Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2221
Title: การพัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ในการทดสอบลักษณะมนุษย์ ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Equipment development for testing human characteristics of Chulalongkorn University students
Authors: กิตติ อินทรานนท์
พิชนี โพธารามิก
ภาณุพงศ์ อัศวเกียรติ
Email: Kitti.I@Chula.ac.th
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: สมรรถภาพทางกาย--เครื่องมือและอุปกรณ์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: สัดส่วนร่างกาย กำลัง และความแข็งแรงของประชากรที่แตกต่างกันย่อมแตกต่างกัน และการที่จะออกแบบให้เครื่องจักรอุปกรณ์มีความเหมาะสมกับผู้ใช้งานนั้นต้องให้ความสำคัญต่อข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการออกแบบกำหนดขนาด และปรับระยะต่างๆ ของเครื่องจักรอุปกรณ์ แต่ในความเป็นจริงนั้น การให้ความสำคัญต่อการพิจารณาลักษณะสมบัติของผู้ใช้เครื่องจักรอุปกรณ์นั้นมีน้อยมาก ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะผู้ออกแบบไม่ทราบถึงความสำคัญ ไม่ให้ความสนใจ หรือที่เป็นได้มากที่สุดสำหรับประเทศที่กำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยด้วย ก็คือการขาดข้อมูลทางเออร์โกโนมิก การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบเครื่องวัดความแข็งแรง และกำลังของบุคคล โดยใช้ Load Cell และ Digital Display เป็นเครื่องมือหลัก 2) สร้างฐานข้อมูลลักษณะมนุษย์ในเรื่องเกี่ยวกับ สัดส่วนร่างกาย กำลังสถิตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ สำหรับกลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าทดสอบทั้งหมดเป็นชายล้วนจำนวน 100 คน อายุระหว่าง 17-25 ปี ทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการวิจัยเออร์โกโนมิก ของภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เข้าทดสอบทั้งหมด เป็นนิสิตของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง ผลการทดสอบได้ถูกวิเคราะห์ในเชิงสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAS เพื่อวิเคราะห์หา สหสัมพันธ์ระหว่างสัดส่วนร่างกายแต่ละส่วน สหสัมพันธ์ระหว่างกำลังสถิตของกล้ามเนื้อแต่ละส่วน รวมทั้งค่าเฉลี่ยของข้อมูลแต่ละอย่างด้วย ผลจากการวิจัย ทำให้สามารถพัฒนา และสร้างเครื่องวัดความแข็งแรง และกำลังของบุคคลขึ้นมาได้ สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการสร้างต่ำ นอกจากนั้นยังสามารถสร้างฐานข้อมูลลักษณะมนุษย์ ในเรื่องเกี่ยวกับสัดส่วนร่างกาย กำลังสถิตของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของกลุ่มนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอีกด้วย
Other Abstract: Different populations differ anthropometrically and physically. These human data are vital to equipment design process as criteria for dimensioning and adjustability of equipment. In fact, priority given to user characteristic data is very low. This is probably because designers do not know the significance of these criteria or, as it is the most probable cause in developing countries like Thailand, insufficient human data are available. The objectives of this research were : 1) to develop and test static strength device, i.e., a load cell with digital display, 2) to develop human characteristic database such as anthropometry and static muscle strength of various muscle groups using a group of Chulalongkorn University students. One-hundred males, age between 17-25 years, volunteered to be subjects for the experiment at Ergonomic Research Laboratory, Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering, Chulalongkorn University, All subjects were Chulalongkorn University student and they were strongand healthy. Results were statistically analyzed using SAS Programming Package to determine correlation between body dimensions and correlation between static strength of various muscle groups. The means and standard deviation of each data group were also reported. Benefit of this research brings the development of static strength test device for human. The device is efficiently workable with low-construction costs. Furthermore, human characteristic database of Chulalongkorn University student group is developed in terms of anthropometric and strength data.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2221
Type: Technical Report
Appears in Collections:Eng - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kitti_equipment.pdf12.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.