Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22206
Title: การสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย
Other Titles: Conversion between nouns and verbs in Thai
Authors: วรรณภา สรรพสิทธิ์
Advisors: วิภาส โพธิแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: Vipas.P@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- คำนาม
ภาษาไทย -- คำกริยา
Thai language -- Noun
Thai language -- Verb
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาความสัมพันธ์ทางการกของการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยาในภาษาไทย ตลอดจนศึกษาทิศทางการขยายหน้าที่และกลไกทางอรรถศาสตร์ ในกระบวนการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยา ข้อมูลคำที่ใช้ในงาน วิจัยนี้มีจำนวน 180 คำ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ คำที่เกิดการสลับหน้าที่ก่อน พ.ศ. 2542 เก็บข้อมูลจาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 อีกกลุ่มหนึ่งคือคำที่เกิดการสลับหน้าที่ขึ้นในระยะเวลาเดียวกับการทำวิจัย เก็บข้อมูลจากคำที่พบในพจนานุกรมคำใหม่ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม 1 และเล่ม 2 จากเว็บไซต์พันทิปดอทคอมในช่วงเดือนมีนาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2553 ตลอดจนคำที่ผู้วิจัยพบในชีวิตประจำวัน ผลการวิจัยพบว่าคำนามและคำกริยาที่เกิดการสลับหน้าที่กันมีความสัมพันธ์ทางการกได้ 7 ลักษณะ ได้แก่ ความสัมพันธ์ทางการกแบบผลซึ่งพบมากที่สุดถึง 35.55% รองลงมาคือแบบเครื่องมือ 22.77% แบบผู้มีสภาพ 11.66% แบบผู้เสริม 10% แบบผู้ทำ 7.77% แบบสถานที่ 6.66 และแบบผู้ถูกซึ่งพบน้อยที่สุดคือพบ 1.66% นอกจากนี้คำที่มีลักษณะพิเศษอีก 2 กลุ่ม คือ คำสลับหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์ทางการกร่วมกัน 2 ลักษณะและคำสลับหน้าที่ที่มีความสัมพันธ์ทางความหมายที่ซับซ้อน จนไม่สามารถระบุความสัมพันธ์ทางการกได้ สำหรับทิศทางการขยายหน้าที่ของคำนั้น พบว่า 72.37% เป็นคำนามก่อนแล้วจึงขยายหน้าที่ไปเป็นคำกริยา ในขณะที่ 27.63% เป็นคำกริยาก่อนแล้วจึงขยายหน้าที่ไปเป็นคำนาม ส่วนกลไกทางอรรถศาสตร์ที่ทำให้เกิดการสลับหน้าที่ระหว่างคำนามกับคำกริยานั้น มี 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) นามนัย ซึ่งพบมากที่สุด คือ 94.45% รูปแบบการเชื่อมโยงมโนทัศน์แบบนามนัยที่พบเรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ผลลัพธ์โยงกับการกระทำ เครื่องมือโยงกับการกระทำ ผู้กระทำโยงกับการกระทำ และสถานที่โยงกับการกระทำ (2) นามนัยเกิดร่วมกับอุปลักษณ์ พบ 4.44% และ (3) นามนัยเกิดร่วมกับการพ้องเสียง ซึ่งพบน้อยที่สุด คือ 1.11%
Other Abstract: This research aims at analyzing the case relations between the bases and the converted forms, the direction of conversion, and the semantic mechanisms underlying conversion between nouns and verbs in Thai. All 180 words used in this research were divided into two groups. The first group was the words that were converted before 1999. This group of words was collected from The Royal Institute Dictionary (B.E. 2542). The second group was those that were converted during the time of research. These words were collected from The Royal Institute Dictionary of New Words (volume 1 and volume 2), web boards in www.pantip.com during March-August 2010, and everyday conversation. It is found that there are seven case relations observed in the conversion between nouns and verbs. The most frequent type of case relations is the factitive case (35.55%). The other types of case relations are as follows: instrumental case (22.77%), patient case (11.66%), complement case (10%), agentive case (7.77%), locative case (6.66 %) and objective case (1.66%). Apart from this, there are also two special groups of converted words. The first group is the converted words that represent two types of case relations. The other group was those that their case relations cannot be identified. As for the direction of conversion, 72.37% of the converted words show the noun-to-verb conversion, while 27.63% show the verb-to-noun conversion. Regarding the semantic mechanisms involved in the process, there are three semantic mechanisms. The first is metonymy which is the most highly productive mechanism (94.45%). The patterns of metonymical mapping found in this research are: Result for action, instrument for action, agent for action, and Location for action. The other two mechanisms which are quite rare are: metonymy and metaphor working together (4.44%) and metonymy and homophony working together (1.11%).
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22206
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2011.834
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2011.834
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
wannabha_sa.pdf9.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.