Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22280
Title: การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Co-curricular activities promoting citizenship characteristics in elementary schools in Bangkok metropolis
Authors: สมกูล ถาวรกิจ
Advisors: วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กิจกรรมเสริมหลักสูตร
กิจกรรมของนักเรียน
หน้าที่พลเมือง
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาประเภทของกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2.เพื่อศึกษาวิธีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 3. เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดีในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร วิธีดำเนินการวิจัย การวิจัยครั้งนี้กลุ่มตัวอย่างประชากรคือโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 201 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูทั้งหมด 402 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิดคือ แบบสำรวจ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูล จากแบบสำรวจที่ส่งไป 63 ฉบับ ได้รับคืนทั้งหมด 46 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 73.01 จากแบบสอบถามที่ส่งไป 402 ฉบับ ได้รับคืนทั้งหมด 332 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 82.58 และได้จากการสัมภาษณ์ผู้บริหารและครูอีก 84 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยง เบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหาสรุปผลการวิจัย1. ประเภทกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่จัดในปีการศึกษา 2527 มีทั้งหมด 10 ประเภท พบว่า โรงเรียนจัดกิจกรรมมากทั้งหมด 9 ประเภท ได้แก่ กิจกรรมการปกครองและการประชุมอบรม กิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมศาสนาและสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมสังคมศิลปะและวัฒนธรรม กิจกรรมนาฏศิลป์ ดนตรีและการรื่นเริง กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และงานอดิเรก กิจกรรมลูกเสือและยุวกาชาดส่วนกิจกรรมที่จัดน้อย ได้แก่ กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมและการใช้สินค้าไทย 2. วิธีการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรโรงเรียนวางแผนโดยการจัดทำโครงการและแผนปฏิบัติงานมีผู้บริหารและครูประชุมปรึกษาร่วมกัน ซึ่งเป็นทั้งผู้วางแผนและกำหนดจุดมุ่งหมายของการจัดกิจกรรม อย่างมีหลักเกณฑ์และคำนึงถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเสมอ โรงเรียนกำหนดขั้นตอนการจัดไว้เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ส่วนวัน เวลา และสถานที่ ครูและผู้บริหารเป็นผู้กำหนดและเลือกจัดตามความเหมาะสม อีกทั้งได้รับความช่วยเหลือด้านการเงิน วัสดุ อุปกรณ์จากผู้ปกครอง มูลนิธิและหน่วยงานอื่น จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมประกอบด้วยครูที่จัดกิจกรรมนั้นๆ และรายงานผลเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรม โรงเรียนจัดการประสานงานแต่ได้รับผลไม่ดีพอ มีการสนับสนุนครูในเรื่องต่างๆผู้ที่จัดกิจกรรมและ/หรือผู้ร่วมกิจกรรมเป็นผู้ประเมินผลโดยวิธีการสังเกตและดูจากผลงานการจัดกิจกรรมโดยเน้นคุณค่าหรือผลที่ได้รับ 3. ผลการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ที่ส่งเสริมลักษณะความเป็นพลเมืองดีจากการจัดกิจกรรม 10 ประเภทมีกิจกรรมที่ก่อให้เกิดลักษณะความเป็นพลเมืองดีหลายลักษณะในแต่ละกิจกรรมมากที่สุด ได้แก่ กิจกรรมลูกเสือยุวกาชาด กิจกรรมกีฬาและนันทนาการ กิจกรรมศาสนาและสังคมสงเคราะห์ กิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์กิจกรรมกรรมการปกครองและการประชุมอบรม กิจกรรมวิชาการ กิจกรรมส่งเสริมค่านิยมและการใช้สินค้าไทย ตามลำดับ และลักษณะความเป็นพลเมืองดี เกิดขึ้นจากการจัดกิจกรรมต่างๆ 8-10 ประเภทได้แก่ มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์ มีความสามัคคี ความเป็นผู้มีเหตุผล การยอมรับการเปลี่ยนแปลงและรู้จักปรับตัว มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักต่อต้านและไม่ลองสิ่งเสพติด มีความภูมิใจในความเป็นไทย 4. ปัญหา อุปสรรค ที่พบในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ส่วนมากประสบปัญหาเรื่องความจำกัดในช่วงเวลาการจัดกิจกรรม ครูต้องทำหน้าที่หลายอย่างในเวลาเดียวกัน และมีส่วนร่วมน้อยในการกำหนดจุดมุ่งหมาย และไม่เห็นความสำคัญของการจัดกิจกรรม นอกจากนี้ยังขาดวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ งบประมาณผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง และเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมและประเมินผล
Other Abstract: Research Purposes1.To study programs of co-curricular activities promoting citizenship characteristics in elementary schools in Bangkok Metropolis. 2. To study managements of co-curricular activities promoting citizenship characteristics in elementary schools in Bangkok Metropolis. 3. To study outputs of co-curricular activities promoting citizenship characteristics in elementary schools in Bangkok Metropolis. 4. To study problems of co-curricular activities promoting citizenship characteristics in elementary schools in Bangkok Metropolis. Research Procedures The sample of the research consisted of 201 elementary schools in Bangkok Metropolis. The data were gathered from 402 administrators and teachers. The instruments used in the study: The survey schedule questionnaire and interview schedule. Out of the 63 survey schedule and 402 copies of questionnaire were sent out, and 46 or 73.01 percent of the survey schedule and 332 or 82.58 percent of the questionnaire were completed and returned. Also, eighty-four administrators and teachers were interviewed. Data were analyzed by means of frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and content analysis. Research Findingsv1.Concerning the programs of co-curricular activities; it was found that the ten co-curricular activities were operated in all elementary schools in Academic Year 1984. The nine co-curricular activities operated at high level were listed as follows: student government and assembly training activities, community service activities, religion and social welfare activities, social, arts and cultural activities, dramatic musical and entertainment activities, sports and recreation activities, academic activities, use of leisure time, boy-scout and junior red cross activities. The activity value promotion and Thai products consuming was operated at very low level. 2. Concerning the managements of co-curricular activities; it was found that there were projects and operational plans set up by administrators and teachers, both in planning and stating objectives of the activities according to the study principle and concerning factors in all elementary schools. Most of the schools had planed the process of the management about the co-curricular activities. The day times scheduled was prepared by administrators and teachers, while the budget of co-curricular activities was supported by the public and other organizations. The activity committee consisted of teachers, had the responsibility in controlling and reporting the result of the activity. Observation technique and output evaluation were mostly used in evaluating the activities. 3. Concerning the outputs of the ten co-curricular activities; it was found that the following activities promoting citizenship characteristics at very high level were boy scouts and junior red cross activities, sport and recreation activities, religions and social welfare activities, community service activities, student government and assembly training activities, academic activity, the value promotion and consuming activities. The citizenship characteristics from eight to ten activities were: responsibility, honesty, unity, rationality, accept the changes and adaptability, human relation, know how to anti narcrotics addicted and proud to be Thai. 4. Concerning the problems of management of co-curricular activities were the limitation of time, the teacher have a lot of things to do at the same times, they cannot pay attention to assigned objectives and considered that the activities were not important for them. In the same way they lack of materials, facilities, places, budget, specialists and also the evaluation controlling instrument.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22280
ISBN: 9745645184
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkul_Th_front.pdf684.71 kBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_ch1.pdf726.12 kBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_ch2.pdf1.8 MBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_ch3.pdf460.48 kBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_ch4.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_ch5.pdf716.4 kBAdobe PDFView/Open
Somkul_Th_back.pdf2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.