Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22285
Title: การสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทยเรื่อง "กาพย์" สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Construction of a Thai programmed lesson on "Kaap" for the upper secondary education level
Authors: สถิตมาส สีหสิทธิ์
Advisors: ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบทเรียนแบบโปรแกรมและหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทย “กาพย์” สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 วิธีดำเนินการวิจัย 1. สร้างบทเรียนแบบโปรแกรมวิชาภาษาไทยเรื่อง “กาพย์” 2. สร้างแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนบทเรียนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรม 3. ทดลองบทเรียนแบบโปรแกรมและแบบทดสอบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ของโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย และโรงเรียนมาแตร์เดอีสมบูรณศึกษา จำนวน 114 คน โดยทดลองเป็น 3 ขั้นดังนี้ 3.1 การทดลองรายบุคคล รวม 4 ครั้ง 3.2 การทดลองกลุ่มย่อย(10 คน) 1 ครั้ง 3.3 การทดลองภาคสนาม(100 คน) 1 ครั้ง ระหว่างการทดลองมีการปรับปรุงแก้ไขบทเรียนทุกครั้ง ผลการวิจัย ผลการทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม และแบบทดสอบวิชาภาษาไทยเรื่อง “กาพย์” ปรากฏผลว่า สูงกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ 90/90 คือ 95.88/92.80 ตัวแรก คือคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนสามารถทำได้จากตัวบทเรียนแบบโปรแกรม 90 ตัวหลัง คือคะแนนเฉลี่ยที่นักเรียนทำได้จากแบบทดสอบหลังเรียนบทเรียนแล้วและคะแนนทดสอบก่อนเรียนบทเรียนและหลังเรียนบทเรียนแบบโปรแกรมต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แสดงว่าบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้มีประสิทธิภาพสูง สามารถนำไปใช้สอนนักเรียน เพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถได้อย่างดี ข้อเสนอแนะ เนื่องจากบทเรียนแบบโปรแกรมที่สร้างขึ้นนี้มีประสิทธิภาพสูง ผู้วิจัยมีความเห็นว่าควรจะได้รับการส่งเสริมให้สร้างบทเรียนแบบโปรแกรมสำหรับวิชาภาษาไทยและวิชาอื่นๆต่อไปเพื่อประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
Other Abstract: Objective To construct a Thai programmed lesson on “Kaap” for the Upper secondary Education Level and to find its efficiency comparing with the standard scale of 90/90. Methods: 1. Constructing a Thai programmed lesson on “Kaap”. 2. Constructing a test to determine if there was any difference between students’ knowledge before and after learning the programmed lesson. 3. The Samples were 114 students in Matayomsuksa four and five from Mater Dei School and Mater Dei, School of Finishing Course. They were tested as prescribed here: 3.1 Individual Testing 4 times. 3.2 Small Group Testing (10 students) 1time. 3.3 Field Testing (100 students) 1 time. Results: Results revealed an efficiency of the Thai programmed lesson on “Kaap”. The efficiency scale was 95.88/92.80 suggesting a better scale than a standard one (90/90). The first 90 was the average score which the students were able to make from programmed lesson. The second 90 was the average score which the students were able to make from the post-test. Significant difference between pre-test and post-test on the programmed lesson was shown (.01).This indicated a high efficiency of the lesson. Recommendations: Results presented a high efficiency of using the programmed lesson on a Thai lesson. It was therefore recommended that any kind of subject matters should be programmed as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22285
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sthitmas_Si_front.pdf430.54 kBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_ch1.pdf681.77 kBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_ch2.pdf2.05 MBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_ch3.pdf2.94 MBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_ch4.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_ch5.pdf464.47 kBAdobe PDFView/Open
Sthitmas_Si_back.pdf749.41 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.