Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22282
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชิต ชินพัฒน์-
dc.contributor.authorสนธิลักษณ์ สนเจริญ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-10-01T17:40:14Z-
dc.date.available2012-10-01T17:40:14Z-
dc.date.issued2517-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22282-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บช.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2517en
dc.description.abstractการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นรัฐวิสาหกิจสาธารณูปโภคมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สามารถดำเนินกิจการก้าวหน้ามาด้วยดีโดยอาศัยแต่เพียงรายได้จากค่าภาระและค่าบริการการใช้ท่าเรือและความสะดวกต่างๆ ที่จัดเก็บจากบุคคล 3 ประเภท กล่าวคือ 1. เจ้าของเรือหรือตัวแทนเจ้าของเรือ 2. เจ้าของสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกที่ขนถ่ายจากเรือหรือบรรทุกลงเรือที่เทียบท่า 3. ผู้ใช้บริการและความสะดวกต่างๆของท่าเรือ ปรากฏว่าตั้งแต่เริ่มกิจการเป็นเอกเทศในปี 2494 จนถึงปี 2515 การท่าเรือฯ สามารถนำส่งเงิน 242,806,367.86 บาท เป็นรายได้ของรัฐ และยังสามารถลงทุนขยายกิจการ เฉพาะอย่างยิ่งการสร้างท่าเทียบเรือเพิ่มเติมตามโครงการเขื่อนตะวันออก โดยอาศัยเงินสำรองจากรายได้ของการท่าเรือฯ สมทบกับเงินกู้จากธนาคารโลกอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งการท่าเรือฯ จะต้องชำระหนี้ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย โดยมิได้อาศัยเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเลย โดยการศึกษาพิจารณาข้อมูลสถิติจากเอกสารรายงานต่างๆ ตลอดจนสัมภาษณ์หรือสอบถามเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องทำให้พบว่า ค่าภาระการใช้ท่าเรือ ค่าบริการ และความสะดวกต่างๆ แม้จะเป็นปัจจัยสำคัญที่อำนวยรายได้ให้การท่าเรือฯ ใช้จ่ายในการดำเนินกิจการและพัฒนาท่าเรือให้เป็นไปด้วยดี น่าจะมีหลักการและเหตุผลในการกำหนดอัตราและจัดเก็บโดยเหมาะสม มีปัญหาเกี่ยวข้องที่ต้องพิจารณาหรือคำนึงถึงอย่างไรบ้าง หากมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอัตราค่าภาระจะมีผลกระทบกระเทือนผู้ใช้ท่าเรืออย่างไรบ้าง และสมควรจะดำเนินการอย่างไร มีข้อสังเกตเสนอแนะประการใดบ้างที่จะยังผลให้การจัดเก็บค่าภาระและค่าบริการของการท่าเรือฯ ที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่การท่าเรือฯ และเป็นวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์นี้ด้วย กิจการท่าเรือในปัจจุบันได้เริ่มต้นมาจากความดำริของรัฐบาลภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศในปี 2475 โดยปรารถนาจะแก้ไขอุปสรรคขัดขวางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งในระยะเวลานั้น เรือสินค้าขนาดใหญ่และกินน้ำลึกไม่สามารถผ่านร่องน้ำสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาที่ตื้นเขินเข้ามากรุงเทพฯได้ จ้องจอดทอดสมอที่เกาะสีชังและขนถ่ายสินค้าลงเรือลำเลียงเดินทางเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา แล้วขนขึ้นท่าที่กรุงเทพฯ อีกทอดหนึ่ง ส่วนสินค้าขาออกก็ต้องบรรทุกลงเรือลำเลียงจากกรุงเทพฯ ไปขนขึ้นเรือใหญ่ที่จอดรออยู่ที่เกาะสีชัง เป็นการเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายสูง ทั้งสินค้าก็ชำรุดเสียหายและไม่ปลอดภัย ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ของร้องให้สันนิบาตชาติช่วยเหลือ โดยส่งผู้เชี่ยวชาญมาสำรวจและเสนอแนะเกี่ยวกับการขุดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยาเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เข้าออกกรุงเทพฯ ได้ และการสร้างท่าเรือ ณ ตำบลที่เหมาะสมในกรุงเทพฯ โดยมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ อย่างทันสมัยสำหรับเรือสินค้าเทียบท่าขนถ่ายสินค้า มีที่เก็บรักษาสินค้าและสามารถลำเลียงสินค้าออกจากท่าเรือได้โดยทางรถไฟ ทางรถยนต์และทางน้ำ การดำเนินการเป็นขั้นๆ ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญตามโครงการสร้างท่าเรือกรุงเทพฯ ณ ตำบลคลองเตยและการขอดลอกสันดอนปากน้ำเจ้าพระยา การตั้งสำนักงานท่าเรือกรุงเทพฯ การกู้เงินจากธนาคารโลกเพื่อพัฒนากิจการท่าเรือ การออกพระราชบัญญัติจัดตั้งการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นเอกเทศ อำนาจหน้าที่ของการท่าเรือฯ การกำกับควบคุมและการจัดการ ตลอดจนความสัมพันธ์กับรัฐบาลและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความสำคัญของค่าภาระและค่าบริการที่มีต่อการท่าเรือฯ ได้บรรยายไว้ด้วยเพื่อเป็นพื้นฐานในการพิจารณาต่อไป เมื่อพิจารณารายจ่ายในการดำเนินกิจการและการลงทุนเพื่อปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานรวมทั้งการลงทุนเพื่อขยายงาน เปรียบเทียบกับรายได้ที่ได้จากการจัดเก็บค่าภาระและค่าบริการในอัตราที่การท่าเรือฯ สามารถจะเรียกเก็บได้ขณะนี้เห็นว่ามีเหตุผลสมควรที่การท่าเรือฯ จะได้พิจารณาเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอัตราค่าภาระและค่าบริการเสียใหม่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ในการนี้เห็นควรใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับการกำหนดราคามาประกดอบการพิจารณาเพื่อกำหนดอัตราค่าภาระและค่าบริการเพื่อให้ความเป็นธรรมแก่การท่าเรือฯ และผู้ใช้บริการท่าเรือด้วย ในเวลาเดียวกันได้พิจารณาถึงผลกระทบกระเทือนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงแก้ไขอัตราค่าภาระและค่าบริการที่มีต่อการท่าเรือฯ และผู้ใช้บริการ ซึ่งได้แก่ผู้ส่งสินค้าขาออก และผู้สั่งสินค้าขาเข้า กับเจ้าของเรือ รวมทั้งเศรษฐกิจส่วนรวมของประเทศ นอกจากนี้ได้พิจารณาว่า อัตราค่าภาระและค่าบริการที่กำหนดใหม่ ควรเป็นสิ่งชักจูงใจเพิ่มจำนวนผู้ใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกของการท่าเรือฯ ที่มีอยู่ให้มากยิ่งขึ้นเพื่อประสิทธิภาพของงาน ตามวัตถุประสงค์ในการจัดหาอุปกรณ์อำนวยความสะดวกนั้นๆ สำหรับระดับการให้บริการของการท่าเรือฯ ที่เป็นอยู่หากปรับปรุงให้สูงขึ้นจะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลง เฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนของการดำเนินงานเป็นปัจจัยในการกำหนดอัตราค่าภาระและค่าบริการ ส่วนการแบ่งหรือเลือกเก็บค่าภาระและค่าบริการจากเจ้าของเรือและผู้ใช้บริการอื่นๆ เพื่อความเป็นธรรมและเกิดประโยชน์แก่การท่าเรือฯ มากที่สุด ก็ได้พิจารณาข้อดีข้อเสียเปรียบเทียบประกอบการพิจารณาด้วย อย่างไรก็ดีสภาพของสังคมและนโยบายของรัฐบาลในการสิ่งเสริมสินค้าขาออกการควบคุมต้นทุนของสินค้าขาเข้าประเภทอาหารและอื่นๆ ที่จำเป็น การจำกัดหรือลดสินค้าประเภทฟุ่มเฟือยเข้าประเทศ รวมทั้งการดำเนินกิจการท่าเรือภายใต้การควบคุมอันเข้มงวดของรัฐบาล ย่อมมีผลต่อการพิจารณาปรับปรุงอัตราค่าภาระและค่าบริการใหม่ให้เป็นธรรมและสอดคล้องต้องกัน เพื่อบรรลุจุดหมายในการปรับปรุงอัตราค่าภาระและค่าบริการเพื่อให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น เห็นควรดำเนินการตามข้อเสนอแนะโดยสรุป ดังต่อไปนี้ 1. การให้ความเป็นอิสระในด่านนโยบายและการบริหารงาน รัฐบาลควรพิจารณาผ่อนคลายข้อจำกับอันเข้มงวดเกี่ยวกับระเบียบการปฏิบัติงานต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเงิน และไม่ควรสงวนสิทธิเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้อำนวยการและคณะกรรมการการท่าเรือฯ ทั้งนี้ควรพิจารณาให้สิทธิอิสระในการดำเนินงานตามความหมายของคำว่า เอกเทศ หรือ Autonomous body 2. การใช้เทคโนโลยีบางอย่างเข้าช่วยในการดำเนินกิจการ เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ในด้านการทำบัญชี การเก็บข้อมูลสถิติต่างๆ การคิดค่าธรรมเนียมและการคิดต้นทุน เป็นต้น 3. การวางแผนล่วงหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การวางแผนควบคุม การกำหนดนโยบาย และการวางแผนการปฏิบัติงาน รวมทั้งการประเมินผล ซึ่งมีความสัมพันธ์ต่อกัน 4. การทุจริตของพนักงาน ควรจะได้พิจารณาโดยทั่วๆ ไปเกี่ยวกับภาวการณ์ครองชีพและสิ่งแวดล้อมยั่วยวนใจในเวลาเดียวกัน ประเมินความสามารถของผู้ปฏิบัติงาน การประเมินค่าของงาน รวมทั้งการพิจารณาปรับปรุงอัตราเงินเดือนและค่าจ้างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 5. การจัดวางโครงสร้างของอัตราค่าภาระและค่าบริการ ให้เหมาะสม ทั้งนี้โดยการกำหนดอัตราสูงสุดที่ผู้ใช้บริการจะยอมรับได้และประเมินหาอัตราค่าภาระและค่าบริการของแต่ละรายการ นั่นคือวิธีการวิเคราะห์ในการกำหนดอัตราค่าภาระและค่าบริการอย่างมีระบบ ประกอบด้วยแนวทางหลักการและวิธีการอย่างยุติธรรม
dc.description.abstractalternativeThe Port Authority of Thailand as a State Enterprise and a Public Utility plays its important role in the National economic and social development. By its revenues earned from port charges for the use of its port, services and services and facilities by ships owners or their agents, importers and exporters for cargoes discharging and loading, the Port Authority has been developed satisfactorily. Since its inception in B.B 2494 to 2515 (A.D. 1951-1972) the Port Authority has turned over Baht 242,806,367.86 to the Treasurer as revenue of the State and investment has been made with its reserved fund and with a loan from the World Bank to extend the wharf plus facilities which is now under construction to the East Quay Project with no subsidy from the Government. By studying data and statistics from various reports and by interviewing some competent authorities, findings have been highlighted that all Port charges, the significant factor in the making of Port revenues for the expenditure in the management and development of the Port should have been levied on principle and how its methods of collections can be conducted effectively, with some consideration of related problems should there be any change in tariff of port charges that may cause any effect to the port users. This thesis will propose ways and means to solve and improve these problems. This is the main objective of this thesis which would be of benefit to the Port Authority. Dated back to B.E. 2477, two years after the bloodless revolution, the Government asked the League of Nations to send its experts to make investigation and give suggestion on the dredging of Bangkok Bar Channel to allow ocean going vessels entering the river to Bangkok and a modern port equipped with facilities be constructed on the left bank of the Chao Phya river at Klongtoi. Since then, steps had been taken to the recommendations of experts, and the Office of the Port of Bangkok had been established to carry out the construction of the Port and the Bangkok bar channel had been dredged but interrupted by World War II. After the war Klongtoi Wharf has been rehabilitated and developed gradually up until the Government obtained a loan from the World Bank in 1951 to accelerate the development of the Port of Bangkok at Klongtoi, hence the Port Authority of Thailand in B.E. 2494 (A.D. 1951) had come into force as an autonomous body. Its power to act and its supervision, control and management in relation with the Government have been described end, of course, the important role of port charges is emphasized for further consideration. When considering expenditure in port management and development compared with the revenues earned from port charges it seems reasonable to review port charges by applying as economic theory to determine fair price to set up a new tariff rate for port charges with a view to the effects on the port and port users. At the same time consideration should be made regarding effects due to change in tariff of port charges towards economy of the country as a whole. Anyhow, the setting up of new tariff rates of port charges should encourage port users to make the most effective use of port facilities provided. The more increase of the rate of activity the lower the cost per unit volume handled. Charges between ship operators, importers and exporters will be considered and apportioned according to proportion of the revenue required that should be recovered from ship operators and that which should be recovered from other users. However, social consideration and government policies such as the desirability to promote export, to keep down cost of imported food and other essential items, to discourage luxury imports even the port management under strict control of the government need to be known or understood when reviewing the tariff rate so that it will be possible to ascertain the impact of the applied tariff structure and rates in general. To achieve the objective in reviewing and determining new tariff rate of port charges for the fair increase of its revenue, suggestions are made which could be summed up as follows. 1. Laissez fair in Port’s policy and management The Government should release some restrictions on port administration particularly in financial management and should not preserve its power in the appointment of Port Director and Board of Port Commissioners. The Port Authority should conduct its management and development as an autonomous body in the full extent. 2. Innovation of new Technology to expendite its activity Electronic Computers should be installed to operate accounting, data processing, billing and cost finding. 3. There should be efficient planning in management control strategic planning and operational control which should interactively complement one another. 4. Corruption of Port Officials. Appeals of high cost of living and poor environmental situation are required the remedy. Performance rating, job evaluation and fair salary or wages adjustment should be taken into account and steps should be taken immediately in the regard. 5. Structure of Tariff of Port Charges. Flow Chart considering the maximum rate that the market can bear and the determination of tariff of Port charges for each item have been analysed, systematized and supported with guided principle and justice.
dc.format.extent638276 bytes-
dc.format.extent682028 bytes-
dc.format.extent1033066 bytes-
dc.format.extent1681464 bytes-
dc.format.extent1305608 bytes-
dc.format.extent751387 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการท่าเรือแห่งประเทศไทย
dc.subjectการขนส่งทางน้ำ -- ค่าบริการ
dc.titleปัญหาในการพิจารณากำหนดอัตราค่าภาระและค่าบริการ ของการท่าเรือแห่งประเทศไทยen
dc.title.alternativeProblems to be considered in determining tariff of port charges of the Port Authority of Thailanden
dc.typeThesises
dc.degree.nameบัญชีมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineการบัญชีes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sonthilaks_So_front.pdf623.32 kBAdobe PDFView/Open
Sonthilaks_So_ch1.pdf666.04 kBAdobe PDFView/Open
Sonthilaks_So_ch2.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Sonthilaks_So_ch3.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open
Sonthilaks_So_ch4.pdf1.28 MBAdobe PDFView/Open
Sonthilaks_So_back.pdf733.78 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.