลยุทธ์พบว่ามีกลยุทธ์ ได้แก่ การสร้างประเด็นข่าว การใช้คำ การเปิดเผยเนื้อหาละคร การบูรณาการสื่อ และการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักข่าว ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินงานสื่อสาร เป็นการลงมือปฏิบัติตามกลยุทธ์โดยใช้กลวิธีหลากหลาย เช่น การเผยแพร่ข่าวสาร การสัมภาษณ์ การจัดกิจกรรม การแถลงข่าว นอกจากนี้พบว่าผู้รับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์มีทั้งการตั้งหน่วยงานภายในบริษัท และการจ้างนักประชาสัมพันธ์อิสระ การสร้างขวัญกำลังใจและแรงจูงใจ พบว่ามีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง การให้ผลประโยชน์ตอบแทน และทำงานเป็นทีมเวิร์ค มีการควบคุมและติดตามงานทางวาจา ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผล ได้แก่ ปริมาณข่าวที่ตีพิมพ์ จำนวนผู้ชมหรือเรทติ้ง เนื้อหาข่าวที่ตีพิมพ์ และกระแสความคิดเห็นจากผู้ชม โดยมีการประเมินระหว่างออกอากาศและหลังละครโทรทัศน์อวสาน | en |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to explain the television drama’s public relations process. The methodology is qualitative research through in-depth interview with 8 heads of public relations from 6 companies and the related document. The results find that the television drama’s public relations process consist of 4 steps: research, action, communication and evaluation. Generally, the process of action and communication to implement the strategies by various tactics will be emphasized rather than the process of research and evaluation, Research, to analyze theme and target audiences before the television drama broadcasts for setting the public relations plan. Another, to use rating data during the television drama broadcasts for improving the public relations plan. Action, the objectives of the television drama’s public relations are to punch right the information to the target audiences for increasing higher rating, to generate the trend and corporate image. There are primary and mass audiences. The strategies are news creation, words selection, disclosure about TV drama, integration of media and build relationship with reporters.Communication, to implement the strategies with creation various tactics: publicity, interview, press conference and special event. The practitioners provide in-house PR and freelancer. To boosting the motivation, there are the good relationship, benefit and working as a team. Head will follow-up works by talking. Evaluation, indicators are news publication, rating, news content and the audience’s feedback. The results of evaluation will use to the plan the next TV drama. | en |
dc.format.extent | 4656324 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.534 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | ละครโทรทัศน์ | en |
dc.subject | การประชาสัมพันธ์ | en |
dc.title | กระบวนการประชาสัมพันธ์ละครโทรทัศน์ | en |
dc.title.alternative | Television drama’s public relations process | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิเทศศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Phnom.K@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.534 | - |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
yaowaluck_ph.pdf | 4.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.