Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22088
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัจฉรา ไชยูปถัมภ์-
dc.contributor.advisorวัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorชรีย์นาท จิตต์บรรเทา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialกรุงเทพฯ-
dc.date.accessioned2012-09-14T02:08:22Z-
dc.date.available2012-09-14T02:08:22Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22088-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554en
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์แนวคิดเกี่ยวกับ การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งแบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา และประเมินผลระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร โดยคัดเลือกสถาบันจากการแบ่งประเภทสถาบันอุดมศึกษา และสาขาวิชาตามมาตรฐานการจัดการศึกษานานาชาติ (ISCED, UNESCO, 1997) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 3 กลุ่ม คือ (1) ผู้บริหารงานฝ่ายวิชาการ ผู้บริหารฝ่ายกิจการนักศึกษา จำนวน 20 คน (2) อาจารย์ที่ปรึกษานิสิตนักศึกษาชั้นปีที่ 1 จำนวน 166 คน (3) นิสิตนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบกิจกรรมการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษา และแบบประเมินผล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติเชิงบรรยาย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t - test) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. กระบวนการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร มีองค์ประกอบ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และการป้อนกลับ 2. ค่าเฉลี่ยโดยรวมของการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (X̅ = 3.38) อาจารย์ที่ปรึกษา มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.72) เช่นเดียวกับนิสิตนักศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.70) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารงาน ได้แก่ การจัดสรรงบประมาณเกี่ยวกับการพัฒนาระบบยังไม่เพียงพอ 3. การพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครประกอบด้วย (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) หน่วยงานที่รับผิดชอบ (4) การดำเนินงาน (5) กิจกรรมเพื่อประเมินผลระบบให้คำปรึกษา ได้แก่ การประชุมชี้แจง และกิจกรรมจำนวน 11 ครั้งๆ ละ 90 -120 นาที 4. การประเมินผลระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครพบว่า ก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นิสิตนักศึกษาได้รับการพัฒนาคุณลักษณะด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษา มีความสำคัญมากที่สุดร้อยละ 88.89en
dc.description.abstractalternativeThe aim of this research was to analytically study and synthesize the concept of the development of a student advising system for higher educational institutions in Bangkok. The study procedures comprised of current developments in student advising systems, the development of student advising systems and evaluating the student advising system for higher educational institutions in Bangkok. Institutions selected for study were based on the category of higher institutions and the majors offered according to the International Standard Classification of Education (ISCED, UNESCO, 1997). There were three sampling groups (1) 20 Academic administrators and Student Affairs administrators (2) 166 freshmen advisors (3) 330 freshmen students. The research tools were content analysis, interviews, surveys, opinion questionnaires, advising activity development forms, and assessments. Method of data analysis was content analysis, descriptive statistics, means, percentage, standard deviation and t-tests. Results of study were as following: 1. The process of student advising system for higher educational institutions in Bangkok comprised of input, processes, output and feedback. 2. Total means of the development of a student advising system for higher educational institutions in Bangkok showed that there was a moderate level for administrators (X̅ = 3.38), high level for advisors (X̅ = 3.72) and students (X̅ = 3.70) respectively. Problems and challenges identified in advising administration were insufficient budget allocations for developing advising systems. 3. The development of a student advising system for higher educational institutions in Bangkok consisted of (1) Rationales (2) Objectives (3) Responsible Units (4) Implementations (5) Evaluation Activities such as conducting 11 briefing activities for 90-120 minutes per time. 4. Evaluation of the student advising system for higher educational institutions in Bangkok revealed that there was a significant difference between before and after the research study at 0.05. Students were developed in terms of virtues, ethics, knowledge, individual relations and responsibilities, and the percentage of satisfaction level towards the development of student advising system was highly important at 88.89en
dc.format.extent3661074 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2011.695-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectนักศึกษา -- การให้คำปรึกษาen
dc.subjectนักศึกษา -- การให้คำปรึกษา -- การประเมินen
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย -- กรุงเทพฯen
dc.titleการพัฒนาระบบการให้คำปรึกษานิสิตนักศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeDevelopment of a student advising system for higher Education institutions in Bangkoken
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาเอกes
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorAtchara.C@Chula.ac.th-
dc.email.advisordwallapa@dpu.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2011.695-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
charenart_ji.pdf3.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.