Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22023
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ภาษาอังกฤษกับความสามารถในการระบุคำภาษาอังกฤษที่มีการกร่อนของเสียงสระในนักเรียนไทย |
Other Titles: | The relationship between the English language experience and the identification ability of English words with vowel reduction by Thai students |
Authors: | เกศรา ตาลอิสาร |
Advisors: | สุดาพร ลักษณียนาวิน |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sudaporn.L@Chula.ac.th |
Subjects: | ภาษาอังกฤษ -- การใช้ภาษา ภาษาอังกฤษ -- การออกเสียง นักเรียน -- ไทย English language -- Usage English language -- Pronunciation Students -- Thailand |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์และเปรียบเทียบความสามารถในการระบุคำภาษาอังกฤษที่มีการกร่อนของเสียงสระ 3 กลุ่ม คือคำที่กร่อนเป็นเสียง [I] [<-->] และ [<-->II] และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ภาษาอังกฤษกับความสามารถในการระบุคำของนักเรียนไทย ข้อมูลเก็บจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ได้แก่ นักเรียนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูง และนักเรียนไทยที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ จำนวนกลุ่มละ 30 คน และกลุ่มเจ้าของภาษา เพื่อนำมาเปรียบเทียบ 10 คน ใช้คำเป้าหมายจำนวน 30 คำ เก็บข้อมูลโดยวิธีเขียนคำตามคำบอก ผลการวิจัยพบว่า เจ้าของภาษา ระบุคำได้ถูก 98.33% ระบุคำผิด 1.00% และไม่ระบุคำ 0.67% นักเรียนกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษสูงระบุคำได้ถูก 62.56% ระบุคำผิด 31.11% และไม่ระบุคำ 6.33% นักเรียนกลุ่มที่มีประสบการณ์ภาษาอังกฤษต่ำ ระบุคำได้ถูก 26.00% ระบุคำผิด 47.22% และไม่ระบุคำ 26.78% ข้อผิดที่พบในกลุ่มนักเรียนไทยจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1) ระบุคำได้ถูกแต่สะกดคำผิด 2) ระบุคำผิดเป็นคำอื่น และ 3) ระบุคำผิดเป็นคำอื่นและสะกดคำผิด 4) ระบุคำผิดไม่เป็นคำ 5) ไม่ระบุคำ ส่วนเจ้าของภาษามีการระบุคำได้ถูกแต่สะกดคำผิด ระบุคำผิดเป็นคำที่มีความหมาย และไม่ระบุคำ โดยกลุ่มประสบการณ์สูงมีการระบุคำผิดเป็นคำที่มีความหมายมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มประสบการณ์ต่ำไม่ระบุคำมากที่สุด ผลของการวิจัยแสดงความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ภาษาอังกฤษ กับความสามารถในการระบุคำที่มีการกร่อนของเสียงสระ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ปัญหาในการระบุคำจากกลุ่มตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ความสามารถในการระบุคำต้องอาศัยความรู้ทางไวยากรณ์ที่ฝังตัวอยู่ในคำ ทั้งในด้านเสียง ตัวสะกด และความหมายของคำ รวมทั้งคลังคำที่ผู้เรียนมีอยู่ด้วย |
Other Abstract: | To analyze and compare the ability in identifying English words with reduced vowel sounds using dictation task, and to analyze the relationship between the English language experience and the identification ability. The sample consists of 3 groups of speakers: 1) 10 native speakers of the English language 2) 30 Thai students with high English language experience. 3) 30 Thai students with low English language experience. The test words in this study contain 30 words with 3 reduced vowel sounds:[I] [<-->] และ [<-->II] in each group. It was found that the native speaker group could identify the words 98.33% correctly, 1.00% incorrectly, and 0.67% no answer. The high experience group could identify the words 62.56% correctly, 31.11% incorrectly, and 6.33% no answer. The low experience group had the lowest identification ability, they could identify the words 26.00% correctly, 47.22% incorrectly, and 26.78% no answer. Five major categories of the errors are: 1) Identifying the word correctly but incorrectly spelt; 2) Identifying the word as another word; 3) Identifying the word as another word and incorrectly spelt; 4) Identifying a non-word which is incorrect and meaningless; 5) No word identified. The native speakers had problems identifying the word in the first and second categories. The high experience group had problem identifying the word in all four categories but mostly in the second category. The low experience group had problem identifying the word in all four categories but mostly in the fifth categories. The test result showed that the English language experience was related to the identification ability of English words with vowel reduction. In addition, the identification ability depended on the linguistic knowledge, both of theoretical lexicon with embedded theoretical grammar, i.e., orthographical, phonological and semantic representation. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ภาษาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22023 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.546 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2011.546 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kesara_ta.pdf | 2.85 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.