Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22062
Title: การพัฒนาระบบประเมินผลการผลดำเนินงานของฝ่ายออกแบบในบริษัทที่ปรึกษา
Other Titles: Development of performance evaluating system for a design team in consulting companies
Authors: กิตติ เดือนหงาย
Advisors: วัชระ เพียรสุภาพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vachara.P@Chula.ac.th
Subjects: การออกแบบ
การก่อสร้าง -- การออกแบบและการสร้าง
อุตสาหกรรมการก่อสร้าง -- การจัดการ
การวัดผลงาน
Design
Building -- Design and construction
Construction industry -- Management
Work measurement
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานออกแบบในช่วงก่อนดำเนินงานก่อสร้างมีความสำคัญ เนื่องจากการออกแบบที่ผิดพลาดส่งผลให้เกิดปัญหาระหว่างการก่อสร้าง เพื่อลดปัญหาที่เกิดจากงานออกแบบ งานวิจัยในอดีตได้นำเสนอเครื่องมือ และแนวคิดต่างๆ ในการปรับปรุงการดำเนินงานของฝ่ายออกแบบ อย่างไรก็ตามขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสะท้อนผลของการใช้เครื่องมือ หรือแนวคิดดังกล่าวในองค์กรคือ การวัดและประเมินผลการดำเนินงาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการวัดและประเมินผลการดำเนินงานของฝ่ายออกแบบของบริษัทที่ปรึกษา โดยขั้นตอนการพัฒนาระบบการวัดและประเมินผลเริ่มจากการศึกษารายการดัชนีวัดผลที่เหมาะสม โดยการรวบรวมเอกสารและงานวิจัยในอดีต และสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในฝ่ายออกแบบด้วยเทคนิคเดลฟาย (Delphi techniques) จำนวน 19 ท่าน หลังจากนั้นจึงรวบรวมเกณฑ์การประเมินจากผู้มีประสบการณ์ในฝ่ายออกแบบจำนวน 19 ท่าน และระบุค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละดัชนีจากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในฝ่ายออกแบบจำนวน 7 ท่าน จากนั้นพัฒนากฎการอนุมานโดยการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์ในฝ่ายออกแบบจำนวน 10 ท่าน และพัฒนาระบบประเมินผลแบบฟัซซี ในลำดับสุดท้ายระบบดังกล่าวจะถูกทดสอบความถูกต้อง โดยเทียบคำตอบกับผลที่ได้จากโครงการออกแบบจำนวน 13 โครงการ ผลการศึกษาสามารถสรุปรายการดัชนีวัดผลดำเนินงานได้ 9 รายการ โดยสามารถจำแนกออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ ความสามารถในการควบคุมต้นทุนของฝ่ายออกแบบ ความสามารถในการควบคุมแผนงานของฝ่ายออกแบบ คุณภาพของเอกสารงานออกแบบ ผลิตภาพของผู้ออกแบบ และการตอบสนองต่อฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ผลจากการใช้ระบบดังกล่าว พบว่าค่าร้อยละของความคลาดเคลื่อนอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
Other Abstract: The design works during pre-construction phase is crucial because the design problem such as defective design could lead to several problems during construction phase. To mitigate the design problems, the previous research have proposed many methods, tools, and principals to improve the performance of design work. Nevertheless, one important procedure which ensures the quality of design work after applied those tools, policies, or principals in organisation is the performance measurement and evaluation. This research aims to develop the tools for measuring and estimating performance of design team. The research methodology began with developing the list of suitable quantitative indicators by literatures review and interviewed 19 designers in consulting companies with delphi technique. Next the research collected the performance evaluating criteria from 19 designers and determined the important weight of each indicator from seven designers. Then the research collected the rule base conditions from ten designers and developed the fuzzy evaluation system. Lastly the system was tested with 13 design projects. The research results found nine indicators which were categorized into five main groups. These are cost controlling ability of design team, time controlling ability of design team, quality of design documents, productivity of design team, and the enthusiastic and response of design team. In addition, the results of using the system with case studies found the percent error in the acceptable level.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22062
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.678
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.678
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
kitti_du.pdf4.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.