Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22221
Title: ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่สาม ในจังหวัดอุบลราชธานี
Other Titles: The understanding of democracy of mathayom suksa three students in Ubon Rajadhanee provinc
Authors: สถิต จิตตะนาคี
Advisors: ลาวัลย์ วิทยาวุฑฒิกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ประชาธิปไตย -- การสำรวจ
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ทั้งโดยส่วนรวมทุกหัวข้อ และจำแนกเป็นรายหัวข้อ วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยใช้แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยซึ่งสร้างขึ้นเองและมีค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเชื่อถือได้ 0.71 เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่สาม โรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญในจังหวัดอุบลราชธานี ชาย 200 คน หญิง 200 คน รวมจำนวน 400 คน ซึ่งคัดเลือกโดยวิธีจับฉลากแล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบค่าซี (z-test) และหาค่าไคสแควร์ (chi-square) เป็นรายหัวข้อ สรุปผลการวิจัย จากการทดสอบสมมติฐานด้วยวิธีทดสอบค่าซี (z-test) ปรากฏว่า นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 และจากการทดสอบค่าไคสแควร์ (chi-square) เป็นรายหัวข้อ พบว่ามีเพียง 17 หัวข้อเท่านั้นที่การตอบถูกหรือผิดขึ้นอยู่กับเพศของผู้ตอบ ส่วนอีก 43 หัวข้อการตอบถูกหรือผิดไม่ได้ขึ้นอยู่กับเพศของผู้ตอบ ข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การจะพัฒนาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยนั้นบ้าน โรงเรียน และชุมนุมชน ควรจะร่วมมือกันอย่างจริงจังทั้งในการจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม และโอกาสที่จะทำให้นักเรียนนำเอาความรู้ความเข้าใจมาปฏิบัติจริง ครูสังคมศึกษาควรจะได้ปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย และนำเอาเทคนิคการสอนใหม่ๆ เช่น วิธีการสอนแบบสืบสวน (Inquiry method) มาใช้เพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะ จริยธรรม สามารถตัดสินปัญหาจากข้อมูลที่เชื่อถือได้ สอดคล้องกับแนวคิดและหลักการแบบประชาธิปไตย
Other Abstract: Purpose The purpose of this study was to compare the understanding of democracy among Mathayom Suksa Three Students, male and female. Procedures The test on democracy which had a reliability at 0.71 constructed by the writer was administered to 400 students who were randomly sampled from the secondary schools in Ubon Rajadhanee Province. Then, the test results were treated by the statistical methods of z – test and chi – square for the item analysis. Conclusions and Recommendations It was found that the z – test for the understanding of democracy of both male and female students was not significantly different at the .05 level of confidence. Besides, the chi – square of the item analysis revealed that only 17 test items were dependent upon the sexes of the students to answer right or wrong. The other 47 test items were not. It could be said that, to develop the understanding of democracy among the students, home, the school, and the community should cooperate seriously in both the environment arrangement and the practice of their knowledge. The school should adjust the methods of teaching in accordance with the democratic principles. Some modern teaching techniques, such as the inquiry method, should be utilized to fulfill the need to increase their knowledge, skill, and humanistic values in order to be able to make decision by using reliable information on which is relevant to democratic principles and beliefs.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22221
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sathid_Ch_front.pdf397.04 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_ch1.pdf616.03 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_ch2.pdf637.55 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_ch3.pdf476.52 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_ch4.pdf635.01 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_ch5.pdf756.17 kBAdobe PDFView/Open
Sathid_Ch_back.pdf904.22 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.