Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22283
Title: ปัจจัยทีมีผลต่อการทำหมันและความคิดที่จะทำหมันของสตรีที่สมรสแล้ว ในเขตชานเมืองกรุงเทพฯ
Other Titles: Factors affecting sterilization and intention to utilize sterilization among married women in Bangkok suburban
Authors: โศภิต ผ่องเสรี
Advisors: พิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ
เกื้อ วงศ์บุญสิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กรุงเทพมหานคร -- ประชากร
การทำหมัน -- ไทย
สตรี -- ไทย -- ภาวะสังคม
ภาวะเจริญพันธุ์ -- ไทย
การวางแผนครอบครัว -- ไทย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อต้องการทราบถึงปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และประชากรที่มีผลทำให้สตรีและสามีทำหมันหรือไม่ทำหมัน คิดที่จะทำหมันหรือไม่คิดที่จะทำหมันในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากโครงการวิจัย ชื่อโครงการวิจัยลักษณะทางประชากรและการใช้พื้นที่เขตชานเมือง ซึ่งดำเนินการวิจัยโดยสถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้ทำการวิจัยครัวเรือนในเขตชานเมือง ในเขตบางเขน บางกะปิ และมีนบุรี จำนวน 842 ครัวเรือนเมื่อเดือนธันวาคม 2526 และมีสตรีที่สมรสแล้วและกำลังอยู่กินกับสามีอายุไม่เกิน 49 ปี และสตรีที่ตกเป็นตัวอย่างในการวิเคราะห์ในเรื่องการทำหมันจำนวน 503 ราย และตัวอย่างสำหรับการวิเคราะห์ในเรื่องความคิดที่จะทำหมัน จำนวน 335 ราย ในการศึกษาครั้งนี้ตัวแปรตามคือการทำหมัน และความคิดที่จะทำหมัน ตัวแปรอิสระคืออายุของสตรีและสามี การศึกษาของสามี ศาสนาของสามี อาชีพของสตรีและสามี สถานภาพการทำงานของสตรีและสามี การทำงานก่อนแต่งงานของสตรี การทำงานหลังแต่งงานของสตรีรายได้ของสตรี รายได้ของครอบครัว ทัศนคติของสามีกับการทำแท้ง และการลดอัตราภาษีให้แก่คนโสด จำนวนบุตรที่ต้องการของสตรี การปรึกษาหารือเรื่องจำนวนบุตรที่ต้องการของสามีและสตรี ผลจากการวิเคราะห์ในรูปของตารางตัวแปรตามและตัวแปรอิสระอย่างละหนึ่งตัว ปรากฏดังต่อไปนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการทำหมัน อายุของสตรีและสามี รายได้ของครอบครัว ศาสนาของสามี มีผลในทางบวกต่อการทำหมัน และเป็นไปตามสมมุติฐานที่วางไว้ ระดับการศึกษา อาชีพของสามี และสตรี สถานภาพการทำงานของสตรีและสามีการทำงานก่อนแต่งงานและหลังแต่งงานของสตรี รายได้ของสตรี ทัศนคติของสามีต่อการทำแท้งและการลดอัตราภาษีให้กับคนโสด จำนวนบุตรที่ต้องการและการปรึกษาหารือเรื่องจำนวนบุตรที่ต้องการ มีผลต่อการทำหมันแต่ไม่เป็นไปในทิศทางที่ได้ตั้งสมมติฐานไว้ เมื่อนำจำนวนบุตรที่มีชีวิตเข้ามาร่วมพิจารณาด้วยโดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือสตรีกลุ่มที่มีบุตร 0-2 คน และ 3 คนขึ้นไป ปรากฏว่า อายุของสตรีและสามี ศาสนาของสามี อาชีพของสามีและสตรี สถานภาพการทำงานของสตรีและสามี การทำงานก่อนแต่งงานและหลังแต่งงานของสตรี รายได้ของครอบครัว รายได้ของสตรี ทัศนคติของสามีกับการทำแท้ง มีผลต่อการทำหมันในลักษณะเดิม สำหรับตัวแปรอื่น เช่น การศึกษาของสามี ทัศนคติของสามีกับการทำแท้งฯ จำนวนบุตรที่ต้องการ การปรึกษาหารือกับสามีในเรื่องจำนวนบุตรที่ต้องการ เมื่อควบคุมด้วยจำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ ปรากฏว่าตัวแปรอิสระเหล่านี้มีผลต่อการทำหมันแตกต่างไปจากความสัมพันธ์เดิม เช่น ร้อยละของการทำหมันของสตรีและสามีที่เคยปรึกษาและไม่เคยปรึกษาหารือในเรื่องจำนวนบุตรที่ต้องการเท่ากับร้อยละ 33.2 และ 33.3 ตามลำดับ แต่ในบรรดาสตรีที่มีบุตรที่มีชีวิต 3 คนขึ้นไปร้อยละนี้เท่ากับ 56.3 และ 43.8 ซึ่งแตกต่างกันถึง 12.5 เป็นต้น ความคิดที่จะทำหมัน ระดับการศึกษาของสามี ศาสนาของสามี รายได้ของครอบครัว รายได้ของสตรีมีผลในทางบวกต่อความคิดที่จะทำหมัน และอายุของสตรีและสามี จำนวนบุตรที่ต้องการมีผลในทางลบต่อความคิดที่จะทำหมัน สำหรับตัวแปรอื่นๆ ได้แก่ อาชีพของสตรีและสามี สถานภาพการทำงานของสตรีและสามี การทำงานก่อนและหลังการแต่งงานของสตรี ทัศนคติของสามีต่อการทำแท้ง การปรึกษาหารือเรื่องจำนวนบุตรที่ต้องการของสตรีและสามี ตัวแปรเหล่านี้มีผลต่อความคิดที่จะทำหมันและเป็นไปตามสมมุติฐาน สำหรับทัศนคติของสามีต่อการลดอัตราภาษีให้แก่คนโสด ซึ่งมีผลต่อความคิดที่จะทำหมันแต่ไม่เป็นไปตามสมมุติฐาน สำหรับระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัวมีผลต่อความคิดที่จะทำหมันแตกต่างไปจากเดิมเมื่อคุมด้วยอายุ สำหรับการวิเคราะห์ที่มีตัวแปรอิสระหลายๆ ตัวในขณะเดียวกัน (Multivariate analysis) เพื่อศึกษาว่าปัจจัยใดมีอิทธิพลหรือมีผลต่อการทำหมัน และความคิดที่จะทำหมันการศึกษาในส่วนนี้ได้คัดเลือกตัวแปรอิสระมา 8 ตัวจากตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัว ผลการวิเคราะห์มีดังต่อไปนี้ ในการวิเคราะห์เรื่องการทำหมันตัวแปรที่ถูกเลือกมามี 8 ตัวแปรได้แก่ จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่ รายได้ของครอบครัว การทำงานก่อนแต่งงานของสตรี อายุของสตรี จำนวนบุตรที่ต้องการ อาชีพของสมี ศาสนาของสามี และระดับการศึกษาของสามี พบว่า จำนวนบุตรที่มีชีวิตอยู่มีอิทธิพลต่อการทำหมันมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาของสามีและรายได้ของครอบครัวซึ่งตัวแปรทั้ง 3 มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงว่าไม่ค่อยมีบทบาทต่อการทำหมันมากนัก ในการวิเคราะห์เรื่องความคิดที่จะทำหมัน ตัวแปรที่ถูกเลือกมา 8 ตัวแปรเช่นกันพบว่า อายุของสตรีมีผลต่อความคิดที่จะทำหมันมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ศาสนาของสามีและระดับการศึกษาของสามี มีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนตัวแปรอื่นๆ ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติและไม่ค่อยมีบทบาทต่อความคิดที่จะทำหมันมากนัก
Other Abstract: The purpose of this study is to assess the effect of socioeconomic and demographic variables on sterilization and intention to utilize sterilization in the future among currently married Thai women aged 15-49 years who reside in suburban area of Bangkok Metropolis, namely, Bangkhen, Bangkapi and Minburi. This study uses data from the project entitled “The Study on Population Characteristics and Land Use in the Suburban Area of Bangkok Metropolis, “which was a survey of 842 households and carried out by the Institute of Population Studies, Chulalongkorn University in 1983. In this study, 503 applicable women were included in the analysis of factors affecting sterilization and 335 applicable women were included in the analysis concerning the intention to utilize sterilization. Having sterilization, and the intention to utilize in the factors are the two dependent variables with fifteen independent variables include: Sterilization and Intention, couple’s age, husband’s education, husband’s religion, couple’s occupation, occupation after marriage, working experience, working status, women’s income, family’s income, husband’s attitude toward abortion under certain conditions, husband’s attitude toward tax reduction for bachelor, desired number of children, couple’s consultation about desired number of children. There are two types to analysis utilized in this study: the contingency analysis and the multivariate analysis. Results from the contingency analysis are as followed: On Sterilization As hypothesized, couple’s age, family’s husband’s religion have positive effects on sterilization. Also, husband’s education , occupation after marriage, working status, income, working experience, husband’s attitude toward abortion under certain conditions, husband’s attitude toward tax reduction for bachelor, desired number of children have some effect or cause some differences in sterilization but not in the direction hypothesized. However, women’s working experience before marriage and at the current, husband’s attitude toward abortion under certain conditions, husband’s attitude toward tax reduction for bachelor have very minimal or no effect on sterilization. When controlled by number of living children (0-2, 3 and over), the relationships between couple’s age, husband’s religion, couple’s occupation, couple’s status of work, family’s income, women’s income, husband’s attitude toward abortion, and sterilization still remain. However, some variables such as husband’s education has different effect on sterilization among women with 0-2 living children. On Intention to Utilize Sterilization in the Future It is found that husband’s education and religion, family’ s and women’s income have positive effects on the intention. On the contrary, couple’s age, desired number of children have negative effect on the intention. Other variables, couple’s working status, working experience before and after marriage, husband’s attitude toward abortion, couple’s consultation about desired number of children also have some effects on the intention but not in the direction hypothesized. When controlled by number of living children, it is also found that most of the original relationships still remain, in another words, the partial relationships are similar to the original relationships. For example, couple’s age still has negative effect on the intention among women with 0-2, 3 and more children. However, the partial relationships between husband’s education, family’s income and the intention are different from the original relationships. Eight variables were selected to be included in the multiple regression analysis in order to determine which factors are more important. These are: number of living children, family’s income, husband’s occupation, women’s age, desired number of children, husband’s religion husband’s education. It is found that number of living children, husband’s religion, and family’s income have significant effects on utilize sterilization. In addition, women’s age, husband’s religion, and husband’s education in that order, all have effects on the intention to sterilized.
Description: วิทยานิพนธ์--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2529
Degree Name: สังคมวิทยามหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สังคมวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22283
ISBN: 9745670863
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sopit_Po_front.pdf519.25 kBAdobe PDFView/Open
Sopit_Po_ch1.pdf905.38 kBAdobe PDFView/Open
Sopit_Po_ch2.pdf387.68 kBAdobe PDFView/Open
Sopit_Po_ch3.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Sopit_Po_ch4.pdf471.99 kBAdobe PDFView/Open
Sopit_Po_back.pdf408.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.