Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22029
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ธนิต จินดาวณิค | - |
dc.contributor.author | กษิดา ชำนาญดี | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-08T04:27:57Z | - |
dc.date.available | 2012-09-08T04:27:57Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22029 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระหว่างการติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายในและภายนอกของผนังต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานปรับอากาศ เมื่อมีสภาวะใช้งานปรับอากาศที่มีรูปแบบแตกต่างกัน โดยงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) ด้วยการสร้างห้องทดลองทางพลังงาน ขนาด 3.00x3.00 เมตร สูง 2.50 เมตร จำนวน 2 ห้อง โดยมีวัสดุผนังอาคารเป็นผนังก่ออิฐฉาบปูนครึ่งแผ่นติดตั้งฉนวนโฟมโพลีสไตรีนแบบขยายตัวไว้ที่ภายในและภายนอกของผนัง และติดตั้งเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนในห้องทดลองแต่ละหลัง จากนั้นทำการเก็บข้อมูลด้านอุณหภูมิด้วยเครื่อง data logger (HOBO) และเก็บข้อมูลอัตราการใช้พลังงานปรับอากาศด้วยมิเตอร์ไฟฟ้า จากนั้นจึงนำผลข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบ และสรุปผล ผลการวิจัยพบว่า ในสภาวะที่ไม่มีการปรับอากาศ การติดตั้งฉนวนภายนอกสามารถลดการถ่ายเทความร้อนในช่วงที่อุณหภูมิอากาศภายนอกมีค่าสูงสุดได้ถึง 16.71% โดยมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิอากาศภายในช่วงกลางวันต่ำและคงที่มากกว่าการติดตั้งฉนวนภายใน ในสภาวะที่มีการปรับอากาศเฉพาะช่วงกลางวันและกลางคืน การติดตั้งฉนวนภายในสามารถลดอัตราการใช้พลังงานปรับอากาศได้มากกว่าการติดตั้งฉนวนภายนอก 8.57% และ 32.6% ตามลำดับ เนื่องจากใช้พลังงานในการปรับอากาศช่วงเริ่มต้นน้อยกว่าการติดตั้งฉนวนภายนอก 34.76 – 35.1 % โดยในช่วงเปิดเครื่องปรับอากาศจะมีอุณหภูมิอากาศภายในเฉลี่ยต่ำกว่า ส่วนในสภาวะที่มีการปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง การติดตั้งฉนวนภายนอกสามารถลดอัตราการใช้พลังงานปรับอากาศได้มากกว่าการติดตั้งฉนวนภายใน 0.57% ในสภาวะที่ไม่มีการปรับอากาศ หรือสภาวะที่มีการปรับอากาศตลอด 24 ชั่วโมง การติดตั้งฉนวนภายนอกเป็นตำแหน่งที่มีความเหมาะสม เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดการถ่ายเทความร้อนได้ดี ทำให้มีอุณหภูมิเฉลี่ยภายในต่ำและมีความคงที่ ส่งผลให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ จึงมีอัตราการใช้พลังงานปรับอากาศน้อยกว่าการติดตั้งฉนวนภายใน ส่วนในสภาวะที่มีการเปิด–ปิดเครื่องปรับอากาศเป็นช่วงเวลา การติดตั้งฉนวนภายในเป็นตำแหน่งที่มีความเหมาะสม เนื่องจากใช้พลังงานปรับอากาศช่วงเริ่มต้นน้อย อุณหภูมิอากาศภายในเย็นลงได้รวดเร็ว ทำให้สามารถลดอัตราการใช้พลังงานปรับอากาศรวมได้มาก และมีอุณหภูมิเฉลี่ยในช่วงปรับอากาศต่ำกว่าการติดตั้งฉนวนภายนอก | en |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research is to study and compare inside and outside thermal wall insulation installation in terms of air-conditioning energy use efficiency in different air-conditioning situations. This is an experimental study conducted with the construction of two energy laboratory rooms with dimensions of 3.00x3.00 meters and a height of 2.50 meters. The materials for the building wall consisted of a half sheet of stucco brick wall with expanding type polystyrene foam insulation inside and outside, and a split type air-conditioner installation in each room. Then, data collection was done of temperatures through a data logger machine (HOBO) and of the rate of air-conditioning energy use through an electrical meter. After that, the collected data was comparatively analyzed and conclusions drawn. The research results revealed that in non-air-conditioned situations, the outside thermal insulation installation can reduce heat transfer in periods of maximum outside temperatures up to 16.71 percent more than inside thermal insulation installation with an average low and constant temperature. In air-conditioned situations during daytime and night time, inside thermal insulation installation can reduce the energy air-conditioning use rate more than outside thermal insulation installation since earlier air-conditioning energy use was 43.76-35.1 percent less than outside thermal insulation installation, with a lower average temperature inside during the time air-conditioners were turned on. As for situations with 24 hour air-conditioning, outside thermal insulation installation can reduce the rate of air-conditioning energy use by 0.57 percent more than inside thermal insulation installation. In situations when there is no air-conditioning for 24 hour periods, outside thermal insulation installation is suitable because there is satisfactory efficiency in the reduction of heat transfer, resulting in an average low and constant temperature inside. This leads to uniform air-conditioner function and a lower air-conditioning energy use rate than inside thermal insulation installation. As for situations where air-conditioners are turned on and off for specific periods of time, inside thermal insulation installation is suitable because less air-conditioning energy is used in the beginning period. This causes a rapid drop in the inside temperature and enables a greater reduction in total air-conditioning energy use and a lower average temperature while air-conditioning in on than outside thermal insulation installation. | en |
dc.format.extent | 6481098 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.552 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การใช้พลังงานไฟฟ้า | en |
dc.subject | อาคาร -- การปรับอากาศ | en |
dc.subject | อาคาร -- ฉนวนความร้อน | en |
dc.title | การเปรียบเทียบระหว่างการติดตั้งฉนวนกันความร้อนภายในและภายนอกของผนังต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานปรับอากาศ | en |
dc.title.alternative | A comparison of insulation installation on the inside and outside of walls for cooling energy efficiency | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | สถาปัตยกรรม | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | Thanit.C@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.552 | - |
Appears in Collections: | Arch - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
kasida_ch.pdf | 6.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.