Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22072
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วีระศักดิ์ ลิขิตเรืองศิลป์ | - |
dc.contributor.author | ธนากร ธเนศธนาธร | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2012-09-10T14:07:04Z | - |
dc.date.available | 2012-09-10T14:07:04Z | - |
dc.date.issued | 2554 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22072 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554 | en |
dc.description.abstract | ในปัจจุบันอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับอาคารเขียวเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของโครงการก่อสร้างอาคารเขียว การพัฒนาโครงการอาคารเขียวต้องอาศัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจำนวนมากซึ่งไม่ได้ถูกเรียบเรียงในลักษณะที่จะนำไปใช้งานได้ทันที ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบจัดการสารสนเทศเพื่อช่วยบริหารโครงการอาคารเขียวให้สะดวกและมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้เสนอแนวทางการออกแบบระบบจัดการสารสนเทศสำหรับการพัฒนาโครงการอาคารเขียว (Green Building Information Management System หรือ GBIMS) โดยอ้างอิงจากระบบประเมิน LEED จากการวิเคราะห์ LEED Reference Guide ซึ่งเป็นหนังสืออธิบายข้อพิจารณาในการรับรองอาคารเขียวตามระบบประเมิน LEED ใน 4 ประเด็นหลัก คือ เวลา (Timeline) กิจกรรม (Activity) มาตรฐานอ้างอิง (Referenced Standards) และกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Team) ร่วมกับแนวทางการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างทั่วไปผู้วิจัยสามารถจำแนกข้อมูลทั้งหมดออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ วัฏจักรชีวิต (Life Cycle) และสารสนเทศ (Information) งานวิจัยนี้แบ่งวัฏจักรชีวิตของการพัฒนาโครงการอาคารเขียวออกเป็น 3 ระดับ คือ ขั้นตอนหลัก (Stage) ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน กระบวนการ (Process) ซึ่งประกอบด้วย 32 กระบวนการ และกิจกรรม (Activity) ซึ่งประกอบด้วย 275 กิจกรรม ส่วนสารสนเทศประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 57 ฝ่าย และมาตรฐานอ้างอิง 50 มาตรฐาน จากนั้นจึงเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างวัฏจักรชีวิตกับสารสนเทศเข้าด้วยกัน โดยใช้แผนผังคลาส (Class Diagram) จากนั้นสารสนเทศทั้งหมดได้ถูกนำเข้าสู่ระบบ ระบบ GBIMS ที่ถูกพัฒนาขึ้นได้ถูกนำไปเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญระบบการประเมิน LEED จำนวน 7 ท่าน ซึ่งแสดงความคิดเห็นว่า การจัดการสารสนเทศตามขั้นตอนจริงของการพัฒนาโครงการอาคารเขียวนี้มีความเหมาะสมและสามารถช่วยในการบริหารโครงการได้จริง ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการอาคารเขียวให้สะดวกและมีประสิทธิภาพ แนวคิดนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการสารสนเทศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพัฒนาโครงการอาคารเขียวเพื่อให้การบริหารจัดการโครงการมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้นในอนาคต | en |
dc.description.abstractalternative | In present, the worldwide construction industry has been focusing more on green buildings. A clear example is a significant growth of green building projects. Green building project development requires a large amount of information, which is not organized for practical purposes. Thus, it is necessary to develop an information management system that assists in administrating green building projects conveniently and efficiently. This research presents a guideline for designing a green building information management system (GBIMS) based on the LEED rating system. First, we analyzed four main issues of the LEED Reference Guide (i.e., a manual that explains the considerations concerning the green building approval): timeline, activity, referenced standards, and team.The findings were then integrated with general concepts of construction project management to yield two main groups of data: life cycle and information. In this research, the life cycle of green building project development is broken down into three levels: stage, process, and activity, the numbers of which are 8 stages, 32 processes, and 275 activities, respectively. The information consists of 57 participants and 50 referenced standards. The relation between the life cycle and the information was presented by using a class diagram. All relevant information was then input into the system. The proposed GBIMS was presented to seven LEED experts, which were satisfied with its structure and practicality. The results of this research can be used to administer green building projects more conveniently and efficiently. The presented concept can further be applied to manage other information in green building project development. | en |
dc.format.extent | 2298227 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.686 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | อาคาร -- การอนุรักษ์พลังงาน | en |
dc.subject | ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ | en |
dc.subject | อาคาร -- แง่สิ่งแวดล้อม | en |
dc.title | การออกแบบระบบจัดการสารสนเทศสำหรับการพัฒนาโครงการอาคารเขียว | en |
dc.title.alternative | Design of green building information management system for project development | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | fcevlk@eng.chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2011.686 | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanakorn_Th pdf.pdf | 2.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.