Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22437
Title: ความสัมพันธ์ของความดันหัวใจห้องขวาบนและขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาในผู้ป่วยไทยที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤติในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: The correlation of inferior vena cava dimension and right atrium pressure in Thai patient in the critical care unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ปนัดดา สุวานิช
Advisors: จักรพันธ์ ชัยพรหมประสิทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: cjarkarp@hotmail.com
Subjects: ความดันเลือด
หลอดเลือดดำ
หัวใจ -- หลอดเลือด
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ -- ผู้ป่วยหนัก
หัวใจ
Issue Date: 2554
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: บทนำ : การวัดค่าความดันหัวใจห้องขวาบนมีประโยชน์ในการประเมินสภาวะสารน้ำและประเมินค่าความดันหัวใจห้องล่างขวาและค่าความดันไดแอสโตลิกของหลอดเลือดแดงพัลโมนารี ดังนั้นค่าความดันหัวใจห้องขวาบนจึงมีความสำคัญมาก การวัดค่าความดันหัวใจห้องขวาบนโดยดูการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาระหว่างการหายใจเข้าออกแล้วแปลผลออกมาเป็นค่าความดันหัวใจห้องขวาบนเป็นวิธีที่ยอมรับอย่างแพร่หลายและเชื่อถือได้ดีแต่ขนาดของหลอดเลือดดำ อินฟีเรียวีนาคาวาที่ใช้ในการแปลผลมาจากการศึกษาในประชากรของยุโรปและอเมริกา ซึ่งความแตกต่างทางเชื้อชาติและกายภาพอาจมีผลต่อขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาได้ การศึกษานี้จึงหาความสัมพันธ์ของความดันหัวใจห้องบนขวาและขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาในผู้ป่วยไทยว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่และมีความสัมพันธ์เป็นอย่างไร วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ cross sectional analytic study ศึกษาผู้ป่วยทั้งหมด 30 คนที่รับเข้ามารักษาในหอผู้ป่วยวิกฤตของร.พ.จุฬาลงกรณ์ โดยที่มีการใส่สาย central venous catheter เพื่อวัดความดันในห้องหัวใจโดยตรงอยู่แล้วด้วยข้อบ่งชี้ทางคลินิกของผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยจะได้รับการวัดค่าความดันหัวใจห้องขวาบนจากสายโดยตรงในเวลาเดียวกันกับการวัดขนาดของหลอดเลือดดำอนฟีเรียวีนาคาวาโดยechocardiography ขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาที่ใหญ่ที่สุดและเล็กที่สุดและการเปลี่ยนแปลงตามการหายใจเป็นเปอร์เซ็นต์จะถูกบันทึก ผลการศึกษา : จากการวิเคราะห์แบบ linear regression พบว่ามีค่าความสัมพันธ์อย่างมากระหว่างค่าความดันหัวใจห้องขวาบนและขนาดของหลอดเลือดดำอินฟีเรียวีนาคาวาในผู้ป่วยไทยที่อยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤติในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โดยค่าขนาดเล็กที่สุดของ IVC เป็นค่าที่มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับค่าความดันหัวใจห้องขวาบนและสามารถคานวณค่าเฉลี่ยของความดันหัวใจห้องขวาบนได้โดยใช้สมการ ค่าเฉลี่ยของความดันหัวใจห้องขวาบน= 3.125 + 0.696 X ( ขนาดเล็กที่สุดของ IVC เป็นมิลลิเมตร) สรุปผลการศึกษา : จากค่าขนาดหลอดเลือดดำ IVC ที่ใช้ในการแปลค่าความดันหัวใจห้องขวาบนในคนไทยมีค่าที่แตกต่างจากเกณฑ์ของอเมริกาและยุโรป การมีค่าอ้างอิงของผู้ป่วยไทยเอง สามารถใช้ประโยชน์ทางคลินิกในด้านให้การรักษาผู้ป่วยและ ในด้านการใช้เป็นค่าอ้างอิงในการแปลผล echocardiogram ได้อย่างถูกต้องในผู้ป่วยไทย
Other Abstract: Background: and objective :Right atrial pressure ( RAP) is clinically useful value because it reflects volume status and a preload of the heart .Furthermore, the RAP is used for estimating right ventricular pressure and pulmonary artery diastolic pressure. The accurate assumption of RAP is thus important. Noninvasive assessment of RAP by measurement inferior vena cava ( IVC) dimension and the percent of respirophasic variation have been well established, but since the guideline and references values are derived from American and European populations, the physical and racial differences may influence the IVC dimension in Thai population. The objective of this study were 1.) to determine whether in Thai patient , RAP can be estimated from the inferior vena cava and percent of respirophasic variation 2.) to provide the echocardiographic reference values of the inferior vena cava dimension and percent of respirophasic variation in Thai populations. Methods : 30 patients who was in the critical care unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital and had central venous catheter was included. RAP obtained by central venous catheter was directly measured compare with RAP obtained by simultaneous echocardiography. The maximal and minimal diameter of IVC and the percent of respirophasic variation were recored. Results :Inferior vena cava dimension strong correlated directly with right atrial pressure. The strongest correlation is between minimum IVC diameter and RAP( r= 0.9 ; P<0.01) . RAP also has strong correlation with maximal IVC diameter and the respirophasic variation. (r= 0.827; P < 0.01 and r= 0.822; P < 0.01) . RAP can be estimated by the equation:RAP = 3.125 + 0.696 minimal IVC diameter in mm Conclusions :In Thai population, cut point of the IVC diameter for estimated RAP was difference from suggested in the American or European guideline .This results provide important reference values that should be useful in general clinical practice.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22437
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
panudda-su.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.