Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22096
Title: การศึกษาปัจจัยทางทัศนวิสัยเพื่อเพิ่มแรงจูงใจให้เข้ารับบริการในสปา
Other Titles: Visual impact study to enhance invitation atmostphere in spa
Authors: ภาคภูมิ ดิสนีเวทย์
Advisors: วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Vorasun.B@Chula.ac.th
Subjects: การรับรู้
การรับรู้ทางสายตา
สีในการตกแต่งภายใน
สถานตากอากาศเพื่อสุขภาพ -- การตกแต่ง
การจูงใจ (จิตวิทยา)
Perception
Visual perception
Color in interior decoration
Health resorts -- Decoration
Motivation ‪(Psychology)‬
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ธุรกิจสปาในปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย มีการแข่งขันจากผู้ประกอบการทางธุรกิจสปา ในด้านการบริการ ราคา สถานที่ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการ ซึ่งสิ่งที่สร้างแรงจูงใจให้เข้ามารับบริการส่วนหนึ่งนั้นเกิดขึ้นจากการมองเห็นหรือทัศนวิสัยที่ผู้มอง มองเข้าไปในสปาแล้วเกิดแรงจูงใจให้เข้ารับบริการสปา การวิจัยนี้จะเน้นการหาตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจ ด้วยการวิเคราะห์หาตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลในการสร้างแรงจูงใจให้เข้าบริการสปา โดยการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำรวจทางกายภาพ และเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพื่อหาตัวแปรสำคัญที่มีอิทธิพลรุนแรงมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การสร้างสภาพแวดล้อมจำลองและทำการทดสอบแรงจูงใจในการเข้ารับบริการสปา ด้วยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คนที่เข้ามาใช้บริการสปาโดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินผล ตัวแปรที่มีอิทธิผลรุนแรงต่อการจูงใจ คือ 1. จุดดึงดูดสายตา 2. สีของแสง 3. ความเปรียบต่างที่วัตถุกับพื้นภาพ เมื่อนำตัวแปรมาสร้างในสภาพแวดล้อมจำลอง จะเป็นจุดที่สามารถดึงดูดให้ผู้ที่เข้ามารับบริการมีแรงจูงใจที่จะเข้ามารับบริการ โดยการสร้างให้จุดสนใจที่ใช้ตัวแปรทั้งสามเพื่อสร้างแรงจูงใจในระยะไกล ผู้เข้ารับบริการมีความรู้สึกอยากเข้ารับบริการเมื่อเห็นจุดดึงดูดสายตาที่มีความโดดเด่น ด้วยการใช้สีของแสงโทนร้อนเพื่อการสร้างแรงกระตุ้นต่อความรู้สึก และการให้ค่าความเปรียบต่างที่วัตถุกับภาพพื้น ทำให้เกิดความสนใจและประทับใจ การใช้ตัวแปรตบแต่งสภาพภายในสปาเพื่อให้เกิดแรงจูงใจให้อยากเข้ารับบริการในสปานั้น สรุปตัวแปรสำคัญได้คือ จุดดึงดูดสายตาที่ใช้การผสมผสานระหว่างธรรมชาติและประติมากรรม สามารถสร้างแรงจูงใจมากที่สุด สีของแสงโทนอบอุ่นที่อุณหภูมิสีอยู่ในช่วง 2500-3000 K เป็นช่วงอุณหภูมิสีที่ใช้ตบแต่งแล้วจะเพิ่มแรงจูงใจใช้เข้าใช้บริการ และระดับความเปรียบต่างที่วัตถุกับพื้นภาพใช้ช่วง 1:10-1:15 เป็นการให้ค่าความเปรียบต่างที่เกิดแรงจูงใจมากที่สุด เมื่อนำมาทดสอบแล้วสามารถเพิ่มระดับแรงจูงใจได้ 73.33% เมื่อเปรียบเทียบกับการไม่ใช้ตัวแปร
Other Abstract: Nowadays, the spa has been widely popular. This leads to increase competition in spa business by each spa offering a higher quality of service, a more luxurious experience, significant interior design or attractive price. Visual impact is one of the most important motivations in using the spa. This research will focus on the key factors that influence the motivation in visiting the spa. Through the study of academic papers, physical survey and data collection to determine the key parameters that influence the analysis and synthesis to simulate an environment and testing incentives for spa visit with a sample of 30 people were used for evaluation. The variables that strongly influence motivation is 1.) Focal point 2.) Color of the light, and 3.) Contrast. We can enhance invitation atmosphere in spa when using those variables to simulate an environment by create focal point to attract people in the long distance, use warm light to enhance the feeling and contrast giving a fascinating and impressive. In conclusion, atmosphere and decoration can enhance invitation of spa. Creating focal point by using a combination of nature and art can highly motivate. Warm light colors about 2,500-3,000 K can influence human emotion satisfactory. The contrast of 1:10 to 1:15 is the most appropriate stimulation. As a result of research, these can increase the motivation to 73.33% when compared to without those factors.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22096
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.702
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.702
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
parkpoom_di.pdf9.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.